ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการนิเทศการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายนกิจกรรม Supervision ยกกำลัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง
ผู้ประเมิน : นายยุทธนา สุวรรณวิสุทธิ์ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
สถานศึกษา : โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโครงการนิเทศการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน กิจกรรม Supervision ยกกำลัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง ประจำปีการศึกษา 2564 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การจัดโครงสร้างองค์กร คุณลักษณะของบุคลากร งบประมาณและทรัพยากร วัฒนธรรมในการทำงาน และการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพ การประเมินและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและการรายงานผลการประเมินตนเอง 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับด้านคุณภาพนักเรียน ด้านสมรรถนะของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน โดยกิจกรรมSupervision ยกกำลัง เป็นการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนภายในมีกระบวนการติดตามสร้างความเข้มข้นในการนิเทศโดยแบ่งรูปแบบเป็น 3 แบบได้แก่ 1) การนิเทศชั้นเรียนแบบจับคู่พัฒนา (Coaching) ซึ่งครูผู้สอนจับคู่นิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในแต่ละภาคเรียน และเพื่อรองรับการประเมินแบบ ว PA 2) การนิเทศชั้นเรียนแบบคณะกรรมการ (Committee) ซึ่งครูผู้สอนต้องผ่านกระบวนการดังกล่าวในแต่ละภาคเรียนโดยมีตารางกำหนดการนิเทศและคณะกรรมการที่ลงนิเทศตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) การนิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้ (Group Based PLC) โดยทีมผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 4 ฝ่าย กำกับนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบกลุ่มสาระการเรียนรู้ การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม Supervision ยกกำลัง นวัตกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 120 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน 92 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ประเมินกิจกรรมคือ แบบประเมินการดำเนินกิจกรรมและแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ จำนวนผู้ประเมินจำนวน 92 คน เป็นเพศชาย 27 คน คิดเป็นร้อยละ 29.3 และเพศหญิง 65 คน คิดเป็นร้อยละ 70.7 ประสบการณ์และการมีส่วนร่วมในโรงเรียน ประสบการณ์ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10.9 ประสบการณ์ 5- 10 ปี จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 40.2 และประสบการณ์มากกว่า 10 ปี จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 48.9 ตำแหน่งในการประเมิน ผู้บริหาร 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.4 กรรมการสถานศึกษา 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.4 และครูผู้สอน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 89.1
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินบริบท ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ มีข้อคำถามจำนวน 8 ข้อค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 ประเมินโดย ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ มีข้อคำถามจำนวน 12 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 ประเมินโดย ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ ข้อคำถามจำนวน 12 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ประเมินโดย ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินผลผลิต ประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการ มีข้อคำถาม จำนวน 6 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ มีข้อคำถาม จำนวน 33 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 ประเมินโดยผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 17.0 ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ จำนวน 8 ข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีขึ้นไปทั้ง 8 ข้อ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ผู้บริหารตระหนักให้ความสำคัญต่อโครงการนิเทศการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน กิจกรรม Supervision ยกกำลังมีความเหมาะสมมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.537 รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการนิเทศการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน กิจกรรม Supervision ยกกำลังมีความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้ คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.583 ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 12 ข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีขึ้นไปทั้ง 12 ข้อ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการนิเทศการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน กิจกรรม Supervision ยกกำลัง มีความเหมาะสมมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.55 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.669 รองลงมาคือโรงเรียนมีการจัดทำแผนการนิเทศและติดตามผลการดำเนินงาน คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.54 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.653 ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 12 ข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีขึ้นไปทั้ง 12 ข้อ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า โรงเรียนกำหนดให้ผู้บริหารดำเนินการนิเทศทางตรงโดยเป็นผู้นิเทศ เช่น การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน การสาธิตการสอน การให้คำปรึกษามีความเหมาะสมมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.45 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.669 รองลงมาคือ โรงเรียนมีคณะกรรมการนิเทศภายในทำการนิเทศที่มุ่งเน้นดูการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.43 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.668 ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการนิเทศการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน กิจกรรม Supervision ยกกำลัง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีมากทั้ง 5 ประเด็น โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสมรรถนะของผู้เรียน ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามลำดับ
5. ผลการประเมินความพึงพอใจโครงการนิเทศการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน กิจกรรม Supervision ยกกำลัง ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ ผลการประเมินส่วนที่ 1 กระบวนการดำเนินงานนิเทศภายในSupervision ยกกำลังหลังการดำเนินงานโดยรวมเฉลี่ยทุกด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.39 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.750 โดยมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในแต่ละด้านตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ คือ ด้านรูปแบบการนิเทศภายใน ความพึงพอใจรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านแนวการปฏิบัติ ความพึงพอใจรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและการวางแผน ความพึงพอใจรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการนิเทศภายใน ความพึงพอใจรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านการประเมินผลการนิเทศภายใน ความพึงพอใจรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานการนิเทศภายในSupervision ยกกำลังที่ส่งผลในการพัฒนาหลังการดำเนินงานโดยรวมความพึงพอใจเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.42 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.770 โดยมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยในแต่ละด้านตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ คือ ด้านครูผู้สอน ความพึงพอใจรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านนักเรียน ความพึงพอใจรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านผู้บริหาร ความพึงพอใจรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. เป็นโครงการที่ดีมากและควรส่งเสริมกิจกรรมต่อไป รูปแบบของการนิเทศแบบการจับคู่นิเทศเป็นรูปแบบที่ดี แต่ควรมีเงื่อนไข เช่น ครูผู้ช่วยไม่ควรจับคู่กัน หรือลูกจ้างกับลูกจ้าง ก็ไม่ควรเช่นกัน
2. การนิเทศควรเรียกผู้รับการนิเทศมารับฟังคำชี้แนะหลังจากทำการสอนเสร็จทันที เพื่อจะได้ปรับปรุงในโอกาสต่อไป
3. ควรมีคู่มือหรือสื่อสำหรับแจกครูเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนรับการนิเทศและเพื่อพัฒนาภายหลังรับการนิเทศ เช่น อาจเป็นลักษณะ Q & A สรุปผลการนิเทศ แนวทางการปฏิบัติที่ดี แหล่งพัฒนาตนเองของครู เป็นต้น
4. การนิเทศแบบจับคู่พัฒนาทำให้ครูได้เห็นถึงเทคนิคการสอน วิธีการต่างๆและนำมาปรับปรุงพัฒนาได้ดีกว่าการนิเทศโดยคณะกรรมการที่เป็นผู้บริหาร เพราะครูต่างได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น สะท้อนปัญหาร่วมกัน ได้ฟังมุมมองการสอนของตนเองทั้งข้อดีและข้อเสียจากอีกฝ่าย ในขณะเดียวกันก็ได้เห็นถึงเทคนิคการสอนของครูที่เป็นคู่พัฒนา
5. การประเมินผลการนิเทศที่ใช้ Google Form ทำให้สามารถทำการประเมินได้รวดเร็ว สามารถทราบผลการนิเทศและได้เก็บภาพถ่ายใน Google Drive สะดวกในการเก็บข้อมูลและรวดเร็ว