สรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2564
มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม
1. ด้านคุณภาพของเด็ก
โรงเรียนจัดการศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนเต็มตามศักยภาพ โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีแผนงาน โครงการ กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการทดลอง การลงมือปฏิบัติผ่านประสบการณ์ ผ่านกิจกรรมรูปแบบออนไลน์และออนไซด์ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เป็นเด็กดี มีคุณธรรม จริยธรรมตามวิถีจิตซาเลเซียน มีทักษะชีวิต ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สามารถดำรงชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รักความเป็นไทย โดยสถานศึกษาประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองทุกวัน เพื่อการพัฒนาเด็กให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
2. กระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนดำเนินการพัฒนา มีกระบวนการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ มีโครงสร้างการบริหารงานชัดเจน มีหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง มีเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์อย่างเหมาะสม เพียงพอ หลากหลาย และมีประสิทธิภาพ โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ มีระบบประกันคุณภาพภายใน จัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีการกำกับ ติดตามการดำเนินงาน มีบุคลากรเพียงพอกับจำนวนเด็กและชั้นเรียน ครูมีความสามารถในการจัดประสบการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ใช้นวัตกรรม Project Approach จัดประสบการณ์หน่วย ส่งเสริมคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล จัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน
3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน เพื่อให้เด็กมีทักษะ กระบวนการ มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ มีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็ก รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล ครูมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์และออนไซด์ ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพเด็กครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ สาระสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เน้นการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติอย่างมีความสุข ผ่านหน่วยการเรียน การใช้สื่อออนไลน์ต่าง ๆ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในครอบครัว ในโรงเรียน ครูผลิตสื่อเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมการอ่าน และแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองทั้งภายในและนอกโรงเรียน
มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม
โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียน จำนวน 2 ด้าน ได้แก่
1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีผลแข่งขันต่างๆ อยู่ในอันดับต้นๆ ของจังหวัดราชบุรี นักเรียนได้เป็นตัวแทนจังหวัดราชบุรีเข้าแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมระดับภาค และได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองในหลายรายวิชา
2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
นักเรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย นักเรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีผ่านกิจกรรม STAR นักเรียนมีจิตอาสา นักเรียนมีใจเมตตาผู้อยู่ในความทุกข์เดือดร้อน เช่น การบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นักเรียนมีมารยาทดี มีความเป็นกุลสตรีไทยมีเอกลักษณ์ ในการฟัง การยืน การนั่งพับเพียบ
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม
สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจสอดคล้องกับแนวทางปฎิรูปตามแผนการศึกษาชาติ ตามนโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน มีผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมต่างๆ บุคลการมีส่วนร่วมในการบริหาร มีการประชุมชี้แจงงานโดยผู้บริหารและผู้รับผิดชอบฝ่าย/โครงการ ตั้งแต่ก่อนเปิดภาคเรียน มีการประชุมครูหัวหน้าฝ่าย/สาระทุกสัปดาห์ ประชุมครูทุกเดือน มีการมอบหมายงานตามความรู้ความสามารถ มีระบบการนิเทศติดตามงาน มีการประเมินและพัฒนา มีการใช้ผลการประเมินการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนากิจกรรม ตามหลักการวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ร่วมกับหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (Good Governance) มีการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอทั้งทางด้านวิชาการ จิตวิทยาความเป็นครู และการอยู่กับนักเรียนเยี่ยงผู้อบรมซาเลเซียน อันเป็นลักษณะเฉพาะของโรงเรียน โรงเรียนทำ MOU ด้านวิชาการกับสสวท. เปิดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ทำ MOU และ MOA กับคณะวิศกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปกร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงเปิดห้องเรียนพันธมิตรกับสถาบันปัญญาภิวัฒน์ เพื่อให้นักเรียนและครูได้รับโอกาสทางการเรียนรู้ที่มากขึ้น สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบันและนักเรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองถนัดและสนใจ
กระบวนการพัฒนาที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพของมาตรฐานที่ 2
สถานศึกษามีแผนพัฒนา แผนปฏิบัติการประจำปี คู่มือครูและปฏิทินปฏิบัติงานประจำปีที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาพร้อมทั้งนำมาวางแผนพัฒนา การดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการและนโยบายของสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมวางแผนโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผลการบริหารและการจัดการที่เป็นระบบและต่อเนื่อง
ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการและมีวิสัยทัศน์ที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์มีความมุ่งมั่นและเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน ส่งเสริมพัฒนาการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ ใช้ระบบ School Bright และ Google Classroom เป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนและบุคลากร ใช้การวัดผลประเมินผลของผู้เรียน และนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการเรียนการสอน โดยเฉพาะช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ที่ครูต้อง work from home และนักเรียนต้องเรียน online ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้สามารถดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม
ครูผู้สอนทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริง ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ครูผู้สอนเข้ารับการอบรมอย่างสม่ำเสมอทั้งในส่วนที่โรงเรียนจัดและส่วนที่หน่วยงานต่าง ๆ จัด มีการนิเทศกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผู้เรียน โดยผู้บริหาร ครูหัวหน้าสาระ เพื่อนครูในสายงาน และกลุ่มศึกษานิเทศก์ของสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดราชบุรี ทำให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น ครูผู้สอนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์รวมทั้งให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้
กระบวนการพัฒนาที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพของมาตรฐานที่ 3
โรงเรียนมีการส่งเสริม สนับสนุนให้ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกระบวนการนิเทศ ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับนักเรียนภายใต้แนวคิด ครูรักเด็ก เด็กรักครู มีการอบรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านวิชาการเช่น เรียนรู้สู่เรียนคิดโดยใช้โครงงานเป็นฐาน นารีวุฒิสัมพันธ์วันวิชาการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ กิจกรรมค่าย STEM กิจกรรมค่าย Coding มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อศึกษาปัญหาและแก้ไขผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เพื่อจะได้นวัตกรรมการสอนใหม่ๆสำหรับผู้เรียน