การประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluationของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมด จำนวน 151 คน จำแนกเป็น ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 16.56 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 8.60 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 113 คน คิดเป็นร้อยละ 74.84 สามารถสรุปผลการประเมินได้ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาพแวดล้อม และด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 2 การประเมินด้านกระบวนการ ฉบับที่ 3 การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ฉบับที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ โดยแบ่งเป็นความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
การประเมินด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context)
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context) โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ โรงเรียนบ้านคลองรอกกำหนดโครงการโรงเรียนปลอดขยะไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน รองลงมาเป็นโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอกสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ ข้อที่ 5 ข้อ 7 และข้อที่ 10 อยู่ในระดับที่มาก
การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์มีเพียงพอในการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอก อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับคะแนนรองลงมาเป็นมากที่สุด อยู่ในด้านงบประมาณมีเพียงพอและเหมาะสมในการสนับสนุนโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอก ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ ข้อมูลสารสนเทศเป็นปัจจุบัน และพร้อมที่จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการโครงการ อยู่ในระดับที่มาก
การประเมินด้านกระบวนการ (Process)
1 ด้านการวางแผน ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีกระบวนการ (Process) ด้านการวางแผน โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ การศึกษาความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก รองลงมาเป็นคะแนนที่อยู่ในระดับที่มากที่สุดเช่นกัน อยู่ในด้านการศึกษาสภาพปัญหาของสถานศึกษาในการดำเนินโครงการ ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ กำหนดการจัดกิจกรรมในโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อยู่ในระดับที่มาก
2 ด้านการดำเนินงาน ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีกระบวนการ (Process) ด้านการดำเนินงาน โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ ประสานงานและสร้างความร่วมมือ เพื่อให้เกิดความสำเร็จจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อยู่ในระดับที่มากที่สุด รองลงมาเป็นการจัดประชุมชี้แจง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีความเข้าใจในการดำเนินโครงการ คะแนนอยู่ที่ระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ การจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานที่ชัดเจน และดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนด อยู่ในระดับที่มาก
3 ด้านการประเมินผล ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบวนการ (Process) ด้านการประเมินผล โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ ดำเนินการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการตามกิจกรรมที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นด้าน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินโครงการ อยู่ในระดับที่มากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ ประเมินผลการดำเนินงานก่อนดำเนินการระหว่างดำเนินการ และสิ้นสุดโครงการ อยู่ในระดับที่มาก
4 ด้านการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ผลการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีกระบวนการ (Process) ด้านการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ การดำเนินการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นคะแนนข้อที่ 18 ดำเนินการสร้างเครือข่ายการพัฒนาอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ ข้อที่ 15 และข้อที่ 16 อยู่ในระดับที่มาก
สรุปภาพรวมของด้านกระบวนการ (Process) และรายผลการประเมินโครงการ อยู่ระดับมากที่สุด โดยเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการดำเนินงาน และด้านการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา และด้านการวางแผน อยู่ในระดับมาก
การประเมินด้านผลผลิต ได้แก่
ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในการประเมินด้านผลผลิต ดังนี้
(1) การกำหนดนโยบาย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ การนำผลการติดตามมาพัฒนา นโยบาย/แผนงาน/โครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอกในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการมีนโยบายนำโครงการโรงเรียนปลอดขยะมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา และบูรณาการกิจกรรมในแผนปฏิบัติงานประจำปีของโรงเรียนบ้านคลองรอกอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ อยู่ในระดับที่มาก ดำเนินการตามนโยบาย และแผนปฏิบัติงานประจำปีที่นำหลักกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก
(2) การบริหารวิชาการ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ ติดตามผล แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการกิจกรรมโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอกสู่การเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการกิจกรรมโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอกสู่การเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ ข้อที่ 2.1 และข้อที่ 2.4 อยู่ในระดับที่มากที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด
(3) การบริหารงบประมาณ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ ข้อที่ 3.2 ดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามกิจกรรมโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอก อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอก อยู่ในระดับที่มาก ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ การติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามกิจกรรมโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อยู่ในระดับที่มากที่สุด
(4) การบริหารทั่วไป พบว่า ภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ การบริหารจัดการอาคารสถานที่และแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาตามกิจกรรมโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอกของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในด้านผลผลิตมีการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยภาพรวม พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการดำเนินงานด้านด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การดำเนินงานด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในการประเมินด้านผลผลิต ดังนี้
(1) การจัดหน่วยการเรียนรู้กิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) พบว่า โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ การนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วย การเรียนรู้กิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นหัวข้อที่มีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หน่วยการ เรียนรู้กิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ มีหน่วยการเรียนรู้กิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) ตามมาตรฐานการเรียนรู้ อยู่ในระดับที่มากที่สุด
(2) การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ในกิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการกิจกรรมปลอดขยะในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการกิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ ข้อที่ 2.1 และข้อที่ 2.2 อยู่ในระดับที่มากที่สุด อยู่ในระดับมาก
(3) สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ การจัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการกิจกรรมปลอดขยะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด และการใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่เสริมสร้างการพัฒนากิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) ของผู้เรียน
(4) การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ การใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการกิจกรรมปลอดขยะ รองลงมาเป็นการจัดทำเครื่องมือ และวัดและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมปลอดขยะ อยู่ในระดับมากที่สุด (Zero Waste School) ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ การจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียน ที่เกิดจาก การนำกิจกรรมปลอดขยะไปประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับที่มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในด้านผลผลิตมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยภาพรวม พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มี
ผลการดำเนินงานด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ
การดำเนินงานด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
(1) สถานศึกษา พบว่า ครู บุคลากร นักเรียน มีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรม /ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นครู บุคลากร นักเรียน มีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ มีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามกิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) อยู่ในระดับที่มากที่สุด
(2) ผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ให้กับตนเองและสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด มี รองลงมามีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ให้กับตนเองและสถานศึกษา ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้คุณธรรมนำความรู้ในการดำเนินชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ มีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับกิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) อยู่ในระดับที่มาก
(3) ครู และบุคลากรของ สถานศึกษา พบว่า ครู บุคคลากรจัดการทรัพยากรและดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจอย่างสอดคล้องกับกิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) อยู่ในระดับมากที่สุด มี รองลงมาเป็นครู บุคลากรดำเนินชีวิตอย่างมีฐานรากทางวัฒนธรรม และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจากกระแสโลกาภิวัตน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ ครู บุคลากรของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมปลอดขยะ อยู่ในระดับที่มาก
(4) นักเรียน พบว่า การปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม และการปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมปลอดขยะ (Zero Waste School) ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา อยู่ในระดับที่มาก
ทั้งนี้ โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในด้านผลผลิตมีผลการดำเนินงานด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ความพึงพอใจของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ความพึงพอใจของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ วิธีการวัดและประเมินผลโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอกมีความเหมาะสม และโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอกทำให้ครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจโครงการฯ มากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาอยู่เป็นกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอกที่โรงเรียนดำเนินการมีความเหมาะสม และน่าสนใจ และนักเรียน สถานศึกษา ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนากระบวนการปลูกฝังคุณลักษณะ การจัดการขยะ รวมถึงประโยชน์จากโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอกมากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ รูปแบบและวิธีการจัดโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอกมีความเหมาะสม และสื่อและแหล่งเรียนรู้สำหรับใช้ในการพัฒนาตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอกน่าสนใจและมีประโยชน์ และนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนบ้านคลองรอกอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปได้ว่า ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจในโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านคลองรอก อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้ 1.1 การดำเนินการประเมินในรอบถัดไปควรมีเก็บข้อมูลเชิงลึกกับหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียน เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายเชิงพื้นที่ 1.2 ควรเกิดการส่งต่อผลประเมิน และกระบวนการประเมินเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงของการจัดโครงการ 1.3 ในการจัดการประเมินครั้งต่อไปควรขยายกลุ่มเป้าหมายของผู้ให้ข้อมูลมากขึ้น นอกเหนือจากนักเรียนชุดเดิมควรเป็นนักเรียนกลุ่มใหม่ที่มีผลต่อโครงการทั้งในระดับทางตรงและทางอ้อม และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการประเมินในรูปแบบ 360 องศา และรอบด้านที่สุด