บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามกิจกรรมที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนแม่กุวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามกิจกรรมที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนแม่กุวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามกิจกรรมที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนแม่กุวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยทำการประเมินจาก กลุ่มบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนแม่กุวิทยาคม จำนวน 866 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนโรงเรียนแม่กุวิทยาคม ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนแม่กุวิทยาคม จำนวน 13 คน นักเรียนชั้น ม.1-ม.6 จำนวน 701 คน และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 120 คน มีขอบเขตด้านเนื้อหา คือ การประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีกิจกรรมที่น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางการดำเนินงาน จำนวน 8 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย กิจกรรมห้องเรียนคุณภาพพอเพียง กิจกรรมช่างพื้นฐาน กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ กิจกรรมอาหารรักโลก กิจกรรมอนุรักษ์ศิลปะดนตรีพื้นเมือง กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และกิจกรรมอนุรักษ์พันธุ์พืช
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งผู้ประเมินสร้างขึ้นเอง จำนวน 6 ฉบับ โดยแบบสอบถามฉบับที่ 1 เป็นการประเมินบริบท (Context Evaluation) แบบสอบถาม ฉบับที่ 2 เป็นการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) แบบสอบถามฉบับที่ 3 เป็น การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) แบบสอบถามฉบับที่ 4 เป็นการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) คือ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 5 ประการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความพอเพียง ความมุ่งมั่นในการทำงาน และความมีจิตสาธารณะ โดยครู แบบสอบถามฉบับที่ 5 เป็นการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) คือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 5 ประการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความพอเพียง ความมุ่งมั่นในการทำงาน และ ความมีจิตสาธารณะ โดยผู้ปกครองนักเรียน และแบบสอบถามฉบับที่ 6 เป็นการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามกิจกรรมที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนแม่กุวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยแบบสอบถามทั้ง 6 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีเกณฑ์การตัดสินคือค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามกิจกรรมที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนแม่กุวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยประเมินจากบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิตของโครงการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของการประเมินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยในแต่ละด้าน พบว่า ด้านบริบทมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น ตามลำดับ ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมของการประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามกิจกรรมที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนแม่กุวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการนี้สามารถส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยสามารถสรุปผลการประเมินแยกตามการประเมินบริบท การประเมินปัจจัยเบื้องต้น การประเมินกระบวนการ และการประเมินผลผลิต ได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบท (Context) พบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของครูและนักเรียน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โครงการนี้สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ซึ่งค่าเฉลี่ยของความสอดคล้องด้านบริบทในภาพรวม สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพบริบท และความต้องการจำเป็นของโรงเรียน
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input) พบว่า มีความเหมาะสม/เพียงพออยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้โครงการสำเร็จ มีความเหมาะสม/เพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มีการกำหนดภาระงานแก่ผู้รับผิดชอบกิจกรรมอย่างชัดเจน มีความเหมาะสม/เพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ งบประมาณที่ได้รับมีความเหมาะสมและเพียงพอ มีความเหมาะสม/เพียงพอ อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมด้านปัจจัยเบื้องต้น สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการได้รับการสนับสนุนทรัพยากร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ-อุปกรณ์ และ การบริหารจัดการ ตลอดจนมีการสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนเป็นอย่างดี
3. ผลการประเมินกระบวนการ (Process) พบว่า มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือกิจกรรมห้องเรียนคุณภาพพอเพียง มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กิจกรรมอนุรักษ์ศิลปะพื้นเมือง มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การประเมินกิจกรรมในโครงการ และ การรายงานผล การประเมินกิจกรรมของโครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมากเท่ากัน ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมด้านกระบวนการ สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการมี การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ โดยความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง มีการกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ ขั้นตอน ตลอดจนการนิเทศติดตาม อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผลการประเมินผลผลิต (Product) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยครู พบว่า มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก โดยทุกประการมีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมากเหมือนกัน ประการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความมีวินัย มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ความซื่อสัตย์ มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ส่วนประการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความมุ่งมั่นในการทำงาน มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ส่วนการประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยผู้ปกครองนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก โดย ทุกประการมีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมากเหมือนกัน ประการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความซื่อสัตย์ มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ความมีจิตสาธารณะ มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ส่วนประการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความอยู่อย่างพอเพียง มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมจากการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยครูและผู้ปกครองนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการสามารถส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามกิจกรรมที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนแม่กุวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้และทักษะ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ประการ ที่นักเรียนได้รับภายหลังการร่วมกิจกรรมในโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความเพลิดเพลินที่ได้จากการร่วมกิจกรรมในโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ก่อนการดำเนินโครงการโรงเรียนได้สำรวจความต้องการของนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามกิจกรรมที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนแม่กุวิทยาคม มีกิจกรรมที่น่าสนใจและสามารถสนองต่อความต้องการของนักเรียน กระตุ้นให้นักเรียนอยากร่วมอยากทำกิจกรรม ตลอดจนสามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ