บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนวัดเพ็งประดิษฐาราม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับระดับความต้องการจำเป็น และระดับความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เกี่ยวกับระดับความเหมาะสมของบุคลากร และระดับความเหมาะสมของงบประมาณ ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับร้อยละของกิจกรรมดำเนินการ และร้อยละของการติดตามโครงการ ประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับความสามารถในการอ่าน นิสัยรักการอ่าน ผลสัมฤทธิ์การอ่าน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลสัมฤทธิ์การสอบ(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6วิชาภาษาไทย และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 510 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 248 คน ครู จำนวน 32 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 217 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ แบบบันทึก 3 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาความตรงของเครื่องมือ ใช้สูตร IOC ใช้แอลฟ่าหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรของครอนบัค ซึ่งผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ โดยผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุดทุกประเด็น ผลการประเมินรายประเด็นและรายตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นบริบท พบว่า มีผลการดำเนินโครงการประเด็นบริบทในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1.ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการประเด็นปัจจัยนำเข้าในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
2.2 .ความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการ พบว่า มีผลการดำเนินโครงการประเด็นกระบวนการในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 กิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 การติดตามโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิต พบว่า มีผลการดำเนินโครงการในประเด็นผลผลิต ในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 8 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ความสามารถในการอ่าน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.2 นิสัยรักการอ่าน พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลสัมฤทธิ์การอ่าน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.4 ผลสัมฤทธิ์การสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในระดับมาก
4.5 ความพึงพอใจ ของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.6 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.7 ความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.8 ความพึงพอใจ ของคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมินที่พบว่า ประเด็นบริบท โรงเรียนจึงควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป และผู้เกี่ยวข้อง ควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตามข้อเสนอแนะดังนี้
1. การกำหนดกิจกรรมดำเนินการของโครงการต้องให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบท ของโรงเรียน เป็นการตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ในการพัฒนา ของนักเรียน ครู และผู้ปกครองอย่างแท้จริง
2. ปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินงาน เป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนโครงการให้ไปสู่ความสำเร็จ ควรพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบให้พร้อมก่อนที่จะปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ควรสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและเทคโนโลยี ที่ต้องใช้ในการดำเนินโครงการให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรม ให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลสูงสุด
3. การปฏิบัติงานตามกิจกรรมการดำเนินการของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีหลายกิจกรรมที่ต้องอาศัยผู้ปฏิบัติที่มีความรู้และทักษะเฉพาะด้าน จึงควรให้ผู้รับผิดชอบโครงการและครูที่มีความรู้ความสามารถ รับผิดชอบโครงการ เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
4. จากผลการประเมินที่พบว่า ประเด็นผลผลิตของโครงการ ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการ อยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อคำถามที่ว่าการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ส่งผลต่อความกระตือรือร้นในการเรียนของนักเรียนในรายวิชาต่างๆของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จึงควรดำเนินการ เร่งรัดให้ครูพัฒนาการเรียนการสอนโดยการใช้กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและเกิดประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน มีนิสัยรักการอ่าน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น เป็นการสร้างความพึงพอใจแก่นักเรียน ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้เกี่ยวข้อง และควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียน ได้เรียนรู้ที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ ในการสร้างความพึงพอใจแก่นักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้เกี่ยวข้องให้มากยิ่งขึ้น