บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนวัดโคกยางโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในการประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท เกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมายของโครงการ 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของงบประมาณ ความเหมาะสมของกิจกรรมโครงการ 3) ประเมินกระบวนการ เกี่ยวกับ กระบวนการวางแผน การดำเนินการ และการนิเทศติดตามและการประเมินผลของโครงการ 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับ 4.1) ความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน 4.2) ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนวัดโคกยางกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีทั้งสิ้น 114 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.65, S.D.=.18) ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 7 วัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมีความสอดคล้องกับทิศทางนโยบายการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.92, S.D. =.28) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 9 เป้าหมายเชิงปริมาณมีความชัดเจน เหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D.=.48)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.46, S.D.=.16) ข้อที่มีค่าสูงสุด คือ ข้อ 8 กิจกรรมที่กำหนดมีความสอดคล้อง เหมาะสมกับวัตถุประสงค์โครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.85, S.D.=.38) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 3 โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ในการสนับสนุนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D.=.38)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D.=.49) ข้อที่มีค่าสูงสุด คือ ข้อ 1 โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอย่างชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.85, S.D.=.38) ข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 7 การปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอน กำหนดของระยะเวลา และข้อที่ 16 มีปฏิทิน คู่มือแนวทางนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ ที่เป็นรูปธรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D.=.28)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถในการอ่านของนักเรียน ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, S.D.=.32) ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 1 นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยการอ่าน ข้อ 2 นักเรียนชอบอ่านหนังสือทุกประเภท และข้อ 3 พูดสนทนาอธิบายชี้แจงแสดงความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83, S.D.=.28) ข้อที่มีค่าต่ำสุด คือข้อ 20 นักเรียนมีผลพัฒนาการอ่านดีขึ้น อยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D.=.50)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนวัดโคกยาง ตามระดับความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D.=.40) ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 12 นักเรียนเกิดทักษะในการฝึกฝนพัฒนาตนเองในด้านการอ่าน ( = 4.98, S.D.=.12) ข้อที่มีค่าต่ำสุด คือข้อ 6 และข้อ 17 นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม ความเหมาะสมกับระยะเวลาในการจัดกิจกรรม ( = 4.03, S.D.=.17)
6. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนวัดโคกยาง ตามระดับความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D.=.09) ข้อที่มีค่าสูงสุดคือ ข้อ 18 กิจกรรมสืบค้นข้อมูล อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, S.D.=.33) ข้อที่ต่ำสุด คือข้อ 3 มีความเหมาะสมกับระยะเวลาในการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ( = 4.00, S.D.=.50)