ชื่องานวิจัย ส่งเสริมทักษะการค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย นางสาวจันทิพย์ ถิ่นถาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
จากประสบการณ์ที่เป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนจำนวนมากยังขาดทักษะการค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งในแบบเรียนวิทยาศาสตร์ข้อมูล ความรู้บางอย่างไม่เป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านข่าวสาร ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์จำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์ อันเป็นผลทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
การจัดทำกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีการฝึกค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมจากความรู้ ที่มีอยู่ในแบบเรียน เป็นการส่งเสริมทักษะการค้นคว้าแก่ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ใหม่ๆได้ด้วยตนเองอยู่เสมอน่าจะพัฒนาการการเรียนวิทยาศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น
จากการที่นักเรียนได้ฝึกค้นคว้าและทำใบงานเพื่อพัฒนาทักษะการค้นคว้าความรู้ใหม่ๆด้านวิทยาศาสตร์บ่อยๆ และประเมินผลการค้นคว้าเรื่องที่ได้ค้นคว้ามาปรากฏว่าผู้เรียนได้มีพัฒนาทักษะการค้นคว้าเพิ่มขึ้น และเข้าใจบทความวิทยาศาสตร์ที่เป็นปัจจุบันได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
ชื่อเรื่องวิจัย : ส่งเสริมทักษะการค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์
ปัญหาและความสำคัญ
การได้รับข้อมูล ความรู้ที่ไม่เป็นปัจจุบันเกิดขึ้นเสมอจากการอ่านและทำความเข้าใจในแบบเรียนวิทยาศาสตร์เนื่องจากข้อมูลความรู้วิทยาศาสตร์ได้มีการวิจัย ค้นพบเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ จากการที่ผู้เรียนขาดทักษะการค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์ เนื่องด้วยทางโรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม(คุรุราษฎร์รัฐกิจโกศล) ได้มุ่งเน้นการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ให้มีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น จึงเป็นเหตุสมควรที่จะทำการพัฒนาทักษะการค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์ใหม่ๆเพิ่มเติมจากในแบบเรียน
จุดมุ่งหมาย
1. เพิ่มเติมคำความรู้ใหม่ๆด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่ผู้เรียน
2. พัฒนาความเข้าใจในด้านการค้นคว้า รู้จักแสวงหาข้อมูล ความรู้ด้วยตนเอง
3. ส่งเสริมทักษะการค้นคว้า จากแหล่งความรู้ต่างๆ
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การเรียนรู้วิธีการค้นคว้าจากใบกิจกรรม ฝึกค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต
ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถทำการค้นคว้าหาข้อมูล ความรู้ใหม่ๆด้านวิทยาศาสตร์ สามารถสรุปความรู้จากเรื่องที่ค้นคว้ามาได้
กรอบแนวคิดในการวิจัย
1. ส่งเสริมการแสวงหาความรู้และฝึกทักษะการค้นคว้าให้แก่ผู้เรียน
2. พัฒนาความเข้าใจวิธีการค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์แก่ผู้เรียน
3. ส่งเสริมการรักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์ใหม่ๆเพิ่มขึ้น
2. นักเรียนได้พัฒนาทักษะการค้นคว้าและทำความเข้าใจในสิ่งที่ได้ค้นคว้ามาได้ดียิ่งขึ้น
3. นักเรียนรักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมีความรู้วิทยาศาสตร์มากขึ้นและเลือก
สืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่น่าเชื่อถือได้
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม(คุรุราษฎร์รัฐกิจโกศล) ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 21 คน
2. เนื้อหาในการวิจัย เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะการค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์ที่เป็นข้อมูลใหม่ๆ โดยค้นคว้าจากแหล่งความรู้ห้องสมุด หรืออินเตอร์เน็ต ทำความเข้าใจบทความที่ค้นคว้ามา
3. ระยะเวลาการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
วิธีดำเนินการวิจัย
ระยะเวลา
พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1. วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้
2. ส่งชื่อเรื่องที่จะวิจัย
3. เขียนเค้าโครงการวิจัย
4. จัดเตรียมเอกสาร เพื่อการค้นคว้า
5. ทำการค้นคว้า ทำใบงาน Pre-test
6. แนะนำวิธีการค้นคว้าเพิ่มเติมแก่ผู้เรียน ให้ความรู้ การค้นคว้าหาความรู้จากห้องสมุด และอินเตอร์เน็ต
7. ให้ผู้เรียนค้นคว้าและทำความเข้าใจเรื่อง ข้อมูลหรือบทความวิทยาศาสตร์ที่ค้นคว้ามา
8. ทำใบงานจากการค้นคว้า Post-test
9. ประเมินใบงาน
10. สรุปผลการวิจัยเพื่อนำเสนอ
วิธีการ/นวัตกรรมที่ใช้
แบบฝึกปฏิบัติการค้นคว้า จำนวน 4 ชุด
1. ค้นคว้าข้อมูลการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
2. ค้นคว้าการใช้เทคโนโลยี ชีวภาพในการขยายพันธุ์
3. ค้นคว้าข้อมูลการตรวจสอบค่า pH ของสารละลายและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
4. ค้นคว้าข้อมูลการเปลี่ยน-แปลงสมบัติ มวลและพลังงาน ของสารเมื่อสารเปลี่ยนสถานะ และเกิดการละลาย
แผนการสอน เป็นแผนที่นำแบบฝึกปฏิบัติแต่ละชุดมาจัดกิจกรรม เป็นเวลา 1 ภาคเรียน โดยจัดกิจกรรมเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ทบทวนความรู้เดิม
2. เพิ่มเติมความรู้ใหม่
3. ให้การแนะนำอย่างใกล้ชิด
4. เคร่งคัดการฝึกปฏิบัติ
5. นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกทั้ง 4 ชุด เวลา 13.00 13.30 น. ของวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ภาคเรียนที่ 1/2562 สถานที่ฝึกปฏิบัติ ห้องสมุด ห้องอินเตอร์เน็ต
เครื่องมือการวัดผล และการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
1. แบบฝึกปฏิบัติ การค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ชุด
2. แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน
วิธีการรวบรวมข้อมูล
1. รวบรวมข้อมูลจากการบันทึกพฤติกรรมที่สรุปไว้ทุกเดือน
2. รวบรวมข้อมูลจากการบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรม
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปทุกเดือน ตั้งแต่เริ่มต้นฝึกจนถึงเดือนสุดท้ายที่เก็บข้อมูล
ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการบันทึกสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรมค้นคว้า ที่ได้บันทึกไว้ นำมาเปรียบเทียบความก้าวหน้า
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
สรุปผลจากแบบสังเกตพฤติกรรม ปรากฏผลดังนี้
พฤติกรรมของนักเรียน ระดับความพึงพอใจ
5 4 3 2 1
เดือนพฤษภาคม
มีความกังวลไม่แน่ใจว่าจะสามารถค้นคว้าได้ 1 1 1 18
เดือนมิถุนายน
ให้ความรู้ วิธีการค้นคว้าให้นักเรียนฝึกปฏิบัติเอง 1 2 1 15 2
เดือนกรกฎาคม
ให้นักเรียนค้นคว้าตามหัวเรื่องที่กำหนดโดยครูควบคุมดูแล และให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด 2 3 12 3 1
เดือนสิงหาคม
นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมค้นคว้าตามที่ครูกำหนด ด้วยความสนใจ ภูมิใจที่สามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง 3 10 5 2 1
เดือนกันยายน
นักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้และสามารถประยุกต์ใช้กับวิชาวิทยาศาสตร์ นำเสนอผลงาน ผลการทดสอบหลังเรียนผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น 7 12 2
ระดับความพึงพอใจ
ระดับที่ 1 ยังไม่น่าพอใจ ระดับที่ 2 พอใจน้อย
ระดับที่ 3 พอใจปานกลาง ระดับที่ 4 พอใจมาก
ระดับที่ 5 พอใจอย่างยิ่ง
เมื่อนำผลการประเมินความพึงพอใจมาคิดคะแนนในแต่ละเดือน พบว่า เดือนพฤษภาคม 1.28 คะแนน ,เดือนมิถุนายน 2.28 คะแนน, เดือนกรกฎาคม 3.09 คะแนน ,เดือนสิงหาคม 3.57 คะแนน และเดือนกันยายน 4.23 คะแนน
ผลการประเมินทักษะการแสวงหาความรู้
คะแนนเต็มแต่ละรายการ 5 คะแนน
ที่
ชื่อ-สกุล
รายการประเมิน
วางแผนการศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ตามแผนที่วางไว้ ปฏิบัติการค้นคว้าตาม เรื่องที่กำหนด นำเสนอข้อค้นพบ
นักเรียนทั้งหมด 21 คน 3.57 3.42 4.09 3.71
ระดับความพึงพอใจพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้
ระดับที่ 1 ยังไม่น่าพอใจ
ระดับที่ 2 พอใจน้อย
ระดับที่ 3 พอใจปานกลาง
ระดับที่ 4 พอใจมาก
ระดับที่ 5 พอใจอย่างยิ่ง
จากผลการประเมินนักเรียน 21 คนเกี่ยวกับความพึงพอใจพบว่า 1. นักเรียนวางแผนการศึกษาค้นคว้า ได้คะแนน 3.57 อยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก 2.นักเรียนเรียนรู้ตามแผนที่วางไว้ ได้คะแนน 3.42 อยู่ในระดับที่น่าพอใจปานกลาง 3.นักเรียนปฏิบัติการค้นคว้าตาม เรื่องที่กำหนด ได้คะแนน 4.09 อยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก และ5.นักเรียนนำเสนอข้อค้นพบ ได้คะแนน 3.71 อยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก
สรุปผลการวิจัย
จากผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการศึกษาค้นคว้า เห็นได้จากผลการประเมินความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นในทุกเดือน และจากการประเมินทักษะการแสวงหาความรู้ พบว่านักเรียนมีทักษะใจการแสวงหาความรู้อยู่ในขั้นที่น่าพอใจมาก
ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์ที่เป็นข้อมูลใหม่ๆจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเรียนวิทยาศาสตร์จึงเป็นทักษะที่ต้องนำมาฝึกให้เกิดความชำนาญ จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์ ในระยะแรกนักเรียนยังขาดความรู้ความชำนาญรวมทั้งไม่ทราบจะหาข้อมูลจากที่ไหน และจะนำข้อมูลที่ต้องการมาได้อย่างไร หลังจากวางแผนศึกษาวิธีค้นคว้าและปฏิบัติกิจกรรมค้นคว้าตามที่กำหนดโดยมีครูคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดนักเรียนเกิดทักษะสามารถค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ได้เองและทำให้นักเรียนมีความรู้มากขึ้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย
จากการแก้ปัญหาครั้งนี้ทำให้ผู้วิจัยได้ข้อคิดว่าการที่ได้ฝึกปฏิบัติค้นคว้าหาข้อมูลความรู้วิทยาศาสตร์อยู่เสมอช่วยให้นักเรียนเกิดทักษะการค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเองเมื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเรียนของนักเรียนได้ตรงจุด จะทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านการเรียนในวิชานั้น ๆ ได้ดีขึ้น เท่ากับเป็นการส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือให้ผู้เรียนมีการพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ส่งผลต่อการเรียนวิทยาศาสตร์สัมฤทธิ์ผลสูงขึ้นขึ้น
.