บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกกลาง โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในการประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. การประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมายของโครงการ 2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของงบประมาณ และความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับ (4.1) ความรู้ ความเข้าใจ ตามหลักระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4.2) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน (4.3) ระดับความพึงพอใจ ของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีทั้งสิ้น 156 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D.=.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 9 โครงการมีการกำหนดเป้าหมาย และระยะเวลาดำเนินการที่สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. =.62) ข้อที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 10 โครงการ มีการติดตามนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา โดยการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน อยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D.=.75)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D.=.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 3 โรงเรียนมีเอกสาร และแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D.=.44) ข้อที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 4 โรงเรียนมีวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ที่สนับสนุนกับโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และข้อ 7 งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพียงพอต่อการบริหารโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D.=51)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D.=.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 1 มีแผนงาน โครงการจัดโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปี อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D.=.47) ข้อที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 9 มีการกำหนดขั้นตอน รายละเอียด และวิธีดำเนินโครงการอย่างชัดเจน และเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D.=.60)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับการประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน5 ขั้นตอน ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D.=.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 13 มีการบันทึกข้อมูลนักเรียนจากแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ข้อ 22 มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม และพัฒนานักเรียนให้สอดคล้องต่อนโยบายสถานศึกษา และข้อ 34 มีการส่งต่อนักเรียนให้กับผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนเพื่อช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D.=.47) ข้อที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 7 มีการบันทึกผลการศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล อยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D.=.51)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกกลาง ตามระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D.=.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 3 ความพึงพอใจต่อการนิเทศ ติดตาม การดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.=.61) ข้อที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 2 ความพึงพอใจต่อระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D.=.73)
6. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกกลาง ตามระดับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.=.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 2 ครูได้ดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างใกล้ชิด อยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.81, S.D.=.39) ข้อที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 1 โรงเรียนมีครูรับผิดชอบอย่างพอเพียง สามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D.=.57)