โรงเรียนบ้านหนองไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต ๑ เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๒๑๖ คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม ๑๕ คน จากการวิเคราะห์สภาพและบริบทของสถานศึกษา โดยการ SWOT Analysis พบว่า จุดแข็ง (Strengths) ประกอบด้วย ครูและบุคลากรมีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด อาคารสถานที่และทรัพยากรที่จำเป็นมีความเพียงพอสำหรับการบริหารและการจัดการ จุดอ่อน (Weakness) ประกอบด้วย ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ผู้เรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ กระบวนการดำเนินงานขาดความชัดเจนและเป็นระบบ ขาดระบบการกำกับ ติดตาม ประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลสารสนเทศสำหรับการบริหารและการจัดการสถานศึกษาไม่เพียงพอและขาดความเป็นปัจจุบัน โอกาส (Opportunities) โรงเรียนมีหน่วยงานต้นสังกัดให้การสนับสนุนและส่งเสริม มีเครือข่ายสถานศึกษาร่วมพัฒนา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชนให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และอุปสรรค (Threats) ประกอบด้วย นโยบายของรัฐมีจำนวนมาก/ขาดความชัดเจน และไม่ต่อเนื่อง กิจกรรมตามนโยบายมีจำนวนมากส่งผลต่อภาระงานของครูผู้สอน กฎหมาย/ระเบียบ/ข้อบังคับที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากในการบริหารจัดการ
โรงเรียนบ้าหนองไผ่ จึงได้สร้าง รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ โดยใช้กระบวนการ ADDIE (Management for Development Quality Education of Ban Nongpai School by ADDIE) มีหลักการสำคัญ คือ เป็นกระบวนการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ ที่ดำเนินการตามสภาพและบริบทของสถานศึกษา มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยเชื่อมโยงผลลัพธ์ตามมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ๑) พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๒) พัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการ ๓) พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ (Analyze : A) การพัฒนา (Development : D) การนำสู่การปฏิบัติ (Deployment : D) การบูรณาการ (Integrate : I) และการประเมินผล (Evaluation : E) และขับเคลื่อนบนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ผลการดำเนินงาน
๑. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ โดยใช้กระบวนการ ADDIE (Management for Development Quality Education of Ban Nongpai School by ADDIE) สรุปผลได้ดังนี้
จากการประเมินรูปแบบโดยสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ภาพรวมของรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ โดยใช้กระบวนการ ADDIE (Management for Development Quality Education of Ban Nongpai School by ADDIE) อยู่ในระดับมากที่สุด (μ=๔.๖๑,σ=๐.๔๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ตามลำดับดังนี้ ความเป็นไปได้ (μ=๔.๖๗,σ=๐.๔๘) ความเหมาะสม (μ=๔.๖๐,σ=๐.๕๐) และความเป็นประโยชน์ (μ=๔.๕๘,σ=๐.๕๐)
๒. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ โดยใช้กระบวนการ ADDIE (Management for Development Quality Education of Ban Nongpai School by ADDIE) สรุปผลได้ดังนี้
๒.๑ ด้านผลผลิต จากการประเมินตนเองของสถานศึกษา โดยได้นำรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ โดยใช้กระบวนการ ADDIE (Management for Development Quality Education of Ban Nongpai School by ADDIE) มาใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน พบว่า ภาพรวมผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับดี ทั้งระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณภาพเด็ก / คุณภาพผู้เรียน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน และด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ / การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดี ทุกมาตรฐาน
นอกจากนี้ การศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ โดยใช้กระบวนการ ADDIE (Management for Development Quality Education of Ban Nongpai School by ADDIE) พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด (X ̅=๔.๕๘ ,S.D.=๐.๕๐)
๒.๒ ด้านผลลัพธ์ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนบ้าหนองไผ่มีผลการทดสอบระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เฉลี่ยรวม ๔ วิชาสูงกว่าระดับประเทศ และมีคะแนนเฉลี่ย ๓ รายวิชาสูงกว่าระดับประเทศ คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์