ชื่อเรื่อง : รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการบริหารคุณภาพเชิงระบบภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
ชื่อผู้วิจัย : นายศักดา ใจตรง
ปีที่ศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนา การบริหารจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสานด้วยการบริหารคุณภาพเชิงระบบของโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ 3) ทดลองใช้ รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการบริหารคุณภาพเชิงระบบของโรงเรียนเนินขามรัฐ ประชานุเคราะห์ และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการบริหารคุณภาพ เชิงระบบของโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์และประเมินความพึงพอใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบฯ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนรวมทั้งหมดจำนวน 523 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกผล แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน ระยะเวลาในการทดลอง 1 ภาคเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ของประชากร ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาอุปสรรคการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ 1) อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้ผ่านออนไลน์ไม่ครบทุกคน 2) สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียรในบางพื้นที่ และ 3) นักเรียนเข้าเรียนรู้ไม่ตรงกับ เวลาครูสอน
2. ความต้องการพัฒนาการจัดการศึกษา ได้แก่ 1) จัดระบบการบริหารจัดการเรียนรู้หลากหลาย ช่องทางตามความพร้อมของนักเรียนและสามารถเข้าศึกษาได้ง่ายสะดวกตลอดเวลา 2) เพิ่มช่องทางในการติดต่อ ที่หลากหลาย ติดตามกำกับการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง 3) แจ้งความก้าวหน้าในการเรียนรู้ทุกระยะ4) เน้นการพัฒนาความก้าวหน้ามากกว่าการทดสอบ 5) ปรับการจัดการเรียนรู้และระยะเวลาที่ให้เหมาะสม และ 6) ผู้ปกครองช่วยกำกับติดตามกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน
3. แนวทางบริหารการจัดการเรียนรู้ บูรณาการ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) ปกติ (On-Site) 2) ออนไลน์ (Online) 3) แอปพลิเคชัน (On-Demand) และ 4) แจกเอกสาร ใบงาน ใบความรู้ (On-Hand)
4. ประเมินความพร้อม ได้แก่ 1) มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนออนไลน์ที่เพียงพอ กับครูทุกคน 2) ครูนำสื่อการเรียนรู้และสร้างสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ มาใช้จัดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและหลากหลาย จำนวนครูไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อัตรากำลังที่กำหนด ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จบตรงวิชาเอกและส่วนใหญ่ มีประสบการณ์จัดการเรียนการสอนไม่ต่ำกว่า 15 ปี และมีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารเทศ บูรณาการใช้ในการจัดการเรียนรู้
5. รูปแบบฯ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก คือ 1) องค์ประกอบหลักที่ 1 การบริหารคุณภาพ เชิงระบบ มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) ปัจจัยนำเขา (Input) 1.2) กระบวนการ (Process) 1.3) ผลผลิตหรือ ผลลัพธ์ (Output or Outcome) 1.4) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) และ 1.5) สภาพแวดล้อม (Environment) 2) องค์ประกอบหลักที่ 2 การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน มี 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) สมาชิก (Member) 2.2) เนื้อหา (Content) 2.3) การเรียนการสอน (Instruction) 2.4) เทคโนโลยีสารเทศ (Technology) 2.5) ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ (Learning Management System) และ 2.6) การวัดและประเมินผล (Assessment) ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
6. ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ
1) การบริหารคุณภาพเชิงระบบตามรูปแบบฯในภาพรวมและทุกรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากที่สุด
2) การเรียนการสอนตามรูปแบบฯในภาพรวมและทุกขั้นตอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
3) ผลสัมฤทธิ์การเรียนในภาพรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Study) สูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และอยู่ในระดับเยี่ยม
7. ผลการประเมินรูปแบบฯ ความถูกต้องครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และ ความเป็นประโยชน์ของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนในภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
8. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบฯของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด