ร่างนวัตกรรมทางการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๑
ประเภท จัดการเรียนการสอน
ชื่อ นางธนพร แสงปราช
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
โรงเรียน บ้านป่าไม้แดง
ชื่อนวัตกรรม สื่อประสมคำเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านแม่ก กา ของชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑
ความเป็นมาและสภาพของปัญหา
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรม อันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้าง บุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ และ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงานและดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้ อย่างสันติสุขและเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อ พัฒนาความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพเป็นสมบัติล้ำค่าควร แก่การเรียนรู้ อนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป ในการสอนด้านภาษาไม่ว่าภาษาใดจะต้องเน้นการสอนทักษะเบื้องต้น คือ การฟัง พูด อ่าน และเขียน เพราะถือว่าทักษะทางภาษาดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่ง ฝึกฝนให้นักเรียนเกิดความคล่องแคล่วทั้ง ๔ ด้าน เพื่อช่วยให้พัฒนาการทางภาษาของนักเรียนได้เพิ่มพูนขึ้น ตามวัย และวุฒิภาวะ โดยเฉพาะการอ่านภาษาไทยเป็นสิ่งสำคัญในการวางรากฐานการเรียนโดยทั่วไปการที่จะ ให้นักเรียนเกิดทักษะการอ่านและสามารถอ่านได้ถูกต้องคล่องแคล่วนั้นจำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนการอ่าน สะกดคำและแจกลูกตั้งแต่พยัญชนะ สระ คำ และประโยค เพื่อที่นักเรียนสามารถอ่านหนังสือต่าง ๆ ได้ การ ฝึกทักษะจึงจำเป็นต้องอาศัยแบบฝึกเพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจและฝึกฝนสิ่งที่ยังบกพร่องอยู่ให้พัฒนาขึ้น ตามความสามารถที่นักเรียนควรจะทำได้ จากการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องการอ่านประสมคำในแม่ ก กา ผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาประสบการณ์ ทางภาษาให้กับนักเรียนในเรื่องการอ่านประสมคำในแม่ ก กา ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๕ เป็นนักเรียนที่ขึ้นมาจากชั้นอนุบาล ความรู้เรื่องการอ่านประสมคำนักเรียนอนุบาลยังไม่ได้เท่าที่ควร และการเรียนภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด ๑๙ ที่ทำให้เวลาเรียนไม่เต็มที่ ทำให้เกิดปัญหาการประสมคำยังไม่ได้ และจะทำให้การพัฒนาด้านการอ่านประสมคำช้า จึงหาวิธีการที่จะสอนนักเรียนเรื่องการประสมคำในแม่ ก กา ซึ่งเป็นมาตราพื้นฐาน และเป็นสิ่งจำเป็นที่นักเรียนต้องเรียนรู้ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อจะเรียนในเนื้อหาในบทต่างๆที่ยากขึ้นได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
๒.จุดประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาการประสมคำ แม่ ก กา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑/๑
๒. เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่าน แม่ก กา
๓. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการอ่าน การเขียน เพื่อใช้ในการสื่อสาร ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
ขอบเขตการศึกษา
๑. เนื้อหา
คำที่ประสมในมาตรา ก กา ในบทที่ ๑ เรื่องใบโบก ใบบัว
๒. กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ของโรงเรียน บ้านป่าไม้แดง จำนวนทั้งหมด ๒๒ คน จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ๒๑ คน
๓. ระยะเวลา
ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕
กรอบแนนวคิดในการพัฒนานวัตกรรม
การจัดการศึกษา จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย ตามความมุ่งหวังของหลักสูตร มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งให้ ผู้เรียนมีพัฒนาการทางภาษาทั้ง การอ่าน การเขียน ด้าน การฟัง การดูและพูด หลักการใช้ภาษา วรรณคดีและ วรรณกรรมตามควรแก่วัย เห็นคุณค่าของภาษาสามารถ ใช้เป็นเครื่องมือสื่อความคิด ความเข้าใจ รักการอ่าน แสวงหาความรู้ และมีเหตุผล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ ภาษาไทยเป็นเครื่องมือใน การเรียนรู้และใช้สื่อสารใน ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีความ ภาคภูมิใจในภาษาไทย ซึ่งเป็นมรดกที่สำคัญของชาติ (กรมวิชาการ, ๒๕๔๖) การที่จะสอนภาษาไทยให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ ของหลักสูตรนั้น จำเป็นต้องฝึกฝนทักษะต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน ทั้งทักษะด้านการอ่าน การเขียน การฟังการดูและการพูด หลักการใช้ภาษา วรรณคดี และวรรณกรรม โดยเฉพาะการอ่านและการเขียนนับว่ามีความจำเป็นที่ต้องใช้ในการติดต่อสื่อสาร ดังคำกล่าวที่ว่า ใน ปัจจุบันโลกได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านวัตถุและ ด้านวิทยาการ การติดตามความเคลื่อนไหวและ ความก้าวหน้าต่างๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ จึงเป็นจำเป็นต่อ ชีวิตของคนเราในยุคปัจจุบันมาก วิธีที่ใช้ได้ดีโดยทั่วไป คือ การอ่านหนังสือนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะช่วยสร้าง ความสำเร็จในการดำเนินชีวิต เพราะการอ่านเป็นการ พัฒนาสติปัญญา ผู้ที่มีความสามารถในการอ่านจะมี ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพและชีวิตมาก (ชุลี อินมั่น, ๒๕๕๓) ฉะนั้นการอ่านจึงมีความจำเป็นต่อชีวิตในยุคปัจจุบัน เพราะการอ่านช่วยให้เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าได้ การอ่านช่วยเพิ่มพูน ประสบการณ์ ความรู้ ความคิด และวิจารณญาณ ให้ คนเรามีความงอกงามทางวุฒิภาวะ วุฒิปัญญา และมีความสามารถยิ่งขึ้น การอ่านจึงเป็นเครื่องมือสำคัญใน การแสวงหาความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ทำให้ผู้อ่าน ได้มีโอกาสศึกษาตลอดชีวิตอันจะนำไปสู่การพัฒนา คุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโลก ปัจจุบัน ส่วนการเขียนนั้นนับว่าเป็นด้านที่มีความ สำคัญ แทนคำพูด นอกเหนือไปจากประโยชน์ที่ใช้ใน ชีวิตประจำวันแล้ว ในการเรียนการสอนเกือบทุกสาระฯ ต้องอาศัยการเขียนเพื่อการบันทึก เพื่อรวบรวมถ้อยคำของครู ของเพื่อน หรือของวิทยากร ดังนั้นการเขียนจึงเป็นรากฐานในการเรียน สาระฯ ต่างๆ การเขียนในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการ เขียนกลุ่มคำ วลี ประโยค ข้อความ จะต้อง เขียนให้ ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าหากเขียนผิดพลาดจะทำให้ ความหมายเปลี่ยนไป ผู้สื่อและผู้รับ ไม่สามารถสื่อ ความหมายให้ตรงกันได้ ดังคำกล่าวที่ว่า การเขียนเป็น การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคล ออกมาเป็นสัญลักษณ์หรือตัวอักษรเพื่อสื่อความหมายให้ บุคคลอื่นเข้าใจได้และเป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญาของบุคคล โดยถือว่าเป็นการแสดงออกถึงภูมิปัญญาและการ พัฒนาความคิด สร้างสรรค์ของผู้เขียนและถือว่าเป็น เครื่องมือในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมได้อีกวิธี หนึ่ง (วรรณี โสมประยูร, ๒๕๔๒) จะเห็นว่าการอ่านและการเขียนมีความ สำคัญยิ่งต่อ การดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารเพื่อกิจธุระ การประกอบอาชีพ การแสวงหา ความรู้ความเพลิดเพลิน การประกอบกิจกรรมต่างๆ ก็ ต้องอาศัยทักษะด้านการอ่านและการเขียนทั้งสิ้น การ อ่านและการเขียนจึงควรดำเนินการควบคู่กันไป ดังนั้นจึง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่คนเราจะต้องอ่านออกเขียนได้ เพื่อให้การติดต่อสื่อสารนั้นสัมฤทธิ์ผล จึงสอดคล้องกับ นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ ที่เน้นให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ต้องอ่านออกเขียนได้ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ต้องอ่านคล่อง เขียนคล่อง และคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ต้อง อ่านและเขียนอย่างสร้างสรรค์ โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัยถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีการจัดการเรียน การสอนแบบประจำชั้นในระดับปฐมวัยถึงชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๔ ส่วน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เป็น การสอนแบบเวียนสอนเพื่อเน้นการติดตามนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง เพื่อให้สามารถอ่านออกเขียนได้ และใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันได้
๔.ลำดับขั้นตอนในการจัดทำนวัตกรรม
ในการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการประสมคำภาษาไทย มาตราแม่ ก กา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ การดำเนินการมีรายละเอียดดังนี้
๑. วิเคราะห์โครงสร้างของสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการประสมคำเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านแม่ก กา ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปี ที่ ๑/๑
๒. ผลิตสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน สื่อประสมคำเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านมาตรา แม่ก กา
๓. ชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงวิธีการใช้สื่อประสมคำเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านแม่ก กา เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติติและใช้ได้ถูกต้อง
๔. นักเรียนทดสอบการอ่านคำ มาตรา แม่ ก กา ก่อนเรียน
๕. นำนวัตกรรม สื่อประสมคำเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านแม่ก กา มาใช้ในการสอนโดยให้นักเรียนใช้และปฏิบัติ
๖. ให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติมจากแบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านประสมคำแม่ ก กา
๗. นักเรียนทดสอบการอ่านคำ มาตรา แม่ ก กา หลังเรียน
การนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนา / แก้ปัญหา
ผู้จัดทำนวัตกรรม เรื่องสื่อประสมคำเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่าน แม่ก กา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ได้นำนวัตกรรมไปใช้ โดยได้มีการทดสอบการอ่านประสมคำ แม่ ก กา ในบทที่ ๑ เรื่อง ใบโบกบัว แล้วนำผลการทดสอบของนักเรียนแต่ละคนมาตรวจดูเพื่อจัดนักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มกลาง และกลุ่มอ่อน เพื่อนำมาจัดกลุ่มนักเรียน โดยให้ในกลุ่ม คละกันไป ไม่ให้นักเรียนกลุ่มเดียวกันอยู่ด้วยกัน นักเรียนมีจุดอ่อนเรื่องการประสมคำ และด้วย ชั้น ประถมศึกษาปีที่๑ ที่พึ่งเลื่อนชั้นจากอนุบาล ยังเล็ก ความสนใจค่อยข้างน้อย สื่อเรื่องสื่อประสมคำเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่าน แม่ก กา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จึงตอบโจทย์ได้ดี เพราะเป็นสื่อเน้นการปฏิบัติด้วยตัวเอง ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้จากประการณ์ตรง ทำให้เกิดการจำง่ายขึ้น และทำให้นักเรียนมีคุณธรรมด้านความสามัคคี ความเสียสละ และเด็กเกิดความสนุกสนานในการเรียน และที่สำคัญ สื่อประสมคำเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่าน แม่ก กา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สามารถนำไปเรียนนอกห้องเรียนได้ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนรู้ และเพิ่มประสิทิภาพในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
ผลการนำนวัตกรรมไปใช้
ด้านนักเรียน
๑. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านประสมคำ แม่ก กา ในบทที่๑ ได้ดีขึ้น
๒.นักเรียนอ่านคำในภาษาไทยได้ถูกต้องมากขึ้น
๓.นักเรียนสามารถพัฒนาด้านการอ่านประสม รู้จักสระและตัวพยัญชนะได้ดีขึ้น และสามารถ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
๔.นักเรียนได้เรียนตามความถนัด ความสนใจตามศักยภาพ
๕.นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านภาษาสูงขึ้น
๖.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและนำไปประกอบอาชีพได้
ด้านครูผู้สอน
๑. ครูผู้สอนมี ความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วม ในการใช้นวัตกรรม
๒. ครูมีการเตรียมการสอนโดยศึกษานวัตกรรม และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ แผนจัดประสบการณ์การเรียน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
๓. มีการพัฒนาครูให้ได้รับการพัฒนาด้านภาษาที่ สอดคล้องกับนวัตกรรมที่เปิดทำการสอน เทคนิคเกี่ยวกับการสอน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
๔. มีการจัดหาครูที่มีคุณวุฒิประสบการณ์ที่สอดคล้องกับนวัตกรรมและมีจำนวนเพียงพอครบทุกชั้นเรียน
๕. ครูมีเทคนิคการสอนที่ดี มีความอดทน มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น เสียสละในการ ปฏิบัติงาน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้ง
๖. มีการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการนิเทศที่หลากหลาย และนำผลการนิเทศไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียน
การอภิปรายผล
จากการศึกษาการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยมาตราแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ โดยใช้สื่อประสมคำเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านแม่ก กา ของชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ สามารถอภิปรายได้ดังนี้
ความสามารถในการแก้ปัญหาการอ่านประสมคำเพื่อพัฒนาการอ่านในแม่ ก กา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ พบว่า นักเรียนมีทักษะการอ่านประสมคำในแม่ ก กา ดีขึ้น นักเรียนมีทักษะการเขียนที่ดีขึ้น นักเรียนมีทักษะที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศภาษาไทยตามเกณฑ์ของ สพฐ. และนักเรียนมีทักษะที่ดีในการใช้ภาษาไทยในการอ่านและการเขียน โดยมีความรู้ความเข้าใจในความหมายของคำ พยัญชนะ สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์ อ่านการแจกลูกสะกดคำ เพื่อให้นักเรียนมีความมั่นใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น นักเรียนมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม
ในการปฏิบัติแต่ละครั้งควรมีการยืดหยุ่นเวลา เพราะนักเรียนแต่ละคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ต่างกัน ใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้นักเรียนมีพัฒนาการอ่านที่ดีขึ้น การที่จะฝึกให้นักเรียนอ่านสะกดคำได้นั้น ควรให้นักเรียนฝึกเป็นรายบุคคลและครูคอยเป็นผู้ ชี้แนะ เมื่อนักเรียนอ่านไม่ได้
ผลกระทบ (Outcome)ของการนำนวัตกรรมไปใช้
นักเรียนมีความสนใจในการเรียนจากสื่อสื่อประสมคำเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านแม่ก กา ของชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ และมีความกล้าแสดงออก และมีความสามัคคี จากการทำงานเป็นกลุ่ม