ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ผู้รายงาน นายสมโพชน์ เหลื่อมล้ำ
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อประเมินด้านบริบท (Context) โครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ 2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ 3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process) โครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ 4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product) โครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ 5. เพื่อประเมินด้านผลกระทบ (Impact) โครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ 6. เพื่อประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness) โครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ 7. เพื่อประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability) โครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ 8. เพื่อประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) โครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และ 9. เพื่อประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
รูปแบบของการประเมินโครงการ ใช้การประเมินแบบ CIPPIEST Model ตามแนวคิดของ Stufflebeam,D.L. and Shinkfield, A.J. ประกอบด้วย ด้านบริบท (C: Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (I: Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) ด้านผลผลิต (P: Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (I: Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (E: Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (S: Sustainability Evaluation) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (T: Transportability Evaluation) และประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 313 คน ได้แก่ ข้าราชการครู และพนักงานราชการครู จำนวน 55 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 จำนวน 129 คน และผู้ปกครอง จำนวน 129 คน จากผู้ปกครองนักเรียนที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวน 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ฉบับที่ 2 แบบประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ฉบับที่ 3 แบบประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ทั้ง 3 ฉบับเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย ซึ่งผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พบว่ามีผลการประเมิน ดังนี้
ด้านบริบท (Context) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 2.57,  = 0.28)
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.56,  = 0.19)
ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.48,  = 0.17)
ด้านผลผลิต (Product) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.42,  = 0.42)
ด้านผลกระทบ (Impact) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.47,  = 0.32)
ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.48,  = 0.33)
ด้านความยั่งยืน(Sustainabilityโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.46,  = 0.34)
ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.43,  = 0.32)
2. การประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พบว่า ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.65,  = 0.23)