วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการสมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดท่าตำหนัก(เทพวิทยเสถียร) ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดท่าตำหนัก(เทพวิทยเสถียร) ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะ จำนวน 8 แผน
2. แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนและเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค
3. แบบทดสอบทักษะการจัดการสมอง(EF) มีลักษณะเป็นคำถามเชิงสถานการณ์ที่ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความจำที่ใช้งาน ด้านยับยั้งพฤติกรรม ด้านยืดหยุ่นความคิด ด้านควบคุมอารมณ์ และด้านจัดระบบการทำงาน
ผลการวิจัย
ผลการทดสอบด้านความจำที่ใช้งาน พบว่า เด็กปฐมวัยมีผลคะแนนเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยก่อนการทดลองในเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.238 คิดเป็นร้อยละ 56.95 เมื่อดำเนินการทดลองจัดประสบการณ์ศิลปะตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยไปอีก 8 สัปดาห์ พบว่า เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.190 คิดเป็นร้อยละ 88.76 จากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานและการทดสอบเชิงสถานการณ์การของเด็กปฐมวัย เมื่อผ่านการจัดประสบการณ์ศิลปะเด็กปฐมวัยผ่านไปแล้ว 8 สัปดาห์ เด็กปฐมวัยมีคะแนนร้อยละ 88.76
ผลการทดสอบก่อนหลังการพัฒนาทักษะการจัดการสมอง (EF) ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะในด้านยับยั้ง พฤติกรรม (Response Inhibition) พบว่าเด็กปฐมวัยมีผลคะแนนเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยก่อนการทดลองในเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.619 เมื่อดำเนินการทดลองจัดประสบการณ์ศิลปะไป 8 สัปดาห์เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 39.904 จากการทดลองตามแบบแผนการวิจัยผลการทดสอบก่อนหลังการพัฒนาทักษะการจัดการสมอง(EF) ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะสาหรับเด็กปฐมวัยมีการพัฒนาการความสามารถด้านยับยั้งพฤติกรรม (Response Inhibition) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ .05
ผลการทดสอบก่อนหลังด้านยืดหยุ่นความคิด (Flexibility) พบว่าเด็กปฐมวัยมีผลคะแนนเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยก่อนการทดลองในเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 28.523 คิดเป็นร้อยละ 51.86 เมื่อดำเนินการทดลองจัดประสบการณ์ศิลปะตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย ครบ 8 สัปดาห์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ49.00 คิดเป็นร้อยละ 89.00 ซึ่งผู้สอนพบว่าเด็กปฐมวัยจำนวน 5 คนที่ได้รับการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการสมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย เมื่อผ่านไปแล้ว 8 สัปดาห์เด็กปฐมวัยมีคะแนนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 82.33 ของคะแนน
ผลการทดสอบก่อนหลังทดลองความสามารถด้านควบคุมอารมณ์(Emotional Control) พบว่าเด็กปฐมวัยมีผล คะแนนเพิ่มขึ้น ตามลำดับ โดยก่อนการทดลองในเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.714 คิดเป็นร้อยละ 61.31 เมื่อดำเนินการทดลองจัดประสบการณ์ศิลปะตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยครบ 8 สัปดาห์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21.952 คิดเป็นร้อยละ 91.47 การจัดประสบการณ์ศิลปะตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการสมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่าเมื่อผ่านไปแล้ว 8 สัปดาห์ โดยเด็กปฐมวัยมีคะแนนร้อยละ 91.47 ซึ่งหมายความว่าเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองสามารถพัฒนาทักษะการจัดการสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยในด้านควบคุมอารมณ์(Emotional Control) ได้
ผลการทดสอบก่อนหลังด้านจัดระบบการทำงาน (Organization) พบว่าเด็กปฐมวัยมีผลคะแนะเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยก่อนการทดลองในเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.238 คิดเป็นร้อยละ 54.42 เมื่อดำเนินการทดลองจัดประสบการณ์ศิลปะตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย ผ่านไป 8 สัปดาห์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.904 คิดเป็นร้อยละ 92.51 ซึ่งพบว่าเด็กปฐมวัยจำนวน 5 คนที่ได้รับการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการสมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่าเมื่อเด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์ไปแล้ว 8 สัปดาห์ เด็กปฐมวัยมีคะแนนร้อยละ 92.51 ซึ่งหมายความว่าเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองสามารถพัฒนาทักษะการจัดการสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย ในด้านจัดระบบการทำงาน (Organization)ได้