ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ
โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม
ผู้ประเมิน: คมสันต์ ชุมอภัย
สถานศึกษา: โรงเรียนภูเวียงวิยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
ปีที่ประเมิน: 2563
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) เพื่อประเมินโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ CIPP Model ประเมินใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 3 คน ครู จำนวน 16 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 388 คนและมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 313 คน รวมนักเรียน จำนวน 701 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 701 คน (สัดส่วนต่อนักเรียน 1:1) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน รวมทั้งหมดจำนวน 1,435 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบประเมินโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม เป็นแบบประเมินมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Scale) ที่ผู้ประเมิน สร้างขึ้น จำนวน 4 ฉบับ และแบบสอบถามระดับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน (สัดส่วน 1:1) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. )
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ทุกด้าน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60 ,S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสามารถเรียงลำดับระดับการดำเนินการจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ( =4.69 ,S.D. = 0.50) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ( =4.60 ,S.D. = 0.57) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ( =4.58 ,S.D. = 0.56) และ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ( =4.54 ,S.D. = 0.57) ตามลำดับ สามารถสรุปได้ดังนี้
1.1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context)
ผลการประเมินโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69 ,S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สสุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบาย จุดเน้น และวิสัยทัศน์ของหน่วยงานต้นสังกัดและกระทรวงศึกษาธิการ ( =4.75 ,S.D. = 0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ( =4.65 ,S.D. = 0.52) และโครงการส่งผลให้เกิดคุณลักษณะพอเพียงครอบคลุมสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ( =4.65 ,S.D. = 0.54) ตามลำดับ โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
ผลการประเมินโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่
สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54 ,S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ( =4.65 ,S.D. = 0.52) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โรงเรียนมีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม ( =4.46 ,S.D. = 0.57) และ ความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ ( =4.46 ,S.D. = 0.55) ตามลำดับ โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.3 ด้านกระบวนการ (Process)
ผลการประเมินโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.58 , S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การวางแผน (Plan) ( =4.65 , S.D. = 0.56) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การตรวจสอบ (Check) ( =4.49 , S.D. = 0.59) ตามลำดับ โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.4 ด้านผลผลิต (Product)
ผลการประเมินโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60 ,S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ( =4.64 ,S.D. = 0.53) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการอบรมครูการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ( =4.51 ,S.D. = 0.62) และผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมการเรียนรู้เชิงพหุปัญญา ( =4.51 ,S.D. = 0.62) ตามลำดับ โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชาติ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64 , S.D = 0.53) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ประโยชน์ของโครงการต่อนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ( = 4.72 , S.D = 0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สถานที่จัดดำเนินโครงการมีความเหมาะสม ( = 4.59 , S.D = 0.57) ตามลำดับ