ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ
ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย ฉัตรวี หยงสตาร์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาความต้องการ ด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมมากที่สุด (x̄ = Χ4.62) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมมากที่สุด (x̄ = 4.54) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.68 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 4) แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ค่าความยาก (PE) ตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.66 ค่าอำนาจจำแนก (D) ตั้งแต่ 0.55 ถึง 0.93 และ ค่าความเชื่อมั่น (rtt) เท่ากับ 0.84 5) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับพฤติกรรมชี้วัด คือ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 6) แบบวัด ความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy ) ตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.68 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.64) และความต้องการของนักเรียนให้มีการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.37Χ)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มีชื่อเรียกว่า IBSCR Model ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) แนวคิดทฤษฎีและหลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนได้แก่ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Introduction : I) (2) ขั้นการระดมความคิด (Brain Stroming : B) (3) ขั้นการเลือกกลวิธีในการแก้ปัญหา (Strategy Finding : S) (4) ขั้นการร่วมมือกันปฏิบัติ (Collaborative Practices : C) (5) ขั้นการสะท้อนผลและตรวจคำตอบ (Reflect & Check : R) 4) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการเรียนตามรูปแบบ และ รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคุณภาพความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด (x̄ = 4.62)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (x̄ = 4.56)