ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดผสมผสานและ
ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นวิธีเปิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกัน
ในความปรกติใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผู้วิจัย ผจญภัย เครื่องจำปา
สถานศึกษา โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่ต้องการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดผสมผสานและห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นวิธีเปิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกันในความปรกติใหม่ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ตามแนวคิดผสมผสานและห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นวิธีเปิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกันในความปรกติใหม่ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 35 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Sample) ผลการวิจัย พบว่า
1. ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า สภาพปัจจุบันมีการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดผสมผสานและห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นวิธีเปิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกันในความปรกติใหม่ อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งครูและนักเรียนมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดผสมผสานและห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นวิธีเปิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกันในความปรกติใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดผสมผสานและห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นวิธีเปิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกันในความปรกติใหม่ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้น คือ (1) การสะท้อนคิดทบทวนความรู้เดิม (Reflect on previous knowledge) (2) เปิดคำถามริเริ่มสู่การเรียนรู้ใหม่ (Initiation) (3) วางแผนเก็บรวบรวมข้อมูล (Planning) (4) ลงมือปฏิบัติและเก็บรวบรวมข้อมูล (Doing and Gathering) (5) การจัดกระทำและนำเสนอ ข้อมูลหลักฐาน (Data Processing and Presentation) (6) สร้างคำอธิบายข้อมูลและลงข้อสรุปตอบคำถามริเริ่ม(Explanation and Conclusion) (7) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) (8) ขยายและเชื่อมโยงความรู้ (Elaboration) (9) ประมวลความรู้สู่การนำไปใช้ (Consolidate knowledge into application) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีระดับความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 โดยมีประสิทธิภาพด้านพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 82.45/81.67 และมีประสิทธิภาพเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เท่ากับ 79.88/78.33
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดผสมผสานและห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นวิธีเปิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกันในความปรกติใหม่ พบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนเฉลี่ย การคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดผสมผสานและห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นวิธีเปิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกันในความปรกติใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.56, S.D. =0.63)
คำสำคัญ: การเรียนการสอนแบบผสมผสาน, ห้องเรียนกลับด้าน, การสืบเสาะหาความรู้, การเรียนรู้ร่วมกัน
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ