ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 77 (บ้านเนินสันติ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา ชุมพร เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวกัญชพร บุญชัย
ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 77 (บ้านเนินสันติ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPPเModel)เประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตเโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเ1) ประเมินบริบท (ContextเEvaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2)เประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การจัดโครงสร้างองค์กร คุณลักษณะของบุคลากร งบประมาณและทรัพยากร วัฒนธรรมในการทำงาน และการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3)เประเมินกระบวนการ (ProcessเEvaluation) เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพ การประเมินและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและการรายงานผลการประเมินตนเอง 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับด้านคุณภาพนักเรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านคุณภาพโรงเรียนและด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 77 (บ้านเนินสันติ) อำเภอท่าแซะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,802 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (PurposiveเRandom Sampling)จำนวน 116 คน โดยเลือกศึกษาจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน (สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก ห้องเรียนละ 6 คน) ครูผู้สอน จำนวน 43 คน ผู้ปกครองนักเรียน ที่นักเรียนถูกเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหารโรงเรียน) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินบริบท ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ จำแนกเป็น 6 ตัวชี้วัด มีข้อคำถามเจำนวนเ44เข้อเค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.90 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ จำแนกเป็น 7 ตัวชี้วัด มีข้อคำถามเจำนวนเ56เข้อเมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ จำนวน 6 ตัวชี้วัด ข้อคำถามเจำนวนเ54เข้อเมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับเ0.93ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินผลผลิต ประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการ มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด มีข้อคำถาม จำนวน 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ มีข้อคำถาม จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับเ0.80เประเมินโดยนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0 ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ จำนวน 6 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด วัตถุประสงค์ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษาและการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 7 ตัวชี้วัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ระบบบริหารจัดการของโรงเรียนมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านการจัดโครงสร้างองค์กร ด้านคุณลักษณะของบุคลากร ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านวัฒนธรรมการทำงานในโรงเรียน ด้านงบประมาณและทรัพยากรและด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้ออง ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 6 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การกำหนดมาตรฐานการศึกษามีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ขั้นการจัดทำแผนพัฒนาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน ขั้นการดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นการรายงานผลการประเมินตนเอง ขั้นการประเมินและตรวจสอบคุณภาพและขั้นการติดตามผลการดำเนินงาน ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 77 (บ้านเนินสันติ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านคุณภาพการบริหารจัดการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านคุณภาพนักเรียนและด้านคุณภาพโรงเรียนตามลำดับและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด