ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สู่
คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา
2564
ผู้รายงาน นางสาวอาพร พูนแก้ว
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการของโครงการและด้านผลผลิตของโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มาใช้ในการประเมิน รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 368 คน ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 41 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 368 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน โดยใช้เครื่องมือในการประเมินรวมทั้งสิ้น 11 ฉบับ มี 2 ส่วนได้แก่แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 9 ฉบับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาและแบบบันทึกผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.81 - 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการ การพัฒนา ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.64, S.D. = .27) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.10, S.D. = .37) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ได้คะแนน รวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.18, S.D. = .43) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.26, S.D. = .58) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสม ของการบริหารจัดการ ( = 4.24, S.D.= .41) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเพียงพอของงบประมาณ ( = 4.09, S.D.= .47) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการ การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.05 , S.D. = .34) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.40, S.D. = .14) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนา ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียน บ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.30 , S.D. = .32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการประเมินการนิเทศภายใน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.40, S.D. = .48) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านการวางแผนการนิเทศภายใน ( = 4.29 , S.D. = .63) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการลงมือปฏิบัติ ( = 4.25 , S.D. = 48) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและครู พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.29 , S.D. = 0.29) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.17 , S.D. = .38) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง และครู พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.13 , S.D. = .40) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ครูมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.62 , S.D. = .40) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.64 ≥ ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลการทดสอบระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O NET) ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 42.82 สูงกว่าระดับประเทศ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 ตามคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.08, S.D. = .32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 3.89 , S.D. = .45) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์กประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.42 , S.D. = .37) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจโครงการการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน บ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.69, S.D. = .44) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการ การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100
ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ค่าน้ำหนัก 15 ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ค่าน้ำหนัก 15 ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์
ผลการประเมินด้านกระบวนการ ค่าน้ำหนัก 20 ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์
ผลการประเมินด้านผลผลิต ค่าน้ำหนัก 50 ได้คะแนนเฉลี่ย 50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ผลการประเมินครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาโครงการการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.2 ควรจัดให้มีโครงการการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายในเป็นโครงการต่อเนื่องและต้องดำเนินการทุกปี โดยใช้วงจรควบคุมคุณภาพ ของ เดมมิ่ง (P-D-C-A) มาเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพ
1.3 ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ในลักษณะอื่น ๆ