ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT, NT, O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 3, 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการ PLC
โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
คณะผู้ร่วมวิจัย นางปทิตตา ขัตติยะ, น.ส.มินตรา หงษ์มาลา,
นางสายฝน นิลวัลย์, น.ส.เกษมศรี รูจีพันธ์,
น.ส.รัตนาภา เกษตรสินธุ์, นางสงกรานต์ ภูมิโชติ,
นางชนกวรัญชน์ ลิขิตแสนสุข, นางนิตยา เหล่ามาลา,
นายยุทธนา บัวพล
หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
ปีที่วิจัย 2564
ได้รับทุนวิจัยจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT, NT, O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 3, 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการ PLC โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT, NT และ O-NET โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT, NT และ O-NET โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียน ด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT, NT และ O-NET โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 84 คน จำแนกเป็น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 25 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาในการทดลองใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT, NT และ O-NET กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ควบคู่นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT, NT และ O-NET จำแนกตามนวัตกรรม จำนวน 9 เรื่อง รวม 95 แผน 2) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT, NT และ O-NET จำแนกตามนวัตกรรม จำนวน 9 เรื่อง จำแนกประเภทเป็นแบบฝึกทักษะ บทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโมดุล 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3-4 ตัวเลือก ตามบริบท ระดับชั้นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ (ยกเว้นรายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ป.6 จำนวน 16 ข้อ) และ
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT, NT และ O-NET โดยประเมินให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านสาระการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านวัดผลประเมินผล และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ มีเกณฑ์ 5 ระดับ คือ ความพึงพอใจมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 1 ฉบับ สำหรับประเมินเป็นฉบับเดียวกัน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที t (t - test แบบ Dependent Samples)
ผลการวิจัยจำแนกตามนวัตกรรมรายชื้น พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
1.1 แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.53/83.75 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้
1.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด พบว่า ผลการทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 6.06 หลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 16.75 เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t (t-dependent) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
1.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.75, S.D.= 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน (x̄ = 4.88, S.D.= 0.32) ด้านสาระการเรียนรู้ (x̄ = 4.81, S.D.= 0.38) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (x̄ = 4.77, S.D.= 0.34) ด้านการวัดผลและประเมินผล (x̄ = 4.69, S.D.= 0.38) และด้านสื่อการเรียนการสอน ( x̄= 4.60, S.D.= 0.49) ตามลำดับ
2. แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
2.1 แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 77.60/75.50 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ พบว่า ผลการทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 6.40 หลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 15.10 เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t (t-dependent) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( x̄= 4.80, S.D.= 0.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน (x̄ = 4.97, S.D.= 0.11) ด้านสาระการเรียนรู้ (x̄ = 4.87, S.D.= 0.27) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ( x̄ = 4.80, S.D.= 0.17) ด้านการวัดผลและประเมินผล ( x̄= 4.73, S.D.= 0.27) และด้านสื่อการเรียนการสอน ( x̄ = 4.63, S.D.= 0.50) ตามลำดับ
3. แบบฝึกทักษะเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
3.1 แบบฝึกทักษะเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 74.20/73.60 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน พบว่า ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 4.12 หลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 14.72 เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t (t-dependent) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59, S.D.= 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน (x̄ = 4.69, S.D.= 0.45) ด้านวัดผลประเมินผล (x̄ = 4.67, S.D.= 0.42) ด้านสาระการเรียนรู้ ( x̄= 4.64, S.D.= 0.45) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (x̄ = 4.49, S.D.= 0.51) และด้านสื่อการเรียนการสอน (x̄ = 4.45, S.D.= 0.50) ตามลำดับ
4. แบบฝึกทักษะแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
4.1 แบบฝึกทักษะแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 96.53/93.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ พบว่า ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 7.76 หลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 18.68 เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t (t-dependent) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.73, S.D.= 0.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวัดผลและประเมินผล ( x̄= 4.83, S.D.= 0.28) ด้านสาระการเรียนรู้ (x̄ = 4.77, S.D.= 0.40) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน ( x̄= 4.76, S.D.= 0.40) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (x̄ = 4.67, S.D.= 0.48) และด้านสื่อการเรียนการสอน (x̄ = 4.63, S.D.= 0.45) ตามลำดับ
5. แบบฝึกพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยโฟนิคส์ (Phonics) ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
5.1 แบบฝึกพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยโฟนิคส์ (Phonics) ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 75.37/
80.80 ซึ่งประสิทธิภาพระหว่างเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ 80 ประสิทธิภาพหลังเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้
5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยโฟนิคส์ (Phonics) พบว่า ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 8.93 หลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 12.93 เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t (t-dependent) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยโฟนิคส์ (Phonics) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ( x̄= 4.79, S.D.= 0.35) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน (x̄ = 4.69, S.D.= 0.40) ด้านสาระการเรียน (x̄ = 4.67, S.D.= 0.46) ด้านสื่อการเรียนการสอน ( x̄= 4.64, S.D.= 0.50) และด้านวัดผลและประเมินผล (x̄ = 4.45, S.D.= 0.48) ตามลำดับ
6. บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำและชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
6.1 บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำและชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 71.83/71.43 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้
6.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำและชนิดของคำ พบว่า ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 3.43 หลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 14.29 เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t (t-dependent) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำและชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.56, S.D.= 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน (x̄ = 4.69, S.D.= 0.40) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ( x̄= 4.62, S.D.= 0.40) ด้านสาระการเรียนรู้ ( x̄= 4.52, S.D.= 0.50) ด้านวัดผลประเมินผล ( x̄= 4.50, S.D.= 0.38) และด้านสื่อการเรียนการสอน ( x̄= 4.45, S.D.= 0.52) ตามลำดับ
7. บทเรียนโมดูล ไทยโอเน็ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
7.1 บทเรียนโมดูล ไทยโอเน็ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 67.05/67.11 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยได้ ตั้งไว้
7.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนโมดูลไทยโอเน็ต พบว่า ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 5.79 หลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 13.42 เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t (t-dependent) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนโมดูล ไทย โอเน็ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.57, S.D.= 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสื่อการเรียน การสอน (x̄ = 4.81, S.D.= 0.40) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน ( x̄= 4.67, S.D.= 0.40) ด้านสาระการเรียนรู้ ( x̄= 4.49, S.D.= 0.48) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (x̄ = 4.47, S.D.= 0.49) และด้านวัดผลประเมินผล (x̄ = 4.40, S.D.= 0.44) ตามลำดับ
8. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
8.1 แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 71.18/81.58 ซึ่งประสิทธิภาพระหว่างเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ 80 ประสิทธิภาพหลังเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้
8.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร พบว่า ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 6.21 หลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 16.32 เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t (t-dependent) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
8.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.60, S.D.= 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอน (x̄ = 4.84, S.D.= 0.36) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน (x̄ = 4.68, S.D.= 0.41) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ( x̄= 4.53, S.D.=0.49) ด้านสาระการเรียนรู้ ( x̄= 4.51, S.D.= 0.47) และด้านวัดผลประเมินผล (x̄ = 4.44, S.D.= 0.46) ตามลำดับ
9. บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง เทคโนโลยีกับชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
9.1 บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง เทคโนโลยีกับชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.07/92.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้
9.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง เทคโนโลยีกับชีวิต พบว่า ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 6.05 หลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 18.47 เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t (t-dependent) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
9.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
เรื่อง เทคโนโลยีกับชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.61, S.D.= 0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน ( x̄= 4.77, S.D.= 0.24) ด้านสื่อการเรียนการสอน ( x̄= 4.65, S.D.= 0.49) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (x̄= 4.61, S.D.= 0.47) ด้านสาระการเรียนรู้ (x̄ = 4.54, S.D.= 0.48) และด้านวัดผลและประเมินผล (x̄ = 4.49, S.D.= 0.44) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
1.ในการทำวิจัยครั้งต่อไป การตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะต้องคำนึงถึงความยากง่าย และธรรมชาติของแต่ละวิชา ซึ่งมีความแตกต่างกัน และจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่เราใช้ในการวิจัย
2.ควรมีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้วยแบบฝึกทักษะ บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนโมดูล ในกลุ่มสาระอื่นๆ
3.ควรมีการวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการใช้แบบฝึกทักษะกับบทเรียนสำเร็จรูป การใช้แบบฝึกทักษะกับบทเรียนโมดูล หรือการเปรียบเทียบกับการเรียนแบบปกติ