การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL ปีการศึกษา 2563 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL ปีการศึกษา 2563 - 2564 2) ศึกษาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 - 2564 ด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านการปรับตัว ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความกตัญญูกตเวที ด้านความมีจิตอาสา ด้านความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ด้านความรับผิดชอบ 3) ศึกษาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดโพธิ์กลาง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 4) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดโพธิ์กลาง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 ทุกคน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 47 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 47 คน ครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 คนและปีการศึกษา 2564 จำนวน 8 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 47 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 44 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน และเครือข่ายชุมชนปีการศึกษา 2563 จำนวน 18 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ และแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง .849 - .965 ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ (Percentage)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับคุณภาพการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL ปีการศึกษา 2563 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน หลังการพัฒนา พบว่า ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก โดยครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.06 , S.D. = 0.59) รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.97 , S.D.= 0.70) ส่วนนักเรียนและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากัน อยู่ในระดับมากเช่นกัน (x̄ = 3.79 , S.D.= 0.59) ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก - มากที่สุด โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54 , S.D. = 0.42) รองลงมา คือ เครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.32 , S.D.= 0.62) ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.16 , S.D. = 0.70) สอดคล้องกับสมมติฐาน
2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมนักเรียนที่แสดงออกถึงศักยภาพตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง ตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563- 2564 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง และครู พบว่า ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับดีมาก โดย ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 4.31 , S.D. = 0.57) รองลงมา คือ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากเช่นกัน ( x̄= 3.99 , S.D. = 0.75) ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับดีมาก ดีเยี่ยม โดย ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับดีเยี่ยม (x̄ = 4.55 , S.D. = 0.61)รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 4.38 , S.D. = 0.64) สอดคล้องกับสมมติฐาน
3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมนักเรียนที่แสดงออกถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 - 2564 ตามแบบสังเกตพฤติกรรมของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 พบว่า โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2563 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมีคุณภาพระดับดีมากขึ้นไป ร้อยละ 88.29 ส่วนปีการศึกษา 2564 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมีคุณภาพระดับดีมากขึ้นไป ร้อยละ 92.98 สอดคล้องกับสมมติฐาน
4. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมนักเรียนที่สะท้อนถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 ตามแบบสังเกตพฤติกรรมของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 พบว่า โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2563 คุณลักษณะอันพึงประสงค์มีคุณภาพระดับดีมากขึ้นไป ร้อยละ 89.49 ส่วนปีการศึกษา 2564 คุณลักษณะอันพึงประสงค์มีระดับคุณภาพดีมากขึ้นไป ร้อยละ 93.53 สอดคล้องกับสมมติฐาน
5. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า เครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.49 , S.D. = 0.79) รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.34 , S.D. = 0.62) ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( x̄= 3.98 , S.D. = 0.69) ส่วนปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59 , S.D. = 0.51) รองลงมา คือ ผู้ปกครอง และเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.48 , S.D. = 0.54) ส่วนครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.45 , S.D. = 0.58) สอดคล้องกับสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL ปีการศึกษา 2563 2564 ครั้งนี้ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่น ของการมีแบบอย่างที่ดีซึ่งเป็นประโยชน์และแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนต่อไป
1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 ด้าน R : Realize (เข้าใจและยอมรับ) การส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจในตัวเองหรือการยอมรับตัวเองทั้งด้านที่ดีและไม่ดี มีมุมมองที่มองตัวเองเป็นกลาง เข้าใจความรู้สึกนึกคิดและสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ ยอมรับสภาพที่เป็นได้โดยไม่ต่อต้าน ผู้บริหาร ครูบุคลากร ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พูดและแสดงออกถึงพฤติกรรมความเป็นตัวตน แล้วจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้นักเรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เห็นคุณค่า ให้เกียรติตนเองและผู้อื่น พร้อมที่จะพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีขึ้น
1.2 ด้าน O : Orientation (ปรับตัว เปลี่ยนแปลง) การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการปรับตัว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือแสดงออกในลักษณะที่เหมาะสม โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.3 ด้าน M : Motivation (สร้างแรงบันดาลใจ) การสร้างแรงจูงใจ แรงผลักดัน ความท้าทายให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ อยากจะฝึกฝนและพัฒนาตนเอง มองการเรียนรู้เป็นเรื่องสนุก ตลอดจนการยกย่อง ชมเชย เพื่อให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจนำไปสู่ความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายความสำเร็จในชีวิต ผู้บริหาร ครูบุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายต้องกระตุ้น สร้างความกระตือรือร้น สร้างความท้าทายให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยการสร้างบรรยากาศ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองและแสดงพฤติกรรมตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้อย่างเต็มศักยภาพ
1.4 ด้าน P : Participation (ใช้การมีส่วนร่วม) การมีส่วนร่วม จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มได้แก่ ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โรงเรียนต้องจัดประชุมหรือเวทีเสวนาเพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมชื่นชมความสำเร็จ คือ นักเรียนมีศักยภาพเต็มขีดความสามารถของแต่ละบุคคล
1.5 ด้าน H : Hero & Idol (รวบรวมแบบอย่างที่ดี) การสร้างแบบอย่างที่ดีทั้งเพื่อนดี ครูดี ครอบครัวดี สังคมและสภาพแวดล้อมดี โรงเรียนต้องรวบรวมแบบอย่างที่ดีให้การยกย่อง ชมเชยเพื่อให้นักเรียนได้ยึดเป็นแบบอย่าง มีแรงบันดาลใจ เกิดความรัก ความศรัทธา ความเชื่อมั่นในแบบอย่างและมีความรู้สึกอยากเลียนแบบพฤติกรรมอันพึงประสงค์ตามแบบอย่างที่ดีเต็มตามศักยภาพ
1.6 ด้าน O : Opportunity (สร้างโอกาสที่หลากหลาย) การสร้างความเชื่อมั่น ความกล้าแสดงออกให้กับนักเรียนในทางที่สร้างสรรค์ตามโอกาสที่เหมาะสม โรงเรียนต้องส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความสามารถตามความถนัด ความต้องการ โดยการหาเวทีการประกวด การแข่งขัน ให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน เวทีการแสดง การประกวดหรือการแข่งขันทักษะต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนา และค้นพบความถนัดของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
1.7 หลังการพัฒนา โรงเรียนควรมีการประเมินผล ทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ด้านครอบครัว ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน เป็นต้น
2.2 ควรศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนด้านทักษะอาชีพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาตนเองและมีทักษะอาชีพพื้นฐานติดตัวไปใช้ในอนาคต