บทสรุปของผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาวะแวดล้อมหรือบริบท (Context) ๒) ศึกษาความพร้อมของปัจจัยนำเข้า (Input) ๓) ศึกษาความเหมาะสมของกระบวนการ (Process) และ ๔) ศึกษาผลผลิต (Product) ของการดำเนินโครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการด้วยระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ผู้ประเมินได้ใช้วิธีการประเมินตามแนวคิดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร และครูผู้สอนของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน ๗๒๒ คน จำแนกเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๖ จำนวน ๓๑๓ คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวน ๓๐๖ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๓ คน และผู้บริหาร ครูผู้สอน จำนวน ๙๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ (Rating Scale) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา
๑. ศึกษาสภาวะแวดล้อมหรือบริบท (Context) ของโครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการด้วยระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในรายตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด โดยความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และนโยบายของโรงเรียน และความจำเป็นในการดำเนินโครงการตามลำดับ
๒. การศึกษาความพร้อมของปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ ด้วยระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในรายตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด โดยความเหมาะสมด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือความเหมาะสมด้านทรัพยากร และความเหมาะสมด้านงบประมาณตามลำดับ
๓. การศึกษาความเหมาะสมของกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการด้วยระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในรายตัวชี้วัดตามองค์ประกอบในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
๔. การศึกษาผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการด้วยระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยม และในรายมาตรฐานอยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยมทุกมาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และมาตรฐาน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learning)
๕.๑ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
จากการประเมินโครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการด้วยระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ประกอบไปด้วย ๔ ปัจจัยหลักที่สำคัญ ได้แก่ ๑) ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ๒) ด้านบุคลากร ๓) ด้านวัฒนธรรมองค์การ และ ๔) ด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรและชุมชน โดยมีข้อค้นพบว่า โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากร มีความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานและสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นผลที่ดีต่อการทำงานเป็นอย่างมาก และด้วยการมีวัฒนธรรมในการทำงานที่ดี มีการช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรึกษาหารือกันในการทำงาน เป็นปัจจัยหลักในการส่งเสริมการทำงานในด้านต่าง ๆ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ซึ่งวัฒนธรรมในการทำงานที่ดี มีการสืบทอดกันจนก่อให้เกิดความยั่งยืน และผู้บริหาร ครูและบุคลากรให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมจากครูและบุคลากร ผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น ที่เปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานต่าง ๆ การให้ข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ตั้งแต่การวางแผนการดำเนินงาน การจัดทำโครงการกิจกรรม การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕.๒ นวัตกรรมหรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของสถานศึกษา
จากการประเมินโครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการด้วยระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่าโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ มีการวางแผนและใช้นวัตกรรมหรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการบริหารจัดการที่เป็นระบบ เอื้อต่อการพัฒนาการคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามการประกันคุณภาพภายใน ได้แก่ ๑) การบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ๒) การบริหารจัดการสถานศึกษาภายในต้สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID 19 โดยใช้ ST2 Model ส.ธ.๒ วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ