บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนวัดชากลูกหญ้าร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างระยอง (ทวิศึกษา) ปีการศึกษา 2564
มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ เพื่อประเมินโครงการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนวัดชากลูกหญ้าร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างระยอง (ทวิศึกษา) ปีการศึกษา 2564 ใน 4 ด้าน คือ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องและความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการ สภาพความพร้อมของบุคลากร วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการ การประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไข 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 14 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 79 คนและผู้ปกครอง จำนวน 16 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ของลิเคิร์ท (Likert) จำนวน 3 ฉบับ มีการหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยการใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค (Cronbachs alpha coefficient)และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการการประเมินโครงการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนวัดชากลูกหญ้าร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างระยอง (ทวิศึกษา) ปีการศึกษา 2564 ได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนและผู้ปกครองมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั่วไปของการดำเนินโครงการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนวัดชากลูกหญ้าร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างระยอง (ทวิศึกษา) ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนมีความเหมาะสมและเพียงพอของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโครงการ ประกอบด้วยบุคลากร วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน มีการประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินการ การประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไข โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนและผู้ปกครอง เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนวัดชากลูกหญ้าร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างระยอง (ทวิศึกษา) ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด