วิจัยในชั้นเรียน
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 วิชาภาษาไทย
โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
จัดทำโดย
นส.พัชญ์วลีย์ ศิริจันทพันธ์
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านดอนม่วง
โรงเรียนบ้านดอนม่วง
อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
วิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 วิชาภาษาไทย
โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
ชื่อผู้วิจัย นส.พัชญ์วลีย์ ศิริจันทพันธ์
ประเภท  ครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา
รายวิชา ภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท13101 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำแนกตามลักษณะการใช้ดังนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด
1. แผนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
2. แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
ผลการวิจัยพบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.86 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 58.6 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.06 ผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.93 คะแนน จากคะแนน 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 89.3 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.01 จากการทดสอบทั้งสองครั้งผลปรากฎว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 มีคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย +3.07 คะแนน คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น +52.39 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นหลังจากได้ทำแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน เป็นไปตามสมมติฐานที่วางไว้
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เพราะนักเรียนได้ลงมือ ฝึกทำแบบฝึกหัดซ้ำๆ ในรูปที่ใกล้เคียงกันจนสามารถเข้าใจหลักการและเกิดทักษะ จากนั้นจึงปรับเปลี่ยนแบบฝึกหัดที่มีความหลากหลายให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ และเกิดการเรียนรู้ แต่มีนักเรียนบางคนที่มีปัญหาด้านพื้นฐานการคิดคำนวณ ซึ่งครูจะต้องให้คำแนะนำในบางส่วนเป็นรายบุคคลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดพัฒนาการขึ้นต่อไป
คำสำคัญ : แบบฝึกทักษะ/แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์/การพัฒนาทักษะการอ่าน
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การศึกษาเป็นเครื่องอันสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคลเพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ เมื่อบ้านเมืองประกอบไปด้วย พลเมืองที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศชาติก็ย่อมทำให้ได้โดย สะดวกราบรื่นได้ผลที่แน่นอนและรวดเร็ว (พระราชดำรัสพระราชทานแก่ครูใหม่และนักเรียน ณ ศาลาดุสิดาลัยพระราชวังดุสิต) และวิชาภาษาไทยเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่งทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหา หรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ ภาษาไทยจึงมีประโยชน์ ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ. 2559 : 56-57) แต่ธรรมชาติของภาษาไทยส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนามธรรมซึ่งยากแก่การอธิบายและยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน มีโครงสร้าง ซึ่งประกอบด้วย คำอนิยาม บทนิยามสัจพจน์ ทำให้ผู้เรียนมีทุกข์กับการเรียน เนื่องมาจาก การได้เรียนในเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิตประจาวัน ผู้เรียนจำใจต้องเรียนเรื่องไกลตัวต้องสร้างจินตนาการด้วยความยากลำบากและต้องท่องจำความรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ได้มีโอกาสฝึกคิด การแก้ปัญหาจากสภาพที่เป็นจริง ความทุกข์จากการเรียนทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียน มองว่าการเรียนไม่ใช่เรื่องสนุก ไม่มีความสุข ไม่น่าเรียน เรียนไปเพราะถูกบังคับหรือว่าเรียนไปให้แค่ผ่านๆ ไปวันๆ ซึ่งปรากฏว่า คนที่จบการศึกษาภาคบังคับหรือระดับที่สูงขึ้นแล้ว ไม่มีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพราะรู้สึกว่าได้อยู่กับการเรียนที่มีความทุกข์มามากพอแล้วไม่จำเป็นต้องทำสิ่งอื่นใดเพิ่มเติมอีก เป็นผลทำให้ผลการเรียนตกต่ำตามมา
ด้วยเหตุนี้ครูจึงต้องหาหนทางในการพัฒนาการศึกษา และส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 เพิ่มเติมโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1
สมมติฐานการศึกษา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2. เป็นแนวทางสําหรับนักเรียนในการปรับรูปแบบวิธีการเรียนที่หลากหลายเพิ่มขึ้นสำหรับตัวเองได้
ขอบเขตการวิจัย
ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 9 คน
ระยะเวลาการวิจัย
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์
วิธีดำเนินการวิจัย
ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรต้น ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ
- ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย
กรอบแนวคิดการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยดําเนินการทดลองแบบ One Group Pretest Posttest Design ดังแผนภาพนี้
H1 A H2
เมื่อ H1 หมายถึง การวัดผลก่อนการทดลอง
A หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
H2 หมายถึง การวัดผลหลังการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำแนกตามลักษณะการใช้ดังนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด
1. แผนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
2. แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ผู้วิจัยนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนเรียน) ใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสร้างขึ้น ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอบเองใช้เวลาในการทดสอบ 40 นาที แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ ที่ตั้งไว้
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3. ทำการทดลองสอบหลังเรียน หลังการทดลองสิ้นสุดลงโดยใช้ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (หลังเรียน) เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1
การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย
นำข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนมาสร้างตารางเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคลมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติทั้งหมด เพื่อดูพัฒนาการของนักเรียนและจุดบกพร่องในการเรียนมาสรุปผล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน
จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 คะแนนเฉลี่ยก่อนใช้แบบฝึกทักษะ คะแนนเฉลี่ยหลังใช้แบบฝึกทักษะ ความก้าวหน้า
คะแนน ความก้าวหน้า
ร้อยละ
9 คน 5.86 8.93 +3.07 +52.39%
S.D. = 1.06 S.D. = 1.01
ตารางที่ 2 ตารางเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
ที่ ชื่อ สกุล คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน
1 7 9
2 5 8
3 6 10
4 4 8
5 5 8
6 4 5
7 6 9
8 7 9
9 6 7
ค่าเฉลี่ยคะแนน 5.86 8.93
ผลต่างคะแนนที่เพิ่มขึ้น +3.07
ร้อยละที่เพิ่มขึ้น +52.39%
สรุปและอภิปรายผล
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.86 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 58.6 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.06 ผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.93 คะแนน จากคะแนน 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 89.3 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.01 จากการทดสอบทั้งสองครั้งผลปรากฎว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 มีคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย +3.07 คะแนน คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น +52.39 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นหลังจากได้ทำแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน เป็นไปตามสมมติฐานที่วางไว้
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เพราะนักเรียนได้ลงมือ ฝึกทำแบบฝึกหัดซ้ำๆ ในรูปที่ใกล้เคียงกันจนสามารถเข้าใจหลักการและเกิดทักษะ จากนั้นจึงปรับเปลี่ยนแบบฝึกหัดที่มีความหลากหลายให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ และเกิดการเรียนรู้ แต่มีนักเรียนบางคนที่มีปัญหาด้านพื้นฐานการคิดคำนวณ ซึ่งครูจะต้องให้คำแนะนำในบางส่วนเป็นรายบุคคลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดพัฒนาการขึ้นต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1. ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถนำแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปทดลองใช้และพัฒนาต่อไปให้ดียิ่งขึ้นได้อีก
2. ควรมีการศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย
3. ควรมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างต่อเนื่อง และในระดับชั้นอื่นๆ
4. ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการเปรียบเทียบคะแนนของวิธีการสอนนี้กับวิธีการสอนรูปแบบอื่นด้วย
ภาคผนวก
บัตรภาพ
ใบงานที่ 1 การจับใจความสำคัญนิทานเรื่อง ลูกชาวนากับมรดก
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านจับใจความสำคัญนิทานเรื่อง ลูกชาวนากับมรดก
นานมาแล้วมีครอบครัวชาวนาอยู่ครอบครัวหนึ่ง เมื่อผู้ที่เป็นพ่อตายไปเเล้ว ลูกชาวนาทั้งสองก็ชวนกันออกไปขุดหาสมบัติในสวนองุ่น เพราะพ่อได้สั่งเสียเอาไว้ก่อนที่จะตายว่าทรัพย์สมบัติของพ่ออยู่ในสวนองุ่น
น้องไปขุดตรงนั้นนะ ส่วนพี่จะขุดตรงนี้เอง
ลูกชาวนาทั้งสองช่วยกันขุดดินเพื่อหาสมบัติตามที่ต่างๆ ในสวนองุ่นไปจนทั่วทั้งสวนก็ยังไม่สามารถหาสมบัติที่คิดว่าพ่อจะฝังไว้ให้เจอได้
เเต่สวนองุ่นที่ถูกขุดถูกพรวนดินจนทั่วนั้น กลับยิ่งเจริญงอกงามดี จนลูกชาวนาสองพี่น้องสามารถที่จะขายองุ่นจนได้ทรัพย์สินเงินทองมากมาย
ทั้งสองจึงเพิ่งรู้ว่าทรัพย์สมบัติที่พ่อทิ้งไว้ให้เป็นมรดกนั้นแท้จริงไม่ใช่สมบัติที่ถูกฝังเอาไว้ แต่จริงๆ แล้วคืออะไร
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ความขยันพากเพียรสามารถก่อให้เกิดทรัพย์
1. ใจความสำคัญของเรื่องคืออะไร
ใบงานที่ 2 การจับใจความสำคัญนิทานเรื่อง หมาฮุย (หมาขนคำ)
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านนิทานเรื่อง หมาฮุย (หมาขนคำ) แล้วเขียนเติมคำในช่องว่าง
หมาฮุย (หมาขนคำ)
นานมาแล้ว มีพ่อหม้ายคนหนึ่งอาศัยอยู่กับลูกชาย ชื่อบุญปันและลูกหมาอีกตัวหนึ่ง ต่อมาพ่อหม้ายได้แต่งงานใหม่ ภรรยาใหม่ชื่อนางกาไว นางเกลียดลูกเลี้ยงจึงหาทางกำจัดโดยการใส่ความทำให้ผู้เป็นพ่อโกรธลูกชายมาก จึงหลอกพาลูกชายไปปล่อยป่า โดยหลอกเอาไปทิ้งในหลุมมันที่ถูกขุดเอามันไปกินแล้ว ฝ่ายหมาฮุย เมื่อเห็นพ่อของบุญปันกลับมาแล้วแต่ไม่เห็นบุญปัน จึงดมกลิ่นและตามไปช่วยบุญปันให้ขึ้นมาจากหลุมมันได้ เมื่อนางกาไวเห็นบุญปันกลับมาพร้อมหมาฮุย ก็โกรธยิ่งนักบอกให้สามีรีบนำลูกไปปล่อยอีกครั้ง ครั้งนี้บุญปันรู้ตัวดีว่าจะถูกเอาไปปล่อยป่าอีก จึงชวนหมาฮุยไปด้วย และพากันหนีไปตายเอาดาบหน้า จนกระทั่งได้พบกับยักษ์สองสามีภรรยา ยักษ์เกิดความสงสารจึงเอาบุญปันและหมาฮุยไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และมีเมืองหนึ่ง เจ้าเมืองมีพระธิดาถึง ๗ องค์ เจ้าเมืองได้ไปล่าสัตว์ในป่า และพบกับยักษ์กินอาทิตย์ละคน แล้วเจ้าเมืองก็ส่งพระธิดามาให้ยักษ์กินทุกวันจนถึงธิดาคนสุดท้าย ซึ่งกำลังจะนำไปให้ยักษ์กินเช่นกัน ขณะเดียวกันก็เป็นเวลาที่บุญปันซึ่งโตเป็นหนุ่มได้ ขออนุญาตพ่อแม่ยักษ์มาเที่ยวพร้อมกับหมาฮุยพอดี จึงพบและช่วยเหลือพระธิดาจากการถูกยักษ์กินได้ บุญปันจึงได้แต่งงานกับพระธิดาและครองเมืองอย่างมีความสุขต่อมาบุญปันก็คิดถึงพ่อของตนจึงได้สร้างศาลาและเขียนเล่าชีวิตของตนเองไว้ที่ศาลาแห่งนี้ เมื่อนางกาไวรู้ว่าลูกเลี้ยงได้เป็นเจ้าเมืองก็กลัวความผิด จึงคิดจะหนี นางจึงถูกแผ่นดินสูบเสียชีวิต บุญปันจึงไปรับตัวผู้เป็นพ่อมาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
(นิทานท้องถิ่น อ.แม่สาย)
๑. แม่เลี้ยงของบุญปันชื่อ.............................................................................................................
๒. พ่อของบุญปันโกรธลูกชายเพราะ............................................................................................
๓. หลังจากโกรธลูกชายแล้วเขาทำอย่างไรกับลูกของตนเอง..........................................................
๔. บุญปันกลับบ้านของตนเองได้อย่างไร......................................................................................
๕. หลังเกิดเหตุการณ์นั้นบุญปันตัดสินหนีออกจากบ้านไปพร้อมกับใคร..........................................
๖. ผู้ที่ช่วยเหลือบุญปันหลังหนีออกจากบ้านคือ...............................................................................
๗. หลังจากที่บุญปันและหมาฮุยได้ช่วยเหลือพระธิดาแล้วผลที่ตามมาคือ.........................................
๘. บุญปันตามหาบิดาด้วยวิธีใด.........................................................................................................
๙. นางกาไวได้รับการลงโทษอย่างไร...............................................................................................
๑๐. ใจความสำคัญของนิทานเรื่องนี้คือ................................................................................................
ใบงานที่ 3 การอ่านร้อยแก้ว
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง : เด็ก ๆ อ่านเรื่อง แม่ปูกับลูกปู แล้ววาดภาพตามความคิดระบายสี ให้สวยงาม
วันหนึ่งซึ่งมีอากาศแจ่มใสปูสองตัวแม่ลูกขึ้นจากรูที่อาศัย แล้วพากันคลาน ไปตามหาดทราย นี่แน่ลูก แม่ปูเอ่ยขึ้นกับลูก เจ้าเดินไม่เป็นระเบียบเสียเลยนี่ เจ้าต้องเดินไปข้างหน้าให้ตรง ๆ ซี อย่าให้วกไปทางนั้น วกมาทางนี้ซิ ได้ซีแม่ ฝ่ายลูกปูตอบ แต่แม่ต้องเดินให้ฉันดูเป็นตัวอย่างเสียก่อน แล้วฉันจะเดินตามแม่
เด็ก ๆ ได้ข้อคิดอะไรจากเรื่อง แม่ปูกับลูกปู
................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................
ใบงานที่ 4 การอ่านออกเสียง
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง : จงเขียนคำเขียนจากคำศัพท์ต่อไปนี้
๑. ขะ หยะ เขียนได้ ............................................... ( หยากเยื่อ มูลฝอย )
๒. ฉะ เหลิม เขียนได้ ............................................... ( ยกย่อง )
๓. ถะ หนอม เขียนได้ ............................................... ( ประคับประคองไว้ให้ดี )
๔. ผะ หวา เขียนได้ ............................................... ( อาการสะดุ้งตกใจตื่นเต้น )
๕. สะ หมอง เขียนได้ ............................................... ( ส่วนอยู่ภายในกะโหลก )
๖. สะ ไหล เขียนได้ ............................................... ( เขาหิน )
๗. กะ หนก เขียนได้ ............................................... ( ทองคำ )
๘. ตะ หลาด เขียนได้ ............................................... ( สถานที่เพื่อขายสินค้า )
๙. จะ หรวด เขียนได้ ............................................... ( ยานอวกาศเคลื่อนที่เร็ว )
๑๐. ตะ หลบ เขียนได้ ............................................... ม้วนขึ้นไป )
๑๑. วุด ทิ ไกร เขียนได้ ............................................... ( ความรู้ความเจริญ )
๑๒. บัน ไล กัน เขียนได้ ............................................... ( เสื่อม สลาย มลายสิ้น )
๑๓. สุ ริ ยะ วง เขียนได้ ............................................... ( วงศ์พระอาทิตย์ )
๑๔. วัด ทะ นะ ทำ เขียนได้ ............................................... ( ความเจริญงอกงาม )
๑๕. กะ นิด ถา เขียนได้ ............................................... ( น้องสาว )
๑๖. กระ ปรี้ กระ เปร่า เขียนได้ ............................................... ( คล่องแคล่ว ว่องไว )
๑๗. กำ ปะ นาด เขียนได้ ............................................... ( เสียงสั่นไหวไปทั่ว )
๑๘. กะ เสม สัน เขียนได้ ............................................... ( สุขใจ )
๑๙. เกียด ติ ยด เขียนได้ ............................................... ( ความยกย่องสรรเสริญ )
๒๐. คะ ทา วุด เขียนได้ ............................................... ( อาวุธ คือ ตะบอง )
แบบทดสอบ
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ดินพอกหางหมู มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. เถลไถลไม่ตรงเวลา
ข. อ้วนมากจนน่าเกลียด
ค. คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
ง. ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า
2. วรรณกรรมเรื่อง เวลามีคุณค่า ให้ข้อคิดอย่างไร
ก. การทำงานเสร็จให้ตรงเวลา
ข. การทำงานอย่างมีความสุข
ค. การทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ง. การกำหนดเวลาในการเลื่อนส่งงาน
3. ข้อใดอ่านออกเสียงแบบไม่มีตัวสะกด
ก. เค็ม
ข. ข้าว
ค. เล็ก
ง. เต่า
4. คำในข้อใดอ่านสะกดคำต่างจากข้ออื่น
ก. ปูม้า กำไล
ข. แมวน้ำ พริก
ค. สมุด กิ้งก่า
ง. คราม น้ำอัดลม
5. คำในข้อใดมีการสะกดคำโดยใช้สระโอะ ไม่มีรูปสระปรากฏ
ก. กด ลด
ข. มวย ทวด
ค. เนย เลิก
ง. เจอ ล็อก 6. คำว่า ล็อก ประสมสระใด
ก. เ-อ ข. เ-า
ค. เ-าะ ง. โ-ะ
7. กอ เออะ เขียนอย่างไร
ก. แกะ
ข. เกา
ค. เกอะ
ง. เกาะ
8. ข้อใดอ่านไม่ถูกต้อง
ก. ขโมย อ่านว่า ขะ - โมย
ข. อุตส่าห์ อ่านว่า อุด - ส่า
ค. ปลอบ อ่านว่า ปะ - หลอบ
ง. อโหสิ อ่านว่า อะ - โห - สิ
9. ข้อใดเป็นการตั้งคำถามที่ถูกต้องในการสรุปใจความสำคัญจากการอ่าน
ก. ใคร ทำอะไร
ข. ใคร ทำอะไร ที่ไหน
ค. ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร
ง. ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร
10. การสรุปใจความสำคัญ มีความสำคัญอย่างไร
ก. ช่วยให้เข้าใจเรื่องอย่างถูกต้อง ครบถ้วนใน
เวลาที่รวดเร็ว
ข. ช่วยให้เข้าใจเรื่องอย่างถูกต้อง ครบถ้วนใน
เวลาที่มากขึ้น
ค. ช่วยให้มีความอยากรู้เรื่องราวนั้นๆ มากยิ่งขึ้น
ง. ช่วยให้ลดการสื่อสารในชีวิตประจำวันลง
เฉลย
1. ค 2. ก 3. ง 4. ก 5. ก 6. ค 7. ค 8. ค 9. ง 10. ก