รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านขามเฒ่าสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านขามเฒ่า
ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
โดยใช้รูปแบบจำลองซิป (CIPP Model) ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context)
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านขามเฒ่า ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ 104 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 44 คน และนักเรียน จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของลิเคิร์ท (Likert) จำนวน 90 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านขามเฒ่า
ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.41, S.D. = 0.65) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับถึงด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านผลผลิต (Product) อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.67, S.D. = 0.56) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.54, S.D. = 0.67) ด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.27, SD = 0.73) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input) อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.15, S.D. = 0.64) ตามลำดับ
ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านขามเฒ่า ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 ในภาพรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.62, S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับถึงด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.68, S.D. = 0.53) ด้านการรู้จักนักเรียนรายบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.64, SD = 0.55) ด้านการคัดกรองนักเรียน
อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.63, S.D. = 0.55) ด้านการส่งเสริมพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด
(X ̅ = 4.60, S.D. = 0.63) และด้านการส่งต่อ อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.57, S.D. = 0.59)