การประเมินโครงการการเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัด หนองหอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท(Context Evaluation) ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการการเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดหนองหอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการการเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดหนองหอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการ (Process Evaluation) ดำเนินงานของโครงการการเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดหนองหอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 4) เพื่อประเมินผลผลิต(Product Evaluation) ของโครงการการเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดหนองหอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ในเรื่อง ต่อไปนี้ 4.1 ผลกระทบในการดำเนินงาน (I: Impact Evaluation) 4.2 ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการ (E: Effectiveness Evaluation) 4.3 ความยั่งยืนของโครงการ (S: Sustainability Evaluation) 4.4 การถ่ายทอดส่งต่อโครงการ (T: Transportability Evaluation)
กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ประเมินโครงการใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie & Morgan ทำการสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ ครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 16 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน นักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 138 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 129 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 และ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 175 คน การศึกษา 2564 จำนวน 169 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การในศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 324 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เพื่อยืนยันข้อมูลจากครู จำนวน 3 คน นักเรียน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 คน และ ผู้ปกครอง จำนวน 3 คน รวม 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 20 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการการเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัด หนองหอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ตาม รูปแบบ การประเมินการประเมินแบบ CIPPIEST Model พบว่า ภาพรวมทั้ง 2 ปีการศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยปีการศึกษา 2563 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.96,S.D.=0.25) ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38,S.D.=0.09) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ปีการศึกษา 2563 ได้แก่ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยป้อนเข้า 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิต 5) ด้านผลกระทบ 6) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ 7)ด้านประสิทธิผล 8) ด้านความยั่งยืน ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ 1) ด้านความยั่งยืน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2) ด้านประสิทธิผล 3) ด้านปัจจัยป้อนเข้า ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับ 4) ด้านผลกระทบ รองลงมาคือ 5)ด้านบริบท 6) ด้านผลผลิต ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับ 7) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ และ 8)ด้านกระบวนการตามลำดับ โดยทุกรายการผ่านการเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และพบว่า จำนวนโครงการและกิจกรรมที่จัดเพื่อส่งเสริมการเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดหนองหอยจัดได้ครบทั้ง 8 กิจกรรม ร้อยละของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ที่ได้ระดับดีขึ้นไป และ จำนวนมาตรฐานการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด ที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็น ร้อยละ 100 ส่วนรางวัลที่นักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ โรงเรียน ได้รับ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยทุกรายการผ่านการเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ซึ่งผลการประเมินเป็นรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ ดังนี้
1.1 ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่า ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความต้องการจำเป็นของการทำโครงการ รองลงมาคือ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมมี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความต้องการจำเป็นของการทำโครงการ รองลงมาคือ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และ รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้า พบว่า ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมมี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ รองลงมาคือ ความพร้อมของอาคารสถานที่ รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความเพียงพอของงบประมาณ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมมี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความพร้อมของอาคารสถานที่ และ รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความเพียงพอของงบประมาณ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.3 ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การประเมินผล (Check) รองลงมาคือ การวางแผน (Plan) รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การปรับปรุงแก้ไข (Act) ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมมี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผน (Plan) รองลงมาคือ การดำเนินการ (Do) และรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การประเมินผล (Check) ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.4 ผลการประเมินผลผลิต พบว่า ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด ด้านผลที่เกิดขึ้น พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมห้องเรียนสีขาว รองลงมาคือ กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศทางกีฬา รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ส่วนด้านความพึงพอใจ พบว่า ครูมีความพึงพอใจเท่ากันกับนักเรียน รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ตามลำดับ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด ด้านผลที่เกิดขึ้น พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมห้องเรียนสีขาว รองลงมาคือ โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ กิจกรรมวันสำคัญ ส่วนด้านความพึงพอใจ พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจสูงที่สุด รองลงมาคือ นักเรียน และครู ตามลำดับ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.5 ผลการประเมินผลกระทบ พบว่า ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มาตรฐานด้านการรักษา รองลงมาคือ มาตรฐานด้านการเฝ้าระวัง รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมมี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มาตรฐานด้านการค้นหา รองลงมาคือ มาตรฐานด้านการป้องกัน รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ มาตรฐานด้านการเฝ้าระวัง ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.6 ผลการประเมินประสิทธิผล พบว่า ภาพรวม ปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการประเมินทั้ง 2 ปีการศึกษา ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
1.7 ผลการประเมินผลความยั่งยืน พบว่า ภาพรวม ปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผลการประเมินทั้ง 2 ปีการศึกษา ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
1.8 ผลการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ พบว่า ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับความคิดเห็นจากมากไปหาน้อย พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความคิดเห็นของครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามลำดับ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับความคิดเห็นจากมากไปหาน้อย พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับผู้ปกครอง และครู ตามลำดับ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลจากการสัมภาษณ์ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง เกี่ยวกับมาตรฐานการดำเนินงานโครงการ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ สรุปว่า โครงการการเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดหนองหอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 เป็นโครงการที่บรรลุวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ จึงถือว่าเป็นโครงการที่ดำเนินงานได้ตามระบบการบริหารงานและเป็นตามมาตรฐานการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข เพราะมีข้อมูลการสัมภาษณ์ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์มาสนับสนุน ตลอดจน ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ โรงเรียนวัดหนองหอย ทั้งบุคลากรและสถานศึกษาได้รับรางวัลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการการเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดหนองหอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ทั้งในระดับเขตพื้นที่ ภาคและระดับประเทศ นอกจากนี้ ผลที่เกิดขึ้นยังมีประสิทธิผล เกิดความยั่งยืน และสามารถถ่ายทอดส่งต่อให้กับผู้สนใจได้เป็นอย่างดี