บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา พัฒนารูปแบบการใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา ประเมินและเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา ด้านการพัฒนาการบริหาร ทักษะการสอนและด้านการเรียนรู้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประเมินและเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักเรียน ครู และ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดเพ็งประดิษฐาราม จำนวน 1,205 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสำรวจชนิดมาตราประมาณค่า จำนวน 2 ฉบับ และแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1.ผลการสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาพบว่า ทั้งนักเรียนและครู มีความต้องการให้พัฒนารูปแบบการใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ
2.ผลการพัฒนารูปแบบการใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา ปรากฏว่า ในรูปแบบ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ขั้นตอน เริ่มต้นจาก 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การตรวจสอบ และ4) การปรับปรุง ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันเป็นวัฎจักรด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ได้รูปแบบการปฏิบัติงานที่สอดคล้อง และส่งผลร่วมกันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดเพ็งประดิษฐาราม ใน 3 ด้าน คือการพัฒนาการบริหาร ทักษะการสอนและคุณภาพการเรียนรู้ ส่วนผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้
3.ผลการประเมินและเปรียบเทียบการใช้รูปแบบการใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาพบว่า การพัฒนาการบริหาร อยู่ในระดับมากที่สุด และการบริหารมีพัฒนาการสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านทักษะการสอนของครู อยู่ในระดับมากที่สุด และครูมีทักษะการสอนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับด้านการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ะผู้เรียนมีการพัฒนาทางด้านการเรียนรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการทดสอบระดับชาติ O-NET สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
5.ผลการประเมินและเปรียบเทียบความพึงพอใจ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความพึงพอใจของครู อยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับความพึงพอใจของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05