การพัฒนารูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ
บทคัดย่อ
อรุณณารีย์ อมรศรีชัยกุล
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ครู 29 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 100 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่า IOC ระหว่าง 0.85 -1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.890
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ สภาพปัจจุบัน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่านักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันและเห็นชอบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) บริหารจัดการสถานศึกษา 2) หลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา 5) ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ พบว่า 1) การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงระหว่างเรียน ร้อยละ 81.33 2) การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงหลังเรียนด้วยรูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาต่อรูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศเห็นว่าความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การบริหาร, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ทักษะชีวิต