ชื่อเรื่อง พัฒนาทักษะการฟังและการออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยชุดกิจกรรม My Voice
ในรูปแบบON - SITE
นางสาวณัฏฐ์กุลดา ยอดบุญเรือง
โรงเรียนบ้านห้วยไคร้
ปีการศึกษา2564
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคศตวรรษที่ 21 ทำให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อระหว่างกันอย่างไร้พรมแดน ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาสากลที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันทั้งโลก ทั้งด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและการเมืองการ ปกครอง อีกทั้งยังใช้ภาษาอังกฤษในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในทุกๆด้าน รวมถึงเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้และเทคโนโลยี ใหม่ๆ ที่ทันสมัยด้วย ประเทศไทยโดยรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ จึงมีนโยบายให้เด็กไทยได้เรียนรู้ ภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยทั้งนี้เพื่อให้เด็กไทยได้ใช้ภาษาอังกฤษในทุกๆด้าน ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพทัดเทียมประเทศอื่นๆ
ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดไว้ว่า การส่งเสริมการใช้ ภาษาของเด็ก ด้วยการพูดคุยกับเด็กด้วยภาษาที่ฟังเข้าใจง่ายและชัดเจนด้วยท่าทางที่เป็นมิตร อาจใช้การเล่านิทาน อ่านหนังสือให้ ฟัง เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ฟัง (กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 : 17) นอกจากรูปแบบของการจัดประสบการณ์ดังกล่าวแล้ว การใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็น วิธีการอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างให้เด็กปฐมวัยเกิดความสนใจในภาษาอังกฤษ เพราะรูปแบบ หรือชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นแผนการเรียนที่ประมวลเนื้อหาประสบการณ์แนวคิด วิธีการ กิจกรรม แบบกลุ่ม และสื่อได้อย่าง สอดคล้องกัน เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หลังจากที่ ได้รับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถที่จะสร้าง เสริมความสนใจทางภาษา เด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งและเป็นความหวังของครอบครัว เป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นมนุษยชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ อนาคตของประเทศชาติจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็ก เด็กที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ มีพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ที่เหมาะสมกับวัย ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจริยธรรม จะเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น หากครูผู้สอนได้ดำเนินการออกแบบ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและทักษะพื้นฐานให้กับเด็กทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญา โดยนำเทคนิค วิธีการ บูรณาการกับสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับอายุ วุฒิ ภาวะ ระดับการพัฒนาการ สอดคล้องกับเนื้อหา ลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก ส่งผลให้การเรียนรู้ให้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (กนกรส คำใบ, 2561 : 2)
จากการสังเกตขอบครูในการจัดกิจกรรมประสบการณ์ที่ได้สอดแทรกคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษ พบว่า เด็กส่วนใหญ่มีทักษะการฟังและออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษยังไม่ถูกต้อง จึงสนใจที่จะพัฒนาทักษะการฟังและการออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยชุดกิจกรรม My Voice ในรูปแบบON SITE มาใช้ในการจัดกิจรรรมเสริมประสบการณ์ให้กับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะด้านการฟังและด้านการออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ช่วยทำให้เด็กสามารถออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง
2.จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
เด็กปฐมวัยในระดับชั้นอนุบาลปีที่2/2 โรงเรียนเรียนบ้านห้วยไคร้ จำนวน 21 คน ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยชุดกิจกรรม My Voice มีผลการประเมินหลังการพัฒนาทักษะการฟังและออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษ เฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป
3.การดำเนินงาน/กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ
- วิเคราะห์สภาพปัญหาจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้
- ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการฟังและออกเสียง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
- วางแผนเลือกวีดีทัศน์และผลิตสื่อ โดยกำหนดจุดมุ่งหมายและรูปแบบของสื่อให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
- นำไปใช้กับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่2/2 อายุ 4 5 ปี จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้
4.ผลการปฏิบัติงาน
หลังจากที่เด็กได้ใช้ชุดกิจกรรม My Voiceทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการฟังและออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษ เข้าใจเสียงของตัวอักษร การปฏิบัติตามคำสั่ง และการบอกชื่อสิ่งต่างๆที่อยู่ในภาพ ได้อย่างเหมาะสมกับวัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถออกเสียงได้ดีขึ้น นอกจากนี้ชุดกิจกรรม My Voiceยังช่วยทำให้เด็กรู้จักคิด เป็นคนช่างสังเกต กล้าเสี่ยง กล้าเดา และกล้าที่จะพูด ส่งเสริมพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาของเด็กให้ได้รับการพัฒนาตามศักยภาพเหมาะสมกับวัย
สรุปผลการใช้นวัตกรรม MY VOICE พัฒนาทักษะการด้านการฟังและออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษได้ดังนี้ ก่อนการใช้นวัตกรรมนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 จำนวน 21 คน มีผลการทดสอบทั้ง3 แบบในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 65.08 อยู่ในระดับดี หลังจากการใช้นวัตกรรม นักเรียนมีการจดจำเสียง และสามารถออกเสียงได้ ส่งผลให้นักเรียนมีผลการทดสอบดีขึ้น นักเรียนที่มีผลการทดสอบในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 90.48 อยู่ในระดับดีเยี่ยม พบว่าการใช้นวัตกรรมสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้สอนและนักเรียนได้ในระดับดีมาก