รายงานผลการประเมินโครงการคุณธรรมอัตลักษณ์ตามแนวทางวิถีอิสลาม ของโรงเรียน มาลาอีสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 4) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ โดยใช้รูปแบบ CIPP Model เป็นรูปแบบการประเมินมีความสมเหตุสมผลครอบคลุมการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงาน โครงการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ตามแนวทางวิถีอิสลาม ของโรงเรียนมาลาอีสงเคราะห์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 296 คน ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 138 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 138 คน ครูผู้สอน จำนวน 13 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 4 ฉบับ รวม จำนวน 13 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้เปรียบเทียบ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรง ของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม และแบบทดสอบ โดยใช้สูตรของครอนบาร์ค ใช้ r หาค่าความเชื่อมั่นตามสูตร KR-20 เพื่อหาค่าความยากง่ายและ ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ
ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่นเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 90 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3.2 ร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า การติดตามโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต มีตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมิน 8 ตัวชี้วัด และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 1 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ความรู้เรื่องความมีวินัย ใจสุจริต มีจิตอาสา ดำรงคุณค่าความพอเพียง พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความรู้เรื่องมีวินัย ใจสุจริต มีจิตอาสา ดำรงคุณค่าความพอเพียง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.2 นักเรียนมีวินัย พบว่าหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีวินัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.3 นักเรียนใจสุจริต พบว่าหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีใจสุจริตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.4 นักเรียนมีจิตอาสา พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีจิตอาสาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.5 นักเรียนดำรงคุณค่าความพอเพียง พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความพอเพียงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.52 ในระดับน้อย ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดนักเรียนดำรงคุณค่าความพอเพียงเพิ่มขึ้น ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
4.6 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.7 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.8 ระดับความพึงพอใจของครู พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.9 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก