ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม (VATMAPRANG Model)
โรงเรียนวัดมะปราง
ผู้วิจัย นายธนาสันต์ จานงค์
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม (VATMAPRANG Model) 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม (VATMAPRANG Model) และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม (VATMAPRANG Model) การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จานวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จานวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จานวน 38 คน และผู้ปกครองนักเรียน จานวน 38 คน รวมจานวน 89 คน ปีการศึกษา 2563 โดยเลือกวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) กาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน (Kerjcie & Mogan. 1970 : 608) และสุ่มเป็นตัวแทนแต่กลุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทา การสนทนากลุ่มย่อยโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม (VATMAPRANG Model) โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านที่มีการดาเนินการในระดับมากที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รองลงมาคือ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามลาดับ
2. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม (VATMAPRANG Model) มีองค์ประกอบสาคัญ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการและเหตุผลของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 วิธีดาเนินงานของรูปแบบ ตามชื่อ VATMAPRANG Model ดังนี้ เป้าหมายขององค์กร (Vision : V) การประกันคุณภาพการศึกษา (Assurance : A) การทางานเป็นทีม (Teamwork : T) เงิน (Money : M) การปฏิบัติงานเป็นระบบ(Action : A) การมีส่วนร่วม (Participation : P) การสะท้อนกลับ (Reflect : R) การประเมินผล (Assessment : A) เครือข่ายการทางาน (Network : N) และเป้าหมายความสาเร็จของงาน (Goal : G) ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสาเร็จ และส่วนที่ 5 แนวทางการนารูปแบบไปใช้ตามความคิดเห็น
ของผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวม มีความเหมาะสม ความถูกต้อง และมีความเป็นไปได้ในการนาไปใช้ประโยชน์ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม (VATMAPRANG Model) พบว่า 1) ระดับความรู้ ความสามารถของครูในการนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับการปฏิบัติมาก โดยข้อที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด คือ ครูผู้สอนมีจัดทาสื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้หลากหลายเหมาะสม สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมที่บูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาคือ ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ หลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว 2) จากการประเมินคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า นักเรียนมีระดับการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ ด้านการไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทาให้ผู้อื่นเดือดร้อน รองลงมา คือ ด้านการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม ด้านการใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด ด้านการวางแผนการใช้ชีวิตประจาวันบนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร ด้านการใช้ทรัพย์สินของตนเองอย่างประหยัด และด้านการปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบมีเหตุผล ตามลาดับ และ 3) ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม (VATMAPRANG Model) ในระดับพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านวิชาการ และด้านบริหารงานบุคคล