การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี (2) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี (3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี (4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี
วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างศึกษาจากประชากรทั้งหมดคือ ผู้บริหาร และครูของโรงเรียนจานวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis: EFA) 2) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรีโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 9 คน โดยใช้แบบตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือแบบตรวจสอบรายการ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ
3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ศึกษาจากประชากรทั้งหมด คือ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี จานวน 14 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 3 จานวน 134 คนในปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกคะแนน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย 4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ศึกษาจากประชากรทั้งหมด คือ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรทั้งหมด คือ ครูผู้สอนครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี จานวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จานวน 8 คน และผู้ปกครองนักเรียนจานวน 134 คน รวมจานวน 156 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบ ลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี สามารถกำหนดเป็น 8 องค์ประกอบ 1) นโยบายและทิศทาง กลยุทธิ์สถานศึกษา 2) การส่งเสริมและพัฒนาครู บุคลากร 3) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในองค์การ 4) การส่งเสริมภาวะผู้นำร่วม 5) การทำงานอย่างประสานความร่วมมือ 6) การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ 7) การติดตามผล และ 8) การนำผลการจัดการเรียนรู้ไปพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2. รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ประกอบด้วย 1) นโยบายและทิศทาง กลยุทธิ์สถานศึกษา 2) การส่งเสริมและพัฒนาครู บุคลากร 3) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในองค์การ 4) การส่งเสริมภาวะผู้นำร่วม 5) การทำงานอย่างประสานความร่วมมือ 6) การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ 7) การติดตามผล และ 8) การนำผลการจัดการเรียนรู้ไปพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมีความคิดเห็นพ้องต้องกันว่ารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี มีความเหมาะสม
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่ผลคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ของครูตามแนวคิด Active Learning อยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนระดับประถมศึกษา 1-มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกสาระเพิ่มขึ้นทุกระดับชั้น 2) นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ของผลการทดสอบพื้นฐานระดับชาติ (NT) เพิ่มขึ้น 3) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 5) นักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขันระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ
4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนวัดกลางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลาดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง และด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ