รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาอาคารเรียน อาคารประกอบและภูมิทัศน์แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการประเมินโครงการ 4 ด้าน ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย การประเมินด้านบริบท การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินด้านกระบวนการและการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 69 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 224 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 224 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 534 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 1 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .915 ฉบับที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .915 ฉบับที่ 3 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .921 ฉบับที่ 4 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .915 และฉบับที่ 5 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .930 การวิเคราะห์ข้อมู]โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาอาคารเรียน อาคารประกอบและภูมิทัศน์แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.37, S.D. = 0.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นในระดับมากทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน (x̄ = 4.50, S.D. = 0.68) รองลงมา คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ( x̄ = 4.48, S.D. = 0.72) และโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนและชุมชน ( x̄ = 4.47, S.D. = 0.73) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาคารเรียนและอาคารประกอบและภูมิทัศน์แวดล้อม แหล่งเรียนรู้ ( x̄ = 4.20, S.D. = 0.91) มีระดับความคิดเห็นในระดับมากตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้มีผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิOสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาอาคารเรียน อาคารประกอบและภูมิทัศน์แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ ก่อนการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็น ของผู้บริหารสถานศึกษา และครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.75, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ( x̄ = 4.97, S.D. = 0.16) รองลงมาอาคารเรียนและอาคารประกอบและภูมิทัศน์แวดล้อมในโรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ( x̄ = 4.84, S.D. = 0.50) และมีงบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพื่อการดำเนินโครงการมีเพียงพอ ( x̄ = 4.79, S.D. = 0.52) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ มีระบบการบริหารภายในโรงเรียนเอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรม ( x̄ = 4.53, S.D. = 0.76) มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ มีผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาอาคารเรียน อาคารประกอบและภูมิทัศน์แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ ระหว่างดำเนินการ ตามการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.76, S.D. = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นของโรงเรียนในการดำเนินโครงการ ( x̄ = 4.97, S.D. = 0.17) รองลงมา คือ การประสานงานและการสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง ( x̄ = 4.96, S.D. = 0.19) และมีความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการของคณะกรรมการดำเนินโครงการ ( x̄ = 4.87, S.D. = 0.25) ส่วนรายการที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ การเปิดโอกาสให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินโครงการ( x̄ = 4.57, S.D.= 0.65) มีระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้มีผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
4. ผลการวิเคราะห์การประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาอาคารเรียน อาคารประกอบและภูมิทัศน์แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ หลังเสร็จสิ้นโครงการ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของนักเรียนจากการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาคารเรียน อาคารประกอบและภูมิทัศน์แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ หลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.77, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา มีการวางแผนใช้อาคารสถานที่และห้องปฏิบัติการต่างๆ อย่างเหมาะสมและส่งเสริมให้เป็นไป ตามแผนที่กำหนด ( x̄ = 4.96, S.D. = 0.24) รองลงมา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกันเองเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี (x̄ = 4.86, S.D. = 0.36) และโรงเรียนมีภูมิทัศน์แวดล้อมที่ร่มรื่นอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( x̄ = 4.84, S.D. = 0.37) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ มีอาคารเรียนและอาคารประกอบที่ส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ (x̄ = 4.56, S.D. = 0.70) มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้มีผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาคารเรียน อาคารประกอบและภูมิทัศน์แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ ๑ หลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.87, S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้ครูมีการติดต่อสื่อสารกับครอบครัวของนักเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของนักเรียน อันเป็นประโยชน์ในด้านการเรียนและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ( x̄ = 4.98, S.D. = 0.12) รองลงมา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้ครูมีการติดต่อสื่อสารกับครอบครัวของนักเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของนักเรียนอันเป็นประโยชน์ในด้านการเรียนและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
( x̄ = 4.97, S.D. = 0.19) และโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรักในระบอบประชาธิปไตย ผูกพันและภูมิใจในสถานศึกษาของตนและปลูกฝังระเบียบวินัย ค่านิยมและคุณธรรม แก่นักเรียนตามวิถีสังคมไทย ( x̄ = 4.96, S.D. = 0.20) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ ความปลอดภัยของอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการที่จัดให้นักเรียน และการเปิดโอกาสให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิทัศน์แวดล้อม ( x̄ = 4.75, S.D.= 0.46) มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้มีผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้