บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่กุวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก มีจุดมุ่งหมายหลักคือ เพื่อประเมินโครงการประเมินโครงการระบบงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่กุวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก ตามรูปแบบการประเมิน CIPPiest Model แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 35 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 240 คน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินโครงการ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ ผลงานจากกิจกรรมของโครงการระบบงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่กุวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และข้อสรุปจากการวิเคราะห์เนื้อหา ดำเนินการประเมินในปีการศึกษา 2563
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการด้านบริบท ในภาพรวมครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นคือ มีระดับความสอดคล้อง/เหมาะสมในระดับมาก
2. การประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นคือ มีระดับความสอดคล้อง/เหมาะสมในระดับมาก
3. การประเมินโครงการด้านกระบวนการ ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติในระดับมาก โดยกิจกรรมที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด คือ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน และกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนางานกิจการนักเรียน
4. การประเมินโครงการด้านผลผลิต ในภาพรวม นักเรียนมีระดับความคิดเห็นในระดับมาก และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนมีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ผลงานจากกิจกรรมของโครงการระบบงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่กุวิทยาคมโดยได้รับรางวัลเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการอบรม และพัฒนาตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การพัฒนาหลักสูตรการคุ้มครองช่วยเหลือเด็กนักเรียน และการจัดทำสารสนเทศระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5. การประเมินโครงการด้านผลกระทบ ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
6. การประเมินโครงการด้านประสิทธิผล จากการสัมภาษณ์ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่า โครงการมีประโยชน์ ต่อนักเรียนโดยช่วยเหลือดูแลนักเรียนทุกด้านอย่างทั่วถึง ตรงตามสภาพปัญหา ส่งเสริม พัฒนา การป้องกัน และแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
7. การประเมินโครงการด้านความยั่งยืน ในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษามีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คณะกรรมการสถานศึกษามีระดับความคิดเห็นในระดับมาก และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนมีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
8. การประเมินโครงการด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด จากการสัมภาษณ์ครูผู้รับผิดชอบโครงการ แนวทางในการถ่ายทอดความรู้และขยายผลโครงการจะต้องมีการควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขยายผล ประชาสัมพันธ์ผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ประสานงานกับผู้ปกครองโดยใช้เทคโนโลยี มีผู้เชียวชาญด้านพฤติกรรมนักเรียนมาให้ความรู้และแนวทางการแก้ปัญหา นักเรียนได้มีบทบาทและส่วนร่วมและขับเคลื่อนโครงการ และมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ