ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาโรงเรียนดีมีคุณภาพโดยใช้กลยุทธ์ CHANGE โรงเรียนบ้านนาเกลือ ปีการศึกษา 2562-2563
ชื่อผู้วิจัย : นาย ยุทธนา แก้วรักษ์
ปีการศึกษา : ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาโรงเรียนดีมีคุณภาพโดยใช้กลยุทธ์ CHANGE โรงเรียนบ้านนาเกลือ ปีการศึกษา 2562-2563 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพโรงเรียนดีมีคุณภาพ 6 ลักษณะของโรงเรียนบ้านนาเกลือ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 3) เพื่อศึกษาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านนาเกลือ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายองค์กรชุมชน ต่อการพัฒนาโรงเรียนดีมีคุณภาพโดยใช้กลยุทธ์ CHANGE โรงเรียนบ้าน นาเกลือ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ทุกคน โดยกลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 จำนวน 111 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 135 คน ครูปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 108 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 130 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน และ ผู้แทนจากเครือข่ายองค์กรชุมชน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 24 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 4 ฉบับมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเน้นมาตรฐานส่วนประมาณค่า(Ratting Scale) 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบ้านนาเกลือ ตามสภาพจริง จำนวน 1 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.969-0.989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS version 18
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลภาพรวมการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาโรงเรียนดีมีคุณภาพ โดยใช้กลยุทธ์ CHANGE โรงเรียนบ้านนาเกลือ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมกลุ่มผู้ประเมินเห็นว่า มีการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ( = 3.66 , S.D. = 0.24) และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.86 , S.D. = 0.24) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.81 , S.D. = 0.27) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.23 , S.D. = 0.27) อยู่ในระดับปานกลาง
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมกลุ่มที่ประเมินเห็นว่า มีการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ( = 4.24 , S.D. = 0.24) และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.55 , S.D. = 0.32) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มครูค่าเฉลี่ย ( = 4.20 , S.D. = 0.24) อยู่ในระดับมาก ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.07 , S.D. = 0.20) อยู่ในระดับมากเช่นกันสอดคล้องตามสมมุติฐาน
2. คุณภาพโรงเรียนดี 6 ลักษณะ โรงเรียนบ้านนาเกลือ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563
2.1 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพโรงเรียนดี 6 ลักษณะ ที่ปรากฎต่อนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเกลือ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 3.56, S.D. = 0.13) ส่วนกลุ่มผู้ปกครองโดยภาพรวม มีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ( = 3.86 , S.D. = 0.13) แสดงให้เห็นว่าผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยภาพรวมสูงกว่าครู
ปีการศึกษา 2563 โดยรวม ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.39 , S.D. = 0.15) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง โดยภาพรวม ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เช่นกัน ( =4.43, S.D. = 0.18) แสดงให้เห็นว่าผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็น โดยภาพรวมสูงกว่าครู ทั้ง 2 ปีการศึกษา สอดคล้องตามสมมุติฐาน
3. ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านนาเกลือ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า
ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนบ้านนาเกลือ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 ทั้ง 3 มาตรฐาน มีผลการประเมินในแต่ละด้าน ดังนี้
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับ ดีเลิศ
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับ ดีเลิศ
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ สอดคล้องตามสมมุติฐาน
4. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายองค์กรชุมชน ต่อการพัฒนาโรงเรียนดีมีคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลยุทธ์ CHANGE โรงเรียนบ้าน นาเกลือ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาโรงเรียนดีมีคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลยุทธ์ CHANGE โรงเรียนบ้านนาเกลือ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 4.29 , S.D. = 0.08) เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.49 , S.D. = 0.07) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู ( = 4.39 , S.D. = 0.15) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.88 , S.D. = 0.15) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 4.44 , S.D. = 0.06) เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.58 , S.D. = 0.06) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู ( = 4.54 , S.D. = 0.16) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.03 , S.D. = 0.03) อยู่ในระดับมาก สอดคล้องตามสมมุติฐาน
ข้อเสนอแนะ
1.ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
1.1 กลยุทธ์ C : Communication the vision การสื่อสารและการถ่ายทอดวิสัยทัศน์เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความตระหนักรู้เข้าใจและเห็นความสำคัญในการพัฒนาและสร้างศรัทธาในการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่โรงเรียนได้
1.2 กลยุทธ์ H : Healthy ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู และกระบวนการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียน ต้องครอบคลุมทั้งด้านความรู้ คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ทักษะชีวิต และสุขภาพกาย สุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และเรียนรู้อย่างมีความสุข และส่งผลให้นักเรียนสามารถดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีสัมพันธภาพที่ดี ต่อคนรอบข้าง เด็กรักครูครูรักเด็ก
1.3 กลยุทธ์ A : Active Learning ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนครูควรส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจะส่งผลให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็นและแก้ปัญหาได้เกิดการเรียนรู้และเกิดจิตสำนึกที่ดี
1.4 กลยุทธ์ N : Network ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหาร กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู และกระบวนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมุ่งเน้นเครือข่ายความร่วมมืออย่างรอบด้านทั้งเครือข่ายภายใน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง และเครือข่ายภายนอกได้แก่ บุคคล หรือผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ในชุมชนรวมทั้งเครือข่ายภาคเทคโนโลยีสารสนเทศล้วนมีความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1.5 กลยุทธ์ G : Get เป็นกระบวนการที่โรงเรียนหรือครูส่งเสริมให้นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปปฏิบัติและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างสงบสุขและเกิดผลที่ดีต่อตนเองและสังคม
1.6 กลยุทธ์ E : Encouragement เป็นการเสริมแรงเชิงบวกหรือการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูบุคลากรนักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพลังความร่วมมือ/การสนับสนุน/การพัฒนาองค์กรให้เกิดความสำเร็จ เป็นโรงเรียนดีมีคุณภาพ อย่างยั่งยืน
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับเขตพื้นที่การศึกษาหรือระดับจังหวัด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาวะผู้นำในโอกาสต่อไป
2.2 ควรมีการพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทางด้านกระบวนการบริหารงาน และผลสำเร็จของการบริหารงานในโอกาสต่อไป
2.3 ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สถานศึกษากำหนด