บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการดำเนินงานการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2) เพื่อดำเนินการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานด้านการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนชัยบุรีพิทยาก่อนและหลังได้รับการนิเทศการศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ที่มีต่อการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนชัยบุรีพิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 55 คน ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2) กระบวนการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3) แบบประเมินคุณภาพการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศที่มีต่อการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t test) ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 58.20 รองลงมาคือ เพศชาย จำนวน 23 คน คิดเป็น ร้อยละ 41.80 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีวุฒิปริญญาตรี จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 78.20 รองลงมาคือ มีวุฒิปริญญาโท จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 21.80 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงาน ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 49.09 รองลงมา คือ มีประสบการณ์การทำงาน 5 10 ปี จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 25.45 และน้อยที่สุด คือ มีประสบการณ์การทำงาน 15 20 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.54 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ปฏิบัติการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 21.82 รองลงมา คือ ปฏิบัติการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 14.55 และน้อยที่สุด คือ ปฏิบัติการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวนกลุ่มสาระละ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 9.09 กลุ่มสาระการเรียนรู้ละเท่า ๆ กัน การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการการดำเนินงานการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่ามีคณะทำงานศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการในการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในกาจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีการจัดลำดับความสำคัญปัญหาเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการปฏิบัติงานการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจเป็นแนวทางในการดำเนินการตามแผนการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีการเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการออกแบบเครื่องมือการติดตามการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ครูต้องการได้รับคำปรึกษาแนะนำจากผู้นิเทศเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร (การสร้างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินหลักสูตร) ครูต้องการได้รับคำปรึกษาแนะนำ เรื่อง การจัดบรรยากาศให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ครูต้องการได้รับคำปรึกษาแนะนำ เรื่อง การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนเพิ่มเติม และครูต้องการได้รับคำปรึกษา แนะนำ เรื่อง การเลือกใช้สื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 8 ด้าน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่าเท่ากัน คือ μ = 4.71 σ = 0.46 รองลงมาได้แก่ จัดให้มีเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพปัจจุบันปัญหา และข้อจำกัดของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ มีการจัดให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนและจัดทำโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ครูผู้สอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ครูต้องการความรู้ เรื่อง การทำโครงสร้างการสอน และแผนการสอนสำหรับผู้เรียน ครูต้องการพัฒนาความรู้ เรื่อง นวัตกรรม และเทคโนโลยี และครูต้องการคำปรึกษาแนะนำ เรื่อง การจัดเก็บข้อมูลการวัดและประเมินผลอย่างมีระบบ ทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ μ = 4.65 σ = 0.48 และมีการรับฟังความคิดเห็นของครูเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ครูต้องการได้รับความรู้เรื่อง การจัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร ครูต้องการพัฒนาตนเอง เรื่อง การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ครูต้องการพัฒนาตนเอง เรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน และครูต้องการได้รับคำปรึกษาแนะนำ เรื่อง แหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเท่ากัน คือ μ = 4.56 σ = 0.50
2. ผลการดำเนินการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีแนวดำเนินการนิเทศการศึกษา โดยประกอบด้วยขั้นตอนการนิเทศ ดังนี้
1. การให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง (Direct Assistance)
2. การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม (Group Development)
3. การเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ (Professional Development)
4. การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)
5. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Action Research)
3. ผลการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนชัยบุรีพิทยาก่อนและหลังได้รับการนิเทศการศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีผลการเปรียบเทียบทักษะในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนก่อนและหลังได้รับการนิเทศการศึกษา มีดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนชัยบุรีพิทยาก่อนและหลังได้รับการนิเทศการศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีผลการเปรียบเทียบทักษะในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนก่อนได้รับการนิเทศการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง เน้นการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีปัญหามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ μ = 1.55 σ = 0.50 รองลงมาได้แก่ เน้นการประเมินผลตามสภาพจริง มีค่าเฉลี่ย μ = 1.60 σ = 0.50 และการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างเป็นระบบ โดยมีองค์ประกอบครบถ้วนสอดคล้องกัน มีปัญหาน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ μ = 1.95 σ = 0.22 และจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 55 คน ไม่มีผู้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
3.2 ผลการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนชัยบุรีพิทยาก่อนและหลังได้รับการนิเทศการศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีผลการเปรียบเทียบทักษะในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนหลังได้รับการนิเทศการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า ด้านการมีความสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ มีค่ามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ μ = 4.62 σ = 0.49 รองลงมาได้แก่ ด้านการมีความสามารถในการเลือกใช้สื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศติดตามความเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาตนเอง และด้านการมีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ความรู้เพื่อการนำไปใช้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ μ = 4.56 σ = 0.50 และด้านการเน้นการประเมินผลตามสภาพจริง มีค่าน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ μ = 4.22 σ = 0.42 และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 55 คน มีผู้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสอดคล้องกันจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 12.73 โดยมีข้อเสนอแนะว่า ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนสื่อการจัดการเรียนรู้ให้มีความทันสมัย เพียงพอ และมีความหลากหลายในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
3.3 ผลการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนชัยบุรีพิทยาก่อนและหลังได้รับการนิเทศการศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีผลการเปรียบเทียบทักษะในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน หลังได้รับการนิเทศการศึกษาที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การวิเคราะห์ความพึงพอใจของครูผู้สอนโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ที่มีต่อการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ μ = 4.64 σ = 0.16 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เนื้อหาของรูปแบบการนิเทศการศึกษาเข้าใจง่าย รูปแบบการนิเทศการศึกษาระบุถึงความต้องการของผู้นำไปใช้อย่างชัดเจน ผลการนิเทศมีความคุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย และมีการนำข้อมูลที่ได้จากการสรุปผลการนิเทศการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน มีค่ามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ μ = 4.71 σ = 0.46 รองลงมาได้แก่ รูปแบบการนิเทศการศึกษามีความสอดคล้องกับความต้องการของครู เนื้อหาของรูปแบบการนิเทศการศึกษาสามารถนำไปใช้ปฏิบัติจริงได้ ผลที่ได้รับจากการนิเทศการศึกษามีการอธิบายอย่างชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ และกระบวนการนิเทศมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ มีค่ามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ μ = 4.65 σ = 0.48 และรูปแบบการนิเทศการศึกษานำไปใช้ได้อย่างประหยัดและคุ้มค่า รูปแบบการนิเทศการศึกษามีการวางแผนและดำเนินการนิเทศร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง และรูปแบบการนิเทศการศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์ของผู้รับการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ μ = 4.56 σ = 0.50