ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
ผู้ประเมิน วนิดา บุญมั่น
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 143 คน ประกอบด้วย ครูจำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan. 1970 : 608) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 63 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 63 คน ได้มาโดยการ
เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถามการประเมินโครงการ จำนวน 11 ฉบับ เพื่อใช้ประเมิน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ประเด็นการประเมินทุกประเด็นและภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมดโดยจำแนกได้ ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ผลการประเมิน พบว่า
ครูโรงเรียนวัดสระแก้ว มีความต้องการให้มีการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ผลการประเมิน
พบว่า ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดสระแก้ว มีความคิดเห็นว่า ปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มีความเหมาะสมและเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
ผลการประเมิน พบว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนโรงเรียนวัดสระแก้ว มีความคิดเห็นว่า การดำเนินงานตามแผนหรือวัตถุประสงค์ของโครงการ และการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์
การประเมิน
4. ด้านผลผลิตของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ผลการประเมิน
พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมตามแนวทางวิถีพุทธ และครูมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว ในภาพรวมในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ด้านผลกระทบของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ผลการประเมิน
พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความเห็นว่า การดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ส่งผลกระทบต่อโรงเรียน ครู และนักเรียน โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
6. ด้านประสิทธิผลของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ผลการประเมิน
พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ
ผ่านเกณฑ์การประเมิน
7. ด้านความยั่งยืนของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ผลการประเมิน
พบว่า ครูในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการนำกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธมาพัฒนานักเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยภาพรวมในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
8. ด้านการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
ผลการประเมิน พบว่า ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความเห็นว่า โครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีการเผยแพร่ และการพัฒนาโครงการโรงเรียนวิถีพุทธให้แก่ผู้ปกครองและชุมชนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
คำสำคัญ : การประเมินโครการ, โรงเรียนวิถีพุทธ