บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ประเมินด้านบริบทของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสู่ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักโรงเรียนบ้านห้วยผักกูด 2)ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสู่ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านห้วยผักกูด 3)ประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสู่ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านห้วยผักกูด และ 4)ประเมินผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 4.1) ด้านพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน จำนวน 8 ด้าน คือความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ความสุภาพ ความมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมและความสามัคคี 4.2) ด้านคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสู่ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านห้วยผักกูดกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านห้วยผักกูด ปีการศึกษา 2554 จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
1) ด้านบริบท โดยภาพรวมโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสู่ทักษะชีวิตในศตวรรษ ที่ 21 ของนักโรงเรียนบ้านห้วยผักกูด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.73, S.D.=0.16) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความสอดคล้องกับนโยบายที่เกี่ยวข้อง ( x̄=4.73, S.D.= 0.18) รองลงมา คือด้านความต้องการจำเป็น (x̄=4.52, S.D.= 0.27) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านความเป็นไปได้ (x̄=4.48, S.D.= 0.24)
2) ด้านปัจจัย โดยภาพรวมโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสู่ทักษะชีวิตในศตวรรษ ที่ 21 ของนักโรงเรียนบ้านห้วยผักกูดมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.22, S.D.= 0.12) กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการเตรียมการจัดกิจกรรมจิตอาสาสู่ชุมชน ( =4.44, S.D.= 0.26) ของลงมาคือการเตรียมการจัดกิจกรรมสร้างวินัยเข้าแถวดี (x̄=4.31, S.D.= 0.31) ส่วนกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การเตรียมการจัดกิจกรรมชวนน้องเข้าวัด (x̄=4.08, S.D.= 0.15)
3) ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสู่ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักโรงเรียนบ้านห้วยผักกูดอยู่ในระดับมาก (x̄=4.44, S.D.= 0.11) กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการดำเนินการจัดกิจกรรมประชาธิปไตย (เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมด้านความสามัคคี) (x̄=4.52, S.D.= 0.14) รองลงมาคือการดำเนินการจัดกิจกรรมชวนน้องเข้าวัด (เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่) (x̄=4.49, S.D.= 0.18) ส่วนกระบวนการจัดกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือกระบวนการจัดกิจกรรมสร้างสร้างวินัยเข้าแถวดี (x̄=4.36, S.D.= 0.21)
4) ด้านผลผลิต โดยภาพรวมโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสู่ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักโรงเรียนบ้านห้วยผักกูดอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.55, S.D.= 0.19)
4.1) ด้านพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน จำนวน 8 ด้าน ได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ความสุภาพความมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และความสามัคคี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.54, S.D.= 0.22)
4.2) ด้านคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสู่ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านห้วยผักกูด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ =4.56, S.D.= 0.15)