ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงาน
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ชื่อผู้วิจัย นายสุวิจักขณ์ สาระศาลิน
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารจัดการ การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ 3) ใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน กาญจนานุเคราะห์ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ มีขั้นตอนดังนี้
ผลการประเมิน พบว่า
ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เป็นการวิจัย (Research: R1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) เป็นการศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน กาญจนานุเคราะห์
ผลการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีสาระสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยได้ รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ส่วนที่ 1 กระบวนการบริหารงานกิจการนักเรียน
ส่วนที่ 2 โครงสร้างการบริหารงานกิจการนักเรียน
ส่วนที่ 3 แนวการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี Understand Model
ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เป็นการพัฒนา (Development: D1) ออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D&D) เป็นสร้างรูปแบบ การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ผลจากการปรับปรุงแก้ไขร่างรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ พบว่ามีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และครอบคลุม อยู่ในระดับดีมาก
ตอนที่ 3 การใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์เป็นการวิจัย (Research: R2) ทดลองใช้ (Implementation)
ผลการนำรูปแบบให้ครูที่ปรึกษา นักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ไปทดลองใช้หลังได้รับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี พบว่า เมื่อทำการตรวจสอบวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรที่ทำการศึกษา วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรที่ทำการศึกษา ผลการทดลองใช้รูปแบบครูที่ปรึกษา นักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ทำแบบประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ พบว่า ผลการวิเคราะห์ราบข้ออยู่ระหว่าง 0.672 0.842 ในภาพรวม มีค่าเท่ากับ 0.959
ตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริม การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เป็นการพัฒนา (Development: D2) ประเมินผล (Evaluation: E) เป็นการประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ผลการประเมินแบบประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบนมาตรฐาน (S.D.) ของผลการใช้โมดูลให้ครูที่ปรึกษานักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยไปทดลองใช้หลังได้รับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี และการทดสอบค่า t-test หาค่าเฉลี่ย ( ) มีค่าระหว่าง 4.63 4.91 และค่าส่วนเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าระหว่าง 0.28 0.48
คำสำคัญ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริม
การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
บทนำ
สังคมยุคข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้แทรกซึมสู่วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมทุกรูปแบบ ทำให้คนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรง และเต็มไปด้วยสถานการณ์ปัญหาที่มีความซับซ้อน นอกจากนี้การไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาสู่สังคมไทย ด้วยกระบวนการทางทุนนิยมและบริโภคนิยม ในขณะที่วัฒนธรรมดั้งเดิมนับวันแต่จะอ่อนแอลง ทำให้เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมดังกล่าว จนนำไปสู่การมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและความล้มเหลวทางการเรียน ความไม่มั่นคงในอนาคตเด็กและเยาวชนในปัจจุบันจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาและสภาพแวดล้อมที่ไม่สร้างสรรค์ในสังคมทำให้มีพฤติกรรมแตกต่างไปจากเด็กและเยาวชนในอดีต แม้ว่าผู้ปกครองครู อาจารย์และคนทำงานด้านเด็กจะให้ความรักความปรารถนาดีอย่างมากมายเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจปกป้องและคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ปลอดภัยหรือมีพฤติกรรมตามที่สังคมคาดหวังได้ จากการประมวลสถิติข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนของหน่วยงานต่าง ๆ พบว่า เด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอื่นๆ ส่วนหนึ่งมักมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้เด็กและเยาวชนยังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสังคม ติดการพนัน นิยมเสี่ยงโชค การมั่วสุมในหอพัก ไม่ชอบไปโรงเรียน หนีโรงเรียน ทำร้ายรังแกกันเอง หมกมุ่นกับสื่อที่ไม่สร้างสรรค์ นิยมบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ เครียดซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย ไม่สนใจต่อปัญหาสังคม นับว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2552)
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดทำระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้สถานศึกษา ในฐานะที่หน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนมีกระบวนการทำงานเป็นระบบมีความชัดเจนมีกิจกรรมและเครื่องมือต่างๆ ที่มีคุณภาพในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆ อันจะส่งผลให้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประสบความสำเร็จ (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2554)
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาเป็นระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพระบบหนึ่งที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมสุขภาพจิต ได้ร่วมกันวางรากฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ปรับเปลี่ยนบทบาทและเจตคติของผู้บริหารและครูอาจารย์ให้ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม 2) วางระบบที่จะสร้างความมั่นใจว่า นักเรียนทุกคนมีครูอาจารย์อย่างน้อยหนึ่งคนที่จะคอยดูแลทุกข์สุขอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง 3) สนับสนุนให้ครูอาจารย์มีความใกล้ชิดกับผู้บกครอง เพื่อให้บ้าน โรงเรียนและชุมชนรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายช่วยกันเฝ้าระวังดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4) ประสานสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ชุมชนและผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้มีการส่งต่อและรับช่วงการแก้ไข ส่งเสริมพัฒนานักเรียนและเยาวชนในรูปแบบสหวิทยาการการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จึงมีคุณค่าและความจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องนำไปปฏิบัติให้เกิดผลกับนักเรียนอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและยั่งยืน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552)
สถานศึกษายุคดิจิทัล (Digital Ela School) ดิจิทัลเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อการบริหารงานของสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานวิชาการ การจัดการเรียนการสอน การบริหารทรัพยากรบุคคล การบริหารอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การบริหารกิจการนักเรียน และการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ซึ่งงานของสถานศึกษาในทุกด้านจะต้องมีระบบจัดการฐานข้อมูลของสถานศึกษา เพื่อการตัดสินใจใน การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT มาใช้การเพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารและการจัดการความรู้ เพื่อการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ (เอกชัย กี่สุขพันธ์: 2559) เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลกระทบต่อการบริหารงานในสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน 1) ด้านการบริหารวิชาการ 2) ด้านการบริหารงานงบประมาณ 3) ด้านการบริหารงานบุคคล 4) ด้าน การบริหารทั่วไป ซึ่งงานของสถานศึกษาในทุกด้านจะต้องมีระบบจัดการฐานข้อมูลของสถานศึกษาเพื่อการตัดสินใจในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT มาใช้การเพื่อสร้างระบบฐานข้อมูล การบริหารและการจัดการความรู้ในงานด้านต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วของสถานศึกษาเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องรู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหาร จัดการสถานศึกษา (เอกชัย กี่สุขพันธ์, 2559)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน กาญจนานุเคราะห์
2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริม การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
4. เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
วิธีดำเนินการวิจัย
ตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) เป็นการศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบิหารจัดการการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1)ออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D&D) เป็นสร้างรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ตอนที่ 3 การวิจัย (Resarch : R2) ทดลองใช้ (Implementation) เป็นการใช้รูปแบบและศึกษาสภาพปัญหาการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) ประเมินผล (Evaluation : E) เป็นการประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
สรุปผลการวิจัย
ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เป็นการวิจัย (Research: R1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) เป็นการศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน กาญจนานุเคราะห์
ผลการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีสาระสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยได้ รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ส่วนที่ 1 กระบวนการบริหารงานกิจการนักเรียน
ส่วนที่ 2 โครงสร้างการบริหารงานกิจการนักเรียน
ส่วนที่ 3 แนวการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี Understand Model
ผลการศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ปัญหาจากการทำ SWOT Analysis โดยใช้แบบบันทึกการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ พบว่า สถานการณ์ Question Marks Situation (W : จุดอ่อน O : โอกาส) สถานการณ์ที่สถานศึกษามีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการพัฒนาสถานศึกษา อยู่หลายประการ แต่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่หลายประการเช่นกัน พบว่า สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นโอกาส เป็นปัจจัยเอื้อ แต่สภาพแวดล้อมภายในเป็นจุดอ่อน ส่งผลให้มีข้อจำกัดในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพเรียก สภาพปัญหา ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดทางออก คือ กลยุทธ์เพื่อจัดการหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่าง ๆ ให้มี การปรับปรุง พัฒนา แก้ไข ทบทวน ประสานความร่วมมือ ขอรับการสนับสนุน สอดคล้องกับผลศึกษาสภาพแวดล้อมของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ของ SWOT Analysis พบว่า สถานภาพของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์อยู่ในรูปเครื่องหมายคำถาม (Question Marks) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียนมีปัญหา ได้แก่ นักเรียนกลุ่มเสี่ยง และ กลุ่มมีปัญหาบางคนไม่สามารถปรับพฤติกรรมของตนเองได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการจัดการส่งเสริมป้องกัน และแก้ไขปัญหาบางกิจกรรมไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และ จุดอ่อนภายในที่ต้องแก้ไขปัญหาโดยนำนโยบายของต้นสังกัดที่ต้องการลดปริมาณนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหาในแต่ละด้าน โรงเรียนมีจุดแข็งในด้านการให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เป็นการพัฒนา (Development: D1) ออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D&D) เป็นสร้างรูปแบบ การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหา เกี่ยวกับองค์ประกอบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมาสร้างเป็นข้อคำถาม ในแบบสอบถาม แล้วนำแบบสอบถามที่ได้ไปพิจารณา ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) โดยหาค่า IOC (Index 0f item Objective Congruence) จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านนำแบบสอบถามที่ได้ไปพิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง ตามวัตถุประสงค์โดยใช้เทคนิค IOC (Index 0f item Objective Congruence) เลือกข้อคำถามซึ่งพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 ขึ้นไป คัดเลือกไว้ใช้ได้ ต่ำกว่า 0.50 ปรับปรุงแก้ไขสำนวนภาษาที่ใช้ ตลอดจนเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ และนิยามตัวแปรตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผ่านการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้วไปทดลองใช้กับ ประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าระดับและครูที่ปรึกษาแล้วนำผลมาวิเคราะห์นำผลที่ได้มาคำนวณหาค่าเชื่อมั่นช่วงคงที่ภายใน โดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (α- Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับจุด 0.959 วิเคราะห์โดย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) ซึ่งผลการวิเคราะห์เหลือข้อคำถามจำนวน 132 ข้อ
การปรับปรุงแก้ไขร่างรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่านตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์อีกครั้ง เพื่อรับรองรูปแบบ การบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน กาญจนานุเคราะห์ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ พบว่า มีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และครอบคลุม อยู่ในระดับดีมาก
ตอนที่ 3 การใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์เป็นการวิจัย (Research: R2) ทดลองใช้ (Implementation) เป็นใช้รูปแบบและศึกษาสภาพปัญหาการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริม การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ผลการวิเคราะห์โดยสกัดองค์ประกอบ (factor extraction) พบว่า ตัวแปรองค์ประกอบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ สามารถจัดกลุ่มองค์ประกอบทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1) ระบบข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน องค์ประกอบที่ 2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนองค์ประกอบที่ 3) การสนับสนุนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และองค์ประกอบที่ 4) การป้องกันและการแก้ไขปัญหานักเรียน และมีค่าไอเกน (eigenvalue) ที่มากกว่า 1.00 พบว่าผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis ด้วยวิธีการสกัดองค์ประกอบแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักหรือ (Principal Component Analysis) หรือ PCA และด้วยการหมุนแกนแบบตั้งฉาก (Orthogonal rotation) โดยวิธีแวริแมกซ์ (varimax rotation) ได้ 4 องค์ประกอบ โดยพิจารณาจาก ค่าความแปรปรวนของตัวแปร (eigenvalue) ที่มากกว่า 1.00 ตามวิธีของไกเซอร์ (Kaiser)และการเลือกตัวชี้วัดจากจำนวนตัวแปรในแต่ละตัวชี้วัดที่ต้องมีตัวแปรบรรยายตัวชี้วัดนั้น ๆ ตั้งแต่ 3 ตัวแปรขึ้นไป และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (factor loading) แต่ละองค์ประกอบเท่ากับ 0.600 ขึ้นไป ซึ่งพบว่าเป็นไปตามเกณฑ์ ทั้ง 4 องค์ประกอบ แต่มีบางตัวที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบไม่ถึง 0.600 ทำให้ตัวแปรในการพิจารณาเลือกเหลือเพียง 68 ปัจจัย จากตัวแปรทั้งหมด 132 ปัจจัย สามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของตัวแปรทั้งหมดได้เท่ากับ ร้อยละ 72.46
ตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริม การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เป็นการพัฒนา (Development: D2) ประเมินผล (Evaluation: E) เป็นการประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ผลการประเมินแบบประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบียงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของผลการใช้โมดูลให้ครูที่ปรึกษานักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยไปทดลองใช้หลังได้รับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี และการทดสอบค่า t-test หาค่าเฉลี่ย ( ) มีค่าระหว่าง 4.63 4.91 และค่าส่วนเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าระหว่าง 0.28 0.48
ข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาดังต่อไปนี้
1. เพื่อนำรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ที่สมบูรณ์แล้ว ใช้เป็นรูปแบบในการพัฒนาสถานศึกษา เพื่อสามารถบริหารจัดการ ตรวจสอบ และประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างครอบคลุม ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้ได้จากรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จัดทำรายงานประจำปี ไปจัดทำรายงานประจำปี จัดทำสารสนเทศที่สร้างความโดดเด่นเป็นสากลให้เป็นที่ประจักษ์และสะท้อนถึงประสิทธิภาพที่เข้มแข็งทั้งในระดับชาติและก้าวสู่สากลด้วยความภาคภูมิมากขึ้น
2. ผู้บริหารและครูโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ควรนำรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ไปดำเนินการใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์เดิมให้สมบูรณ์มากขึ้น สอดคล้องกับสภาพการณ์ในขณะนั้นและสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อให้การบริหารจัดการระบบดูแลนักเรียนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้
3. การนำรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ไปใช้สามารถปรับกิจกรรมตามความเหมาะสมของบริบทโรงเรียน
4. เมื่อนำรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ไปใช้ในระดับการปฏิบัติงานและบริบทโรงเรียนที่ต่างไปของสถานศึกษา หากสถานศึกษานำไปทดลองใช้สามารถพัฒนาองค์ประกอบดังกล่าวส่งผลให้การบริหารระบบดูแลนักเรียนประสบความสำเร็จได้ ซึ่งหมายถึงภาพรวมการบริหารระบบดูแลนักเรียนมีประสิทธิผลและเกิดประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะงานวิจัยครั้งต่อไป
เพื่อให้งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปดังนี้
1. การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ
ในสถานศึกษาสังกัดอื่น ๆ
2. การศึกษาเกี่ยวกับการนำรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริม
การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ที่ได้ครั้งนี้ไปทดลองใช้กับสถานศึกษาต่างบริบทและขนาด เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของรูปแบบ
3. ควรศึกษาวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกับประสิทธิภาพ
ของสถานศึกษาด้านอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่ข้อค้นพบใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการบริหารพัฒนาสถานศึกษาต่อไปในอนาคต
4. ควรศึกษาสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของกิจกรรมที่เหมาะสมในการจัดระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียนให้เหมาะสมกับบริบทในประเทศไทย
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2552.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป, 2554.
เอกชัย กี่สุขพันธ์ และคณะ. การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล School Management in Digital Era . 2559.