ผู้ทำการศึกษา นางสาวอุราพร เข็มพงษ์ ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
ปีที่พิมพ์ ปี พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาคู่มือพัฒนาครูเรียนรู้ด้วยตนเอง เอกสาร
ประกอบการนิเทศโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2. เปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน ก่อนและหลังพัฒนาด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้คู่มือพัฒนาครูเรียนรู้ด้วยตนเอง เอกสารประกอบการนิเทศโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน 3. ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้คู่มือพัฒนาครูเรียนรู้ด้วยตนเอง เอกสารประกอบการนิเทศโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ครูผู้สอนที่สมัครเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการการวิจัยในชั้นเรียนโดยการใช้คู่มือพัฒนาครูเรียนรู้ด้วยตนเอง เอกสารประกอบการนิเทศโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ ระยะที่ 1 จนถึงระยะที่ 4 สถานศึกษาละ 1 คน จำนวน 50 แห่ง รวมทั้งสิ้น 50 คน การดำเนินการใช้แบบแผนการทดลองศึกษากลุ่มเดียว (The One Group Pretest – Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คู่มือพัฒนาครูเรียนรู้ด้วยตนเอง เอกสารประกอบการนิเทศโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน แบบทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจ การวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25-0.78 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24-0.55 ค่าความเชื่อมั่น 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test-Dependent
ผลของการศึกษา สรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาครูเรียนรู้ด้วยตนเอง เอกสารประกอบการนิเทศโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน ( / ) เท่ากับ 84.28/84.80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ครูผู้สอนมีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร มีความพึงพอใจต่อกระบวนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้คู่มือพัฒนาครูเรียนรู้ด้วยตนเอง เอกสารประกอบการนิเทศโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก