รายงานการใช้นวัตกรรม
รายงานการวิจัยเรื่อง การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านลาด โดยการใช้แบบฝึกทักษะ
ชื่อผู้วิจัย นางนุตาภรณ์ สินทรโก
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นั้น กิจกรรมการเรียนการสอนต้องเน้นการฝึกฝน และต้องเป็นการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนต้องมีความตั้งใจในการร่วมกิจกรรม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมไปใช้ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้จริง ซึ่งผู้เรียนควรได้รับการทบทวนเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ให้สามารถประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละสาระหารเรียนรู้ได้ รวมทั้งเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตรงตามปัญหา ที่ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ในแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการทดสอบรายข้อ เพื่อให้รู้สภาพปัญหาว่า ในปีการศึกษาที่ผ่านมานั้น การจัดการเรียนรู้มีจุดเด่น หรือจุดด้อยในมาตรฐานการเรียนรู้ใดบ้าง นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปวางแผนในการพัฒนาการเรียนรู้ในปีการศึกษาต่อไป
ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการรวบรวมเนื้อหาสาระการเรียนรู้มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อทบทวน เสริมสร้างทักษะ และเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะได้รับการวัดผลประเมินผลจากการทดสอบระดับชาติ เป็นการวางแผนในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตรงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในอย่างแท้ และปัญหาในการจัดการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสามารถตอบสนองนโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของสถานศึกษา นำผลการวิเคราะห์สู่การพัฒนายกระดับสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านลาด ในมาตรฐานการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
เป้าหมายในการดำเนินงานนวัตกรรม
1. นักเรียนได้รับการทบทวนส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจโดย
การใช้แบบฝึกทักษะ เนื้อหาการเรียนรู้มีความสามารถในนำไปใช้ได้ดีขึ้น
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในมาตฐานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศในปีการศึกษา 2560 จำนวน 3 มาตรฐาน ได้รับการพัฒนาทุกมาตรฐานให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่าเฉลี่ยสูงกว่าประดับประเทศในปีการศึกษา 2561
คิดเป็นร้อยละ100
กระบวนการดำเนินงาน
1. ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม
1.1 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์
1.2 นำผลการวิเคราะห์ที่ได้มา ใช้ในการพัฒนารวบรวมแบบฝึกทักษะให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น
1.3 รวบรวมฝีกทักษะเพิ่มเติมโดยใช้แบบทดสอบทีคล้ายคลีงกันกับแบบทดสอบระดับชาติ
2. ขั้นตอนการใช้นวัตกรรม
2.1 ใช้แบบฝึกทักษะเตรียมความพร้อม O-NET ฝึกผู้เรียนเป็นเวลา
2 เดือน และมีการประเมินผลการทำงาน ดังนี้
2.2 ประเมินการทำงานในแบบฝึก ระหว่างการฝึกทักษะเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึก
3. ขั้นตอนการสรุป
3.1 รวบรวมผลการประเมินในการใช้แบบฝึกและการใช้แบบทดสอบระดับประเทศเพื่อประเมินผลความก้าวหน้าเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของผลการสอบของนักเรียนในปีการศึกษา 2560
4. การวัดประเมินผลและเครื่องมือที่ใช้ในการฝึก
4.1 การวัดประเมินผล
1) หาค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนการฝึก และ หลังการฝึก
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคลระหว่างก่อนการฝึก และ หลังการฝึก โดยการใช้แบบฝึกทักษะ
3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่าง
ปีการศึกษา 2560 กับปีการศึกษา 2561
4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการฝึก
1) สื่ออุปกรณ์ประกอบการฝึก ได้แก่ ใบงานกิจกรรม
ใบงานการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบระดับชาติในปีที่ผ่านมา
2) อุปกรณ์ประกอบการฝึก ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบเครื่อง
ฉายวีดีทัศน์
5. ผลการดำเนินงาน
5.1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบ
ระดับชาติ O-NET ในปีการศึกษา 2561 สูงกว่า ปีการศึกษา 2560 ในมาตรฐานที่มีปัญหาคะแนนต่ำกว่าระดับประเทศเป็นอย่างมาก จำนวน 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐาน ค.1.1 ค 1.2 ค 5.2 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ ควรปรับปรุง โดยในปีการศึกษา 2561 มีคะแนนเฉลี่ยสูงใกล้เคียงกับคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ จำนวน 2 มาตรฐาน ทั้ง 3 มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 66.67 และให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ จำนวน 1 มาตรฐาน
คิดเป็นร้อยละ 33.33
5.2 นักเรียนมีคะแนนระหว่างการทำการฝึกทักษะเมื่อเปรียบเทียบ
ค่าเฉลี่ยของนักเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนานวัตกรรม
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีปัญหามีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศ จำนวน 3 มาตรฐาน ได้รับการแก้ไขปัญหาและสามารถพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยการใช้แบบฝึกทักษะ ได้อย่างแท้จริง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
1. การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบระดับชาติ อย่างต่อเนื่องทุกปี
เพื่อนำมาเป็นข้อมูลหลักนำไปสู่การสร้างแนวทางในการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
2. การจัดทำแบบฝึกที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นนวัตกรรมที่มีคุณภาพ
3. ความมุ่งมั่นของผู้ทำการวิจัย และความร่วมมือ ของนักเรียน
ผู้ปกครองนักเรียน และการสนับสนุนของคณะครูบุคลากรในโรงเรียน และผู้บริหารสถานศึกษา
ปัญหาในการดำเนินการ
1. ต้องใช้งบประมาณในการจัดหาสื่ออุปกรณ์ในการสอน
2. ใช้เวลาในการดำเนินงานและรบกวนเวลาของนักเรียนช่วงเลิกเรียนในการ
ทำกิจกรรม
3. เนื้อหาวิชายังขาดคำอธิบายและรายละเอียดขั้นตอนในการใช้งาน
4. เนื้อหาวิชาบางส่วนยังไม่ครอบคลุมถึงระดับชั้นป.4 และ ป.5
แนวทางแก้ไขในการดำเนินการ
1. ต้องจัดหางบประมาณในการจัดหาสื่ออุปกรณ์ในการสอนเพิ่มเติม
2. ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้ฝึกทักษะต้องเสียสละเวลาใน
การดำเนินงานในช่วงเลิกเรียนในการทำกิจกรรม
3. จัดทำคำอธิบายและรายละเอียดขั้นตอนในการใช้งานเพิ่มขึ้น
4. รวบรวมเนื้อหาวิชาบางส่วนยังไม่ครอบคลุมถึงระดับชั้นป.4 และ ป.5
เพิ่มขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณ และให้ความสำคัญกับการ
พัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทางทางนโยบาย และการนำสู่การปฏิบัติ นิเทศติดตามผล รวมทั้งการสร้างขวัญกำลังใจกับบุคลกรในการดำเนินงาน
2. คุณครูควรได้รับการแนะนำเรื่องการวิเคราะห์ผลโอเน็ตให้นำไปใช้ใน
การพัฒนาได้จริง
3. จัดทำเครือข่ายพัฒนาการศึกษาของครูสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
การเผยแพร่ผลงาน
1. เผยแพร่โดยการนำสำเนาแบบฝึกนี้ ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมการวิเคราะห์
และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เมื่อ ปีการศึกษา 2558 ณ โรงเรียนหนองบัววิทยายน
2. เผยแพร่โดยการนำไปใช้เป็นแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ ในการเตรียมความพร้อมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเมือง 10 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 -2561
ภาพกิจกรรม
คณะครูนักเรียนโรงเรียนบ้านลาดร่วมถ่ายภาพ
เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมเตรียมความโอเน็ต
ระดับศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเมือง 10
ปีการศึกษา 2559
ณ โรงเรียนโคกกลางใหม่โพธิ์ทอง สพป.หนองบัวลำภู เขต 1
คณะผู้บริหารศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเมือง 10
เข้าเยี่ยมชมการใช้นวัตกรรมในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
และให้และกำลังใจคณะครูผู้สอนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ที่เตรียมความพร้อม โอเน็ต ปีการศึกษา 2560
ณ โรงเรียนเรียนป่าไม้งามโนนนาดีประชานุกูล
คณะครูผู้สอนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
คณะผู้บริหารศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเมือง 10
ที่เตรียมความพร้อม โอเน็ต ปีการศึกษา 2560
นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะเตรียมโอเน็ต สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ที่เตรียมความพร้อมโอเน็ต ปีการศึกษา 2560
ณ โรงเรียนบ้านลาด
สพป.หนองบัวลำภู เขต 1
คณะครูนักเรียนโรงเรียนบ้านลาดร่วมถ่ายภาพ
เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมเตรียมความโอเน็ต โดยการใช้นวัตกรรมในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู่
ระดับศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเมือง 10
ปีการศึกษา 2559
ณ โรงเรียนโคกกลางใหม่โพธิ์ทอง สพป.หนองบัวลำภู เขต 1