การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร รูปแบบที่ใช้ในการประเมิน CIPP Model ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครู จำนวน 63 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 301 คน ผู้ปกครอง จำนวน 297 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น 675 คน ในปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาค่าความตรงของเครื่องมือ (Validity) ใช้สูตร IOC หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยการหาค่าความเชื่อมั่นแบบ Alpha Co-efficient ตามสูตรของครอนบาค (Cronbach) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร สรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมมีความจำเป็นหรือความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มครูมีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติหรือคุณภาพอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน นักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ทุกกลุ่มผู้ประเมินเช่นกัน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพของการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน กลุ่มนักเรียน กลุ่มครูและกลุ่มผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มนักเรียนและกลุ่มครู มีความคิดเห็น โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน ทุกกลุ่มผู้ประเมิน พบว่าด้านบรรยากาศและสถานที่ดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
4.3 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยภาพรวมมีการปฏิบัติหรือมีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูและกลุ่มผู้ปกครองมีความคิดเห็น มีการปฏิบัติหรือคุณภาพอยู่ในระดับมาก
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินโครงการภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ทั้ง 4 ด้านของโครงการ โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
กิตติกรรมประกาศ
การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงด้วยดีเพราะได้รับความกรุณาให้คำแนะนำ ช่วยเหลืออย่างเป็นอย่างดียิ่งจาก นางพรทิพย์ นุกูลกิจ ผู้อำนวยการ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ดร. ณัฐกรณ์ ดำชะอม ผู้อำนวยการโรงเรียนปากแพรกพิทยาคม นางเพียงแข ชิตจุ้ย ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา นายบัญญัติ พูลผล ผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะสมุย และนางผกา สามารถ ผู้อำนวยการโรงเรียนพนมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ที่กรุณาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการกำหนดกรอบประเด็นการประเมิน ตัวชี้วัด กำหนดค่าน้ำหนักและเกณฑ์การผ่านในแต่ละประเด็น และที่กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือประเมินโครงการในครั้งนี้
ขอขอบคุณ คณะครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเพื่อดลองเครื่องมือในครั้งนี้