รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอินราชานุเคราะห์ ๑ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย ประเด็นการประเมิน 4 ด้าน คือ ประกอบด้วย การประเมินด้านบริบท การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินด้านกระบวนการ และการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 69 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 224 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 224 คน และรวมทั้งหมด จำนวน 534 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 1 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .902 ฉบับที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .878 ฉบับที่ 3 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .934 ฉบับที่ 4 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .915 ฉบับที่ 5 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .915 และฉบับที่ 6 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .900 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ ในภาพรวม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.34, S.D. = 0.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับความคิดเห็นในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความต้องการจำเป็น (x̄ = 4.40, S.D. = 0.73) รองลงมา คือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ( x̄ = 4.37, S.D. = 0.74) ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ( x̄ = 4.33, S.D. = 0.83) ส่วนด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ( x̄ = 4.25, S.D. = 0.84) มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ เกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ โดยภาพรวมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีระดับความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.73, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับความพร้อมในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การบริหารจัดการ ( x̄ = 4.83, S.D. = 0.39) รองลงมา คือ ความพร้อมของบุคลากร ( x̄ = 4.79, S.D. = 0.48) สื่อ และเครื่องมือในการดำเนินงานโครงการ ( x̄ = 4.69,S.D. = 0.61) ความเพียงพอของงบประมาณ ( x̄ = 4.68, S.D. = 0.64) ส่วนด้านที่มีระดับต่ำสุด คือ หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ (x̄ = 4.67, S.D. = 0.64) มีระดับระดับความพร้อมในระดับมากที่สุด ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ โดยภาพรวม ตามการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.78, S.D. = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับการปฏิบัติ ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว (x̄ = 4.84, S.D. = 0.39) รองลงมา คือ ด้านการนิเทศ ติดตามประเมินผล และรายงานผล (x̄ = 4.83, S.D. = 0.38) ด้านการส่งต่อนักเรียน (x̄ = 4.82, S.D. = 0.39) ด้านการวางระบบบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (x̄ = 4.79, S.D. = 0.40) การส่งเสริมพัฒนานักเรียนหลากหลาย (x̄ = 4.80, S.D. = 0.43) ด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข (x̄ =4.73, S.D. = 0.46) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (x̄ = 4.71, S.D. = 0.48) ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการจำแนก คัดกรองนักเรียน (x̄ = 4.70, S. D. = 0.58) มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ หลังเสร็จสิ้นโครงการ ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.86, S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( x̄ = 4.88, S.D. = 0.27) รองลงมา คือ ระดับความคิดเห็นของนักเรียน (x̄ = 4.87, S.D. = 0.30) และความพึงพอใจ ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน (x̄ = 4.84, S.D. = 0.38) ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีรายละเอียดดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของนักเรียนจากการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ หลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.87, S.D. = 0.30) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน / สถานศึกษา (x̄ = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมา คือ นักเรียนทุกกลุ่มได้รับการดูแล ช่วยเหลือ ปกป้อง คุ้มครอง ความปลอดภัย แก้ไขและพัฒนาตามศักยภาพ (x̄ = 4.97, S.D .= 0.16) และนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( x̄ = 4.96, S.D. = 0.25) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมตามความสนใจของแต่ละคนตามหลักสูตรที่กําหนดไว้ ( x̄ = 4.67, S.D. = 0.53) มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ หลังเสร็จสิ้นโครงการโดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.88, S.D. = 0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่มีการบูรณาการทักษะชีวิตการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และโรงเรียนให้การช่วยเหลือนักเรียนด้านเงินทุนด้านการเรียน ด้านสุขภาพและอื่นๆ ( x̄ = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมา คือ โรงเรียนติดตามพฤติกรรมจากการช่วยเหลือ ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ( x̄ = 4.97, S.D. = 0.18) และมีการประเมินผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระยะเวลา ที่กำหนด (x̄ = 4.96, S.D. = 0.20) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย ( x̄ = 4.65, S.D. = 0.52) มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อ การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้นวัตกรรม CARE System ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ หลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.84, S.D. = 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมาก ไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถได้รับการพัฒนาตามความสนใจ และนักเรียนไม่เสพสิ่งเสพติด ไม่ยุ่งเกี่ยว และไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด (x̄ = 4.93, S.D. = 0.26) รองลงมา คือ นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพจากครูประจำชั้นที่ปรึกษาหรือโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและครูประจำชั้นได้ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน ( x̄ = 4.96, S.D. = 0.19) และครูประจำชั้นให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และให้การช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่างๆ ( x̄ = 4.91, S.D. = 0.31) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้นักเรียนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ( x̄ = 4.74, S.D. = 0.49) มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน