ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ชื่อผู้วิจัย นายสุวิจักขณ์ สาระศาลิน
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างผู้ร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 894 คน และปีการศึกษา 2562 จำนวน 900 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจาก การสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ (Systematic Sampling Technique) โดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิด CIPP model ซึ่งได้ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงตรง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่าที (t-test for Independent Samples) และเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการประเมิน พบว่า
1) ประเมินด้านบริบท ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหานักเรียน วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 สามารถดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จได้ สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน มีความเป็นเหตุเป็นผล สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน กาญจนานุเคราะห์ และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ กิจกรรมห้องเรียนสีขาว กิจกรรมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และกิจกรรมพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3) ประเมินด้านกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรมห้องเรียนสีขาว การบริหารงานและการดำเนินงาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนการบริหารงาน และ การดำเนินงาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์การบริหารงาน และ การดำเนินงาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและกิจกรรมพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ การบริหารงานและการดำเนินงาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4) ประเมินด้านผลผลิต ได้แก่ กิจกรรมห้องเรียนสีขาว กิจกรรมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และกิจกรรมพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินตนเองของโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ตามมาตรฐานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร้อยละ 97.50
คำสำคัญ ประเมินโครงการ รูปแบบซิปป์ สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
บทนำ
ปัญหายาเสพติดกลับมาทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทั้งจำนวนผู้เสพ ผู้ค้า และอาจรวมไปถึงผู้ผลิตด้วย ซึ่งได้สร้างปัญหามากมายให้แก่ประเทศชาติ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระราชทานในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดาในวันพุธที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2545 เพื่อทรงเตือนสติพสกนิกรชาวไทยว่า "ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่างโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการ ตำรวจ โรงพยาบาล เอกชน ต่าง ๆ เดือนร้อนหมดและสิ้นเปลือง คนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปรามยาเสพติด มัวแต่ต้องมาเสียเงินค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อนอย่างนี้ก็เสียเงิน และเสียชื่อเสียง..." (จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงพระราชทาน ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย ในสวนจิตรลดา วันพุธที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2545)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็นแผนพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 2579) สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นทิศทาง การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จึงมุ่งเตรียมความพร้อม และวางรากฐานในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัยค่านิยมที่ดี มีจิตสาธารณะ และมีความสุข โดยมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี ครอบครัวอบอุ่น ตลอดจนเป็นคนเก่งที่มีทักษะความรู้ ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (สำนักงานคณะกรรม การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559, น. 2) ในการดำเนินชีวิตอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน ขยันหมั่นเพียร อันจะเป็น ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ให้คนพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้น ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่นและสังคมที่สงบสันติสุข ขณะเดียวกันเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ มีเสถียรภาพ และเป็นธรรม รวมทั้ง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นฐาน ซึ่งในการดำรงชีวิตและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นำไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2554, น. 47)
กระทรวงศึกษาธิการ (2558, น. 1) กำหนดนโยบายในการพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่ มีคุณภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมจริยธรรมดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวังโดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาที่สถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการให้เยาวชนเป็นคนเก่งคนดี ดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกัน และการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นปัญหาสังคมที่ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2558, น. 2) ได้กำหนดนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และอบายมุข โดยกำหนดมาตรฐานการป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัยเสี่ยง และในวัยเสี่ยงไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักวิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ไปเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติด จึงได้กำหนดนโยบายให้ผู้บริหารสถานศึกษา นำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปสู่ การปฏิบัติ จัดทำแผนปฏิบัติการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษาทั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ต้องให้ความสำคัญและ มีจิตสำนึกร่วมกันที่จะปกป้องคุ้มครองดูแลช่วยเหลียนเวียนไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ความร่วมมือและร่วมแรงร่วมใจจัดกิจกรรมทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนส่งเสริม สนับสนุนจัดกิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เช่น ค่ายคุณธรรม กิจกรรมลูกเสือและเนตรนารีป้องกันยาเสพติด กิจกรรมกีฬาป้องกันยาเสพติด ส่งเสริมการรวมกลุ่มของนักเรียน นักศึกษาทั้งในส่วนของชมรมและสภานักเรียน รวมทั้งจัดการเรียนการสอนให้ความรู้เสริมสร้างจิตสำนึก ทักษะชีวิต ภูมิคุ้มกันต่อต้านยาเสพติดและอบายมุข จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกคนให้ทั่วถึง โดยสร้างเครือข่ายแกนนำทุกระดับในสถานศึกษา จัดระบบการดำเนินงานยุทธศาสตร์ 5 มาตรการ ตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ได้แก่ (1) มาตรการป้องกัน (2) มาตรการค้นหา (3) มาตรการรักษา (4) มาตรการเฝ้าระวังและ (5) มาตรการบริหารจัดการ ภายใต้กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ ที่กำหนดให้สถานศึกษาต้องมียุทธศาสตร์ ต้องมีแผนงาน ต้องมีระบบข้อมูล ต้องมีเครือข่าย ไม่ปกปิดข้อมูลและไม่ไล่ออก และผู้บริหารสถานศึกษาอำนวยการกำกับติดตามและประเมินผล การดำเนินงานและจัดมาตรการเสริมแรงให้แก่ผู้รับผิดชอบด้านยาเสพติดดีเด่น ด้วยการยกย่องชมเชย มอบโล่ เกียรติบัตร เลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ มาตรการลงโทษบุคลากรที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ออกจากราชการ และเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพครูจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบัน การสื่อสารเทคโนโลยี ต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งปรากฏปัญหาให้เห็นมากมาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด อันนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวที่เกิดความทุกข์ความวิตกกังวลเกิดความเครียด จึงมีการปรับตัวที่ไม่เหมาะสมหรืออื่น ๆ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้เป็นคนดีมีคุณธรรมตามความคาดหวังนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษา ซึ่งมีครูอาจารย์เป็นหลักสำคัญในการดำเนิน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน นักศึกษาให้เติบโตงดงามและเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2559, น. 1)
วัตถุประสงค์ของการประเมิน
1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียน กาญจนานุเคราะห์
2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียน กาญจนานุเคราะห์
วิธีการดำเนินการวิจัย
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2562 ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ในการประเมินจำนวน 4 ด้าน ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) เกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายทางการศึกษา สภาพปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนด้านยาเสพติดและอบายมุข ความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนและความเป็นไปได้ของโครงการ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluations) ในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมและเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ ระยะเวลา การสนับสนุนของฝ่ายบริหารและ ความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการบริหารโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การประเมินผล การปรับปรุง และพัฒนา การดำเนินงานของกิจกรรมตามโครงการ จุดเด่น จุดด้อย และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนา
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ดังนี้
4.1 ผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและ
อบายมุขของกระทรวงศึกษาธิการ
4.2 ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
4.4 ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
สรุปผลการวิจัย
ผลการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2561 2562 สรุปผลได้ดังนี้
ผลการประเมินด้านบริบท
1.1 ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการ
สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.62, S.D.= 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า ผู้บริหาร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.55 - 4.64 ,S.D.= 0.49) ดังนี้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅=4.64, S.D. = 0.49) รองลงมาได้แก่ ผู้บริหาร (x ̅=4.55, S.D. = 0.49) ตามลำดับ
ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของ
โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2562 ตาม ความคิดเห็นของผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.76, S.D.= 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า ผู้บริหาร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.75 - 4.77, S.D.= 0.37 - 0.40) ดังนี้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅=4.77, S.D.=0.40) รองลงมาได้แก่ ผู้บริหาร (x ̅=4.75, S.D.=0.37) ตามลำดับ
1.3 ผลการประเมินด้านบริบทของ โครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.62, S.D.=0.49) และปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.76, S.D.=0.39) ซึ่งค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2562 สูงกว่า ปีการศึกษา 2561 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า
2.1 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ เกี่ยวกับบุคลากรงบประมาณ ระยะเวลา การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร และความร่วมมือของผู้ปกครอง และชุมชนของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอด ยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.74, S.D.=0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า ผู้บริหารความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.76, S.D.=0.39) รองลงมา ได้แก่ ครู (x ̅=4.74, S.D.=0.44) ตามลำดับ
2.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับบุคลากรงบประมาณ ระยะเวลา การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร และความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชนของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอด ยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.74, S.D.=0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า ผู้บริหารความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.76, S.D.=0.39) รองลงมา ได้แก่ ครู (x ̅=4.74, S.D.=0.44) ตามลำดับ
2.3 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ ระยะเวลา การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร และความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชนของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอด ยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ค่าสถิติพื้นฐานตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.72, S.D.=0.45) และปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.74, S.D.=0.44) ซึ่งค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ
3.1 ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการและผลการจัดกิจกรรมของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียน กาญจนานุเคราะห์ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมห้องเรียนสีขาวตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.68, S.D.=0.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า มากที่สุด คือ ครู (x ̅= 4.69, S.D.=0.46) รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหาร (x ̅=4.53, S.D.= 0.53) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารและครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและมากที่สุด (x ̅=4.25 - 4.96, S.D.=0.20 - 0.58) ตามลำดับ
3.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการ และผลการจัดกิจกรรมของโครงการสถานศึกบาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียน กาญจนานุเคราะห์ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมห้องเรียนสีขาวตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.76, S.D.=0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า มากที่สุด คือ ครู (x ̅= 4.76, S.D.=0.43) รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหาร (x ̅=4.73, S.D.= 0.39) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและมากที่สุด (x ̅=4.53 - 4.99, S.D.=0.07 - 0.50) ตามลำดับ
3.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการของ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์กิจกรรมที่ 1 : กิจกรรมห้องเรียนสีขาว โดยภาพรวมปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับมาก (x ̅=4.53, S.D.=0.53) และปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.76, S.D.=0.43) ซึ่งค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.74, S.D.=0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด (x ̅=4.20 - 5.00, S.D.= 0.00 - 0.56) ทั้งนี้ นักเรียน (x ̅=4.76, S.D.=0.43) และ ผู้ปกครองนักเรียน (x ̅=4.76, S.D.=0.43) รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหารและครู (x ̅=4.68, S.D.=0.76) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅= 4.62, S.D.=0.49) ตามลำดับ
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.76, S.D.=0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด (x ̅=4.70 4.77, S.D.= 0.42 - 0.63) ทั้งนี้ นักเรียน (x ̅=4.77, S.D.=0.42) และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅=4.77, S.D.=0.42) รองลงมา ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน (x ̅=4.72, S.D.=0.63) ผู้บริหารและครู (x ̅=4.70, S.D.=0.47) ตามลำดับ
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ โดยภาพรวมปีการศึกษา 2561-2562 อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.74, S.D.=0.52) และ ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.76, S.D.=0.43) ซึ่งค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
5.1 ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการสถานศึกษา สีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.70, S.D.=0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด (x ̅=4.61 4.70, S.D.= 0.45 - 0.63) ทั้งนี้ นักเรียน (x ̅=4.72, S.D.=0.45) รองลงมา ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน (x ̅=4.70, S.D.=0.47) ผู้บริหารและครู (x ̅=4.68, S.D.=0.63) และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅=4.61, S.D.=0.49) ตามลำดับ
5.2 ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการสถานศึกษา สีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.74, S.D.=0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด (x ̅=4.73 4.76, S.D.= 0.43 - 0.45) ทั้งนี้ ผู้ปกครองนักเรียน (x ̅=4.76, S.D.=0.43) รองลงมา ได้แก่ นักเรียน (x ̅=4.75, S.D.=0.43) และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅=4.75, S.D.=0.44) ผู้บริหารและครู (x ̅=4.73, S.D.=0.45) ตามลำดับ
5.3 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.68, S.D.= 0.14) และ ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.69, S.D.= 0.15) ซึ่งค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมิน พบว่า ผลการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ โดยภาพรวมทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่างมากถึงมากที่สุด และเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นที่ยอมรับจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2561-2562 ที่รายงานว่า โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ มีนวัตกรรมหรือตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยมีกระบวนการฝึกที่ชัดเจนต่อเนื่อง ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากโรงเรียนได้มีการดำเนินงานดังนี้
การจัดทำโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ให้ความสำคัญกับทุกฝ่าย
และทุกด้านในการดำเนินงานโครงการและการประเมินโครงการตามรูปแบบของซิปโมเดล (CIPP Model)
การจัดทำโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลายพร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากครูผู้สอน
ผู้ปกครอง และองค์กรต่าง ๆ ในการปลูกฝังให้นักเรียนได้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
นำหลักการบริหารงานระบบวงจรคุณภาพ (PDCA) ตามแนวคิดของเดมมิ่ง (Deming) มาใช้
ในการดำเนินงาน ขั้นการวางแผน (plan-P) ขั้นการดำเนินการ (do-D) ขั้นการติดตามและประเมินผล (check-C) และ ขั้นการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนา (act-A) อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการโดยนำรูปแบบของ CIPP Model ไปใช้ในการประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียน เพราะการประเมินโครงการโดยการอิงกระบวนการดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบของซิปโมเดล (CIPP Model) ทำให้ข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
2. การจัดทำโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ จะต้องมีความหลากหลาย เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนได้นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้จริง
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข.กรุงเทพมหานคร : ศูนย์อานวยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2558.
กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข.กรุงเทพมหานคร : ศูนย์อานวยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2559.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายยกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2554.
. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2559.