การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลอง 3) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ 4) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ และ5) เพื่อประเมินผลรูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์โรงเรียนและสถานประกอบการที่เป็นแบบอย่าง 2) การศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบสอบถาม และยืนยันข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม 3) การพัฒนารูปแบบรูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 4) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ 1 ณ โรงเรียนบ้านคลองเรื่อง ในปีการศึกษา 2563โดยคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและปราชญ์ชาวบ้าน และ5) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งใช้แบบประเมินรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัย
¬1. ผลการศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1พบว่า องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ มี 5 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และ 5) ด้านการนำองค์ความรู้สู่ชุมชน
2. ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 สรุปผลได้ดังนี้
2.1 ผลการศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านคลองเรือ ใน 5 ด้าน คือ 1) การบริหารจัดการสถานศึกษา โรงเรียนมีการวางแผนสำรวจสภาพ ปัญหา และความต้องการ มีการทบทวน ปรับปรุง พัฒนา โครงสร้าง และกระบวนการบริหารจัดการตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรม มีการปรับปรุงเพิ่มเติมแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษาให้ครอบคลุมการพัฒนาการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการตามแผนน้อย และมีการติดตามประเมินผลการพัฒนาจัดการศึกษา และนำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลในการพัฒนาการบริหารจัดการของสถานศึกษาไม่เป็นระบบและต่อเนื่อง 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนไม่มีการวิเคราะห์ หรือปรับปรุงหลักสูตรแบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการสอดแทรกในกลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ มีแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อการเรียนรู้เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้น้อย ครูจัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผลไม่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการประเมินผลไม่ต่อเนื่อง และนำผลมาปรับปรุง/พัฒนาการ สถานศึกษาขาดการรายงานผลการประเมินการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ 3) ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนวางแผนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วางแผนงาน/โครงการโดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียน กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารีหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ จัดตั้งชุมนุม/ชมรม/ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม แนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำผลปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ไม่ต่อเนือง 4) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โรงเรียนวางแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา วางแผนการประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ น้อย จัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาน้อย ติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรให้ปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากร ตลอดจนขยายผลและเผยแพร่ ผลปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย 5) ด้านการนำองค์ความรู้สู่ชุมชน โรงเรียนมีการวางแผนการ/โครงการพัฒนาคนในชุมชนให้ตระหนักในคุณค่าแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดประชุมจัดโครงการพัฒนาคนในชุมชนเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพเสริมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่คนในชุมชน ประเมินผล ติดตามและนำผลที่ได้มาพัฒนาการดำเนินงานการนำองค์ความรู้สู่ชุมชนไม่เป็นระบบและต่อเนื่อง
2.2 ผลการศึกษาปัญหาการบริหารจัดการศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านคลองเรือ ใน 5 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู นักเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาสถานศึกษาและชุมชนน้อย มีการสำรวจปัญหา ความต้องการในด้านการบริหารจัดการในโรงเรียนให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาน้อย มีการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐานว่าต้องการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในด้านใด ระดับใด มีการนำแผนการดำเนินงานกำหนดไว้นำสู่การปฏิบัติที่มีคุณภาพน้อย มีการจัดทำแผนงาน/โครงการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่เป็นระบบขาดความต่อเนื่อง และไม่เป็นปัจจุบัน และไม่มีการนำผลการดำเนินงานมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนให้ดีขึ้นในปีการศึกษาต่อไป 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหน่วยการเรียนรู้ไม่ครอบคลุมทุกสาระการเรียนรู้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย จัดการเรียนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ได้น้อย ขาดวิธีสอนที่เหมาะสม ไม่เน้นการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ครูขาดความรู้ ความเข้าใจ เทคนิค และแนวทาง การวัดผลและประเมินผลที่ประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนและการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนขาดความต่อเนื่องและเป็นระบบ และครูนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินย้อนกลับไปให้แก่ผู้เรียนน้อย 3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนผู้เรียน มีการวางแผนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักการได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีน้อย การวางแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนเพื่อให้ผู้เรียน อยู่อย่างพอเพียง มีน้อย มีการจัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีน้อย ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรม/หลักคำสอนทางศาสนาในการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีน้อย นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีน้อย 4) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีมีแผนงานส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย วางแผนการประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย จัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรของสถานศึกษามีน้อย มีโครงการพัฒนาบุคลากรให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่สม่ำเสมอ ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย 5) ด้านการนำองค์ความรู้สู่ชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย มีแผนงาน/โครงการพัฒนาคนในชุมชนสอดคล้อง
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ครอบคลุมทุกงาน จัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพเสริมมีน้อย จัดโครงการจัดการประชุมพัฒนาคนในชุมชนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีน้อย ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย นำผล การติดตามมาปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินงานของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย
2.3 ผลการศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านคลองเรือ ดังนี้
2.3.1 ด้านปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ จำนวน 5 ด้าน พบว่า 1) ด้านผู้บริหาร มีรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีเจตคติที่ดีต่อการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเป็นผู้นำการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2) ด้านครูผู้สอน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียนมีเจตคติดีต่ออาชีพครู และมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย 3) ด้านงบประมาณ การบริหารจัดการด้านงบประมาณ มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ใน การบริหารงบประมาณของโรงเรียน ความเหมาะสมเพียงพอการแสวงหาทุนในการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนได้เพียงพอและความหลากหลายของแหล่งเงินงบประมาณสนับสนุนด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียน 4) ด้านวัสดุ อุปกรณ์ มีความทันสมัยของวัสดุ อุปกรณ์ และสื่อการสอนของโรงเรียน ความพร้อมของสื่อการสอน และICT ของโรงเรียนมีเพียงพอต่อผู้เรียน และ ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างเพียงพอ 5) ด้านวัฒนธรรมองค์กร มีการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรในองค์กรมีจิตสำนึก มีเป้าหมายร่วมกันและมีแนวทางการปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน มีการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียนร่วมมือ ร่วมใจปฏิบัติงาน และมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม และ มีการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นความมีคุณภาพ
2.3.2 ด้านปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ จำนวน 4 ด้าน พบว่า 1) ด้านสังคม ประชาชนในชุมชน มีเจตคติที่ดีต่อโรงเรียน ลักษณะของชุมชนและอาชีพของคนในชุมชน ส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และ ความช่วยเหลือของชุมชนในรูปแบบต่างๆที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2) ด้านเทคโนโลยี ผู้ปกครองส่งเสริมให้นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ได้ในบ้านเรือน ในชุมชนรอบๆโรงเรียนมีแหล่งบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งเอื้อต่อการศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ของคนในชุมชน ความเพียงพอและทันสมัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3) ด้านกฎหมายและการเมือง ลักษณะของการเมืองท้องถิ่นที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นโยบายของรัฐบาลเอื้อต่อการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ระเบียบ กฎหมาย ข้อกำหนด และนโยบายที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 4) ด้านอำนาจผู้มีส่วนได้เสีย การยอมรับให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจาก กรรมการสถานศึกษา การยอมรับให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจากเครือข่ายผู้ปกครอง และการยอมรับให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ปกครองและชุมชน
3. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ซึ่งผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 พบว่า รูปแบบมีองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านหลักการและเหตุผล 2) ด้านวัตถุประสงค์3) ด้านปัจจัยนำเข้า 4) ด้านกระบวนการ และ 5) ด้านผลผลิต
4. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปรับปรุงใช้รูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
5. ผลการประเมินผลรูปแบบการบริหารจัดการ KHLONG RUEA MODEL ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคลองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 มีองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านหลักการและเหตุผล 2) ด้านวัตถุประสงค์ 3) ด้านปัจจัยนำเข้า 4) ด้านกระบวนการ และ 5) ด้านผลผลิต พบว่า มีผลการประเมินในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และ ความเป็นประโยชน์ อยู่ระดับมาก