ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17 จังหวัดศรีสะเกษ
Development qf Internal Supervision to Prqmqte the Quality of Education According to the Little ScientistHouse for SIlaat 17
Early Childhood Teacher, Sisaket Province
ชื่อผู้วิจัย: นายสุรศักดิ์ ลือขจร
ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน : โรงเรียนบ้านกุงขาม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
ปีที่พิมพ์: 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17 จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17 จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ และครูปฐมวัยในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 17 ศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2562 รวม 44 คน จาก 15 โรงเรียน ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการพัฒนาการนิเทศภายใน 2) แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูมีสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รวมทั้งมีปัญหาและต้องการพัฒนาระบบนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย อยู่ในระดับมาก
2. ผลการพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17 จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นร่วมวางแผนการนิเทศ 2) ขั้นร่วมทำร่วมพัฒนา 3) ขั้นร่วมเรียนรู้สู่การแก้ปัญหา และ 4) ขั้นร่วมสะท้อนและสรุปผล
3. ผลการทดลองใช้การพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17 จังหวัดศรีสะเกษ มีดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) ก่อนได้รับนิเทศภายใน ร้อยละ 40.95 และหลังการนิเทศภายใน ร้อยละ 59.05 ซึ่งสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) ด้านเจตคติ ก่อนได้รับการนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 42.80 และหลังการรับนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 57.20 ซึ่งครูมีเจตคติที่ดีสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การนิเทศภายในตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย , ครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17