ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสมรรถนะ เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดโดยใช้หลักปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวไทยมุสลิม โรงเรียนบ้านท่าสนุก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ปีการศึกษา 2564
ผู้วิจัย นายสนั่น ประสพมิตร
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมสมรรถนะ เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดโดยใช้หลักปฏิบัติ ตามแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวไทยมุสลิม โรงเรียนบ้านท่าสนุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบทตามตัวชี้วัดระดับความต้องการจำเป็นและระดับความเป็นไปได้ของโครงการส่งเสริมสมรรถนะเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด โดยใช้หลักปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวไทยมุสลิม ประเมินปัจจัยนำเข้าตามตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ การจัดการ และระดับความเหมาะสมของกิจกรรมที่ดำเนินการ ประเมินกระบวนการตามตัวชี้วัดร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการและร้อยละของการติดตามโครงการ และประเมินผลผลิตตามตัวชี้วัดของโครงการส่งเสริมสมรรถนะเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด โดยใช้หลักปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวไทยมุสลิม โรงเรียนบ้านท่าสนุก ตามตัวชี้วัดสมรรถนะด้านวิชาการ ด้านสุขภาวะ ด้านทักษะชีวิตและด้านอาชีพ ความพึงพอพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าสนุก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 90 คน ผู้ปกครอง จำนวน 90 คน ครูจำนวน 17 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานจำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) และมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ แบบประเมินการปฏิบัติ เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมลักษณะข้อความเป็นระดับคุณภาพ 4 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ รวม 12 ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-test สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรของ Cronbach ซึ่งผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมิน โดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด 4 ประเด็น เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบริบท ผลการประเมินรายละเอียดทุกตัวชี้วัดสรุปได้ ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context) ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการส่งเสริมสมรรถนะเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดโดยใช้หลักปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวไทยมุสลิม โรงเรียนบ้าน ท่าสนุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ และ ความเป็นไปได้ของโครงการ
สำหรับตัวชี้วัดทั้ง 2 ตัว มีดังนี้
1.1 ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.50, S.D. = 0.60)
1.2 ตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก (x̄ = 4.34, S.D. = 0.71)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมสมรรถนะเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดโดยใช้หลักปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวไทยมุสลิม โรงเรียนบ้านท่าสนุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากทั้ง 5 ตัวชี้วัด เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความเหมาะสมของกิจกรรมที่ดำเนินการ ความเหมาะสมของการจัดการ ความเหมาะสมของบุคลากร ความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ และความเหมาะสมของงบประมาณ สำหรับตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัว มีดังนี้
2.1 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก (x̄ = 4.44, S.D. = 0.62)
2.2 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก (x̄ = 4.41, S.D. = 0.69)
2.3 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก ( x̄ = 4.42, S.D. = 0.62)
2.4 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของการจัดการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก (x̄ = 4.47, S.D. = 0.62)
2.5 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก ( x̄ = 4.48, S.D. = 0.60)
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ผลการประเมินประเด็นกระบวนการของโครงการส่งเสริมสมรรถนะเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดโดยใช้หลักปฏิบัติตามแนวทาง
การดำเนินชีวิตของชาวไทยมุสลิม โรงเรียนบ้านท่าสนุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด สำหรับตัวชี้วัดทั้ง 2 ตัว มีดังนี้
3.1 ตัวชี้วัดการดำเนินกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.33
3.2 ตัวชี้วัดการติดตามการดำเนินกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 86.67
4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการส่งเสริมสมรรถนะเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดโดยใช้หลักปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวไทยมุสลิม โรงเรียนบ้านท่าสนุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด 4 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก 2 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง 2 ตัวชี้วัด เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ สมรรถนะด้านอาชีพ สมรรถนะด้านทักษะชีวิต สมรรถนะด้านวิชาการ สมรรถนะด้านสุขภาวะ ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ความพึงพอใจของครู ความพึงพอใจของผู้ปกครองและความพึงพอใจของนักเรียน สำหรับตัวชี้วัดทั้ง 8 ตัว มีดังนี้
4.1 ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านวิชาการ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีสมรรถนะด้านวิชาการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งผ่านเกณฑ์ (t = 37.24 ; P < 0.001)
4.2 ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านสุขภาวะ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีสมรรถนะด้านสุขภาวะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งผ่านเกณฑ์ (t = 29.67 ; P < 0.001)
4.3 ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านทักษะชีวิต พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีสมรรถนะด้านทักษะชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งผ่านเกณฑ์ (t = 43.33 ; P < 0.001)
4.4 ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านอาชีพ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีสมรรถนะด้านอาชีพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งผ่านเกณฑ์
(t = 45.64 ; P < 0.001)
4.5 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ = 4.30, S.D. = 0.71)
4.6 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 4.33, S.D. = 0.74)
4.7 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.44, S.D. = 0.56)
4.8 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.48, S.D. = 0.54)