บทสรุป
สำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง โรงเรียนในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2563
ผู้วิจัย นางวารุณี ทีนา
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสม และความสอดคล้องของสภาพแวดล้อม (บริบท : Context) ด้านความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาครูภาษาไทย 2) เพื่อประเมินความพร้อมในด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการ ด้านข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้ารับการอบรม และกระบวนการระบบพี่เลี้ยง 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) การดำเนินโครงการในด้าน การวางแผน การนำไปปฏิบัติการนิเทศติดตามประเมินผล และการรายงาน 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ (Outcomes : IEST) ของโครงการด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation)
การประเมินครั้งนี้ได้ใช้รูปแบบการประเมิน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPIEST ของ Daniel L. Stufflebeam ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมิน ที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการฯ ประกอบด้วย ครู ครูพี่เลี้ยง ผู้บริหารสถานศึกษา มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจตนเอง และแบบเก็บข้อมูล
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 142 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 35 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 142 คน
เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สำรวจความคิดเห็น (Checklist) มาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Likert, 1932) และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ มาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และทดลองใช้เครื่องมือก่อนนำไปใช้จริง
ผลการประเมินโครงการ
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context) โครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ได้จากการสอบถามด้วยแบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 142 คน สิ่งที่ควรพัฒนาอันดับแรก คือ การพัฒนาด้านการวิจัยในชั้นเรียน รองลงมาอันดับสองด้านการวัดและประเมินผล รองลงมาอันดับสามด้านสื่อการสอน และอันดับสี่ด้านการจัดการเรียนการสอน และต้องการวิธีการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ได้จากการประเมินด้วยแบบสอบถาม พบว่า ผลการประเมินความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ โดยภาพรวมพบว่า หลังเข้าร่วมโครงการครู มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) โครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ประเมินด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) ในระหว่างการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) โดยภาพรวมครูมีความรู้ความเข้าใจของประสบการณ์ที่ได้รับอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการระบบพี่เลี้ยงอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินผลลัพธ์ (IEST Evaluation) จากการประเมินผลลัพธ์ของโครงการ มีรายละเอียดดังนี้
4.1 ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) พบว่า จากการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ส่งผลให้ครูสามารถสร้างผลงานทางวิชาการ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยมิติความร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมพัฒนาของครูพี่เลี้ยงสู่ครูผู้สอน เกิดครูมืออาชีพ เกิดเครือข่ายร่วมพัฒนาวิชาชีพ และเครือข่ายครูร่วมนิเทศ ลดภาระงานของผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ในการนิเทศการเรียนการสอน เพิ่มทักษะการนิเทศภายในให้ครูโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) และการสอนแนะ (Coaching) ครูนำผลงานส่งเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะส่งผลให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 มีครู และผู้บริหารที่มีวิทยฐานะสูงเพิ่มขึ้น
4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ส่งผลในการช่วยเหลือครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถ ด้านภาษา (Literacy) ด้านคำนวณ (Numeracy) และเชิงเหตุผล (Reasoning Ability) และการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งช่วยพัฒนาครูในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ของตนเองได้ดียิ่ง และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ พบว่า ความพึงพอใจของครูผู้สอน ครูพี่เลี้ยง และผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการฯ ในระดับมาก
4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ส่งผลให้ครูมีความมุ่งมั่น มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จ มีความสามารถในการทำวิจัย และผลเชิงประจักษ์ ที่ครูสามารถส่งผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะครู และผู้บริหารที่มีวิทยฐานะสูงเพิ่มขึ้น และส่งผลงานร่วมแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมทางวิชาการ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระดับประเทศ ได้รับรางวัลมากมาย ทั้งผู้เรียน และครู
4.4 ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ส่งผลให้มีครูพี่เลี้ยง (Mentor) เป็นครูต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น มีการขยายผลเกิดระบบการนิเทศภายในที่เป็นระบบ โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบพี่เลี้ยง ซึ่งกระบวนการนิเทศแบบสอนแนะทำให้เกิดการเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ สามารถนำเทคนิคการเรียนการสอนใหม่ๆสู่การพัฒนาผู้เรียน ซึ่งจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้นผลการสอบ RT, NT รายวิชาภาษาไทยมีคะแนนสูงกว่าระดับประเทศหลายรายวิชา
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ข้อเสนอแนะในการนำโครงการไปใช้
1.1 โครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ในครั้งนี้ ช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาผู้เรียน ช่วยให้ครูมั่นใจในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และการทำวิจัยในชั้นเรียน ดังนั้นโครงการนี้ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และกำหนดให้ครูนำผลงานเพื่อร่วมส่งเข้าประกวดแข่งขัน เป็นเกณฑ์การพิจารณาผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ
1.2 เปิดโอกาสให้ครูมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้ง 142 โรงเรียนเพิ่มขึ้น ในรูปแบบที่หลากหลายวิธีการ และมีการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้เข้าร่วมโครงการ เพิ่มรางวัล การประกวดแข่งขัน และมีเกณฑ์กำหนดให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือครูทุกคน ทุกร่วมกิจกรรม
1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 มีจุดเด่น คือ มีผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาครู ทุกรูปแบบ ส่งผลให้ครูมีโอกาสในการพัฒนาและมีความรู้ความสามารถสูงขึ้น
1.4 รูปแบบการประเมินแบบ CIPIEST เป็นรูปแบบที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้ ในการประเมินโครงการ เพราะมีการเก็บข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องที่หลากหลาย ทำให้ได้ข้อมูลในการนำมาปรับปรุงละพัฒนาโครงการ
2. ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการครั้งต่อไป
2.1 ปรับปรุงด้านระยะเวลาในการดำเนินโครงการ เพื่อให้เวลาสำหรับครูในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และการเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน
2.2 เพิ่มรูปแบบ หรือเทคนิคการเรียนการสอนที่ครูสามารถนำไปปรับเพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน
2.3 ครูควรได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งใน และนอกสถานศึกษา
2.4 สอบถามความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพของครู เพื่อให้ครูพัฒนาตนเอง ตามที่ถนัด และสอดคล้องกับความต้องการ
2.5 ควรมีการทำวิจัยติดตามผลการดำเนินงาน โครงการฯ เพื่อศึกษาความคงทน และเป็นสารสนเทศในการพัฒนาครูให้ยั่งยืนต่อไป