คำสำคัญ : รูปแบบการจัดประสบการณ์ / การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
/ เด็กปฐมวัย
สาลิณี แสงอบ : รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ของเด็กปฐมวัย
ผู้รายงาน นางสาวสาลิณี แสงอบ
ปีท่ีรายงาน ปีการศึกษา 2561
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์
ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนิยาม ความสามารถ พฤติกรรมบ่งชี้ และแนวทางการพัฒนา
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนา
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดโครงสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์
และเครื่องมือประกอบการใช้จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ
การจัดประสบการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นทำการศึกษาทดลองเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบ
การจัดประสบการณ์ก่อนนำไปใช้ ทดสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ
การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบแผนการวิจัย
แบบทดสอบก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ต่อเนื่องตามเวลาที่กำหนด (The One - Group Pretest -
Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยปีที่ 2 จำนวน 25 คน ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนวัดวังสวรรค์ (ประชาบำรุง)
ภาคเรียนที่ 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ระยะเวลาในการจัดประสบการณ์ 12 สัปดาห์
และขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ของเด็กปฐมวัยโดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบียงเบนมาตรฐานและข้อมูลเชิงคุณภาพ
โดยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือการจัดประสบการณ์คือ รูปแบบการจัดประสบการณ์
เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย เครื่องมือประเมินคือ เครื่องมือประเมิน
เด็กปฐมวัย ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหา และแบบประเมินผลงานที่เกิดจากความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
ผลการวิจัยพบว่า
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังการจัดประสบการณ์ สูงกว่า
ก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05