ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดนครเนื่องเขต (ศรีไพจิตร) ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นายวุฒิ อิสระกุล
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดนครเนื่องเขต (ศรีไพจิตร) ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ คือ 1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดนครเนื่องเขต (ศรีไพจิตร) ปีการศึกษา 2564สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดนครเนื่องเขต (ศรีไพจิตร)ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดนครเนื่องเขต (ศรีไพจิตร) ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดนครเนื่องเขต (ศรีไพจิตร) ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยการประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชากร จำนวน 209 คน ได้แก่ ครู จำนวน 22 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 87 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 87 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการด้านสภาพแวดล้อม (Context) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสมกับด้านสภาพแวดล้อม (Context) อยู่ในระดับมาก (µ=4.34 , σ=0.65)
2. ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสมกับด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) อยู่ในระดับมาก (µ=4.08 , σ=0.54)
3. ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสมกับด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมาก (µ=4.26 , σ=0.51)
4. ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสมกับด้านด้านผลผลิต (Product) อยู่ในระดับมาก (µ=4.13 , σ=0.56)