บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
1. เพื่อประเมินโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product)
2. เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาล วังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
รูปแบบของการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ใช้รูปแบบ CIPP Model ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 253 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 117 คน ครู จำนวน 12 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 117 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คนซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ แบบทดสอบ 1 ฉบับ และแบบรายงานผล 3 ฉบับ ดังนี้
1. แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
2. แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ด้านกระบวนการ (Process)
3. แบบทดสอบ และแบบรายงานผล สำหรับการสรุปรายงานผลด้านผลผลิต (Product) ของโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ดังนี้
3.1 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.2 แบบรายงานผลทักษะการทำงานของนักเรียนโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียง
3.3 แบบรายงานผลการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3.4 แบบรายงานผลการฝากเงินของนักเรียนตามโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียง
4. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
การดำเนินการประเมินโครงการ
1. จัดทำโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
2. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ และหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
3. เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายในการประเมินโครงการ
4. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ผลการสอบความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแบบรายงานผลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
5. สรุปรายงานผลการประเมินโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
สรุปผลการประเมินโครงการ
1. ผลการประเมินโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำแนกรายด้าน ได้ดังนี้
1.1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) พบว่าในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยครูและกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นต่อโครงการว่า วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โครงการสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการพึ่งพาตนเองมากขึ้น และโครงการมีความเหมาะสมกับสภาพความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยครูและกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นต่อโครงการว่า ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการดำเนินโครงการ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินโครงการ และบุคลากรในโรงเรียนมีความเข้าใจ มีความรู้ความสามารถในการดำเนินโครงการ สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
1.3 ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยนักเรียน ครู ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นต่อโครงการว่า กิจกรรม หนึ่งห้องเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ กิจกรรมสหกรณ์สอนธุรกิจ และกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
1.4 ผลการประเมินโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดย จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนการทดสอบความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 70 ขึ้นไป จำนวน ร้อยละ 89.74 จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวนร้อยละ 100 นักเรียนมีทักษะการทำงานเฉลี่ยร้อยละ 86.60 และจำนวนนักเรียนที่ฝากเงินออมเพื่ออนาคต จำนวนรัอยละ 100
2. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงโรงเรียนอนุบาล วังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้โดยนักเรียน ครู ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อโครงการว่า โครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงสามารถปลูกผังให้นักเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีการวางแผนและดำเนินการออมเพื่ออนาคต และโครงการตามรอยพ่ออยู่แบบพอเพียงน่าสนใจและนักเรียนมีความสุขในการเรียน สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน